รัฐบาลมีแผนจะออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

รัฐบาลสปป.ลาวจะมีการออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายที่เศรษฐกิจได้รับ ถึงแม้สปป.ลาวจะเป็นประเทศในอาเซียนที่การแพร่ระบาดจะยังไม่หนักเหมือนประเทศต่างๆ ในอาเซียน แต่รัฐบาลก็ตระหนักถึงผลกระทบ เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญหลายๆประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน ไทย สิงคโปร์ ฯลฯ  ทำให้การค้าต้องชะลอตัวลงส่งผลต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวโดยรัฐบาลสปป.ลาว ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดูแลเฉพาะด้านเศรษฐกิจในช่วงนี้ขึ้นมาซึ่งจะมีการออกมาตรา 13  อย่างออกมาแก้ปัญหาโดยจะมี การรับรองการจัดการรถไฟลาว – ​​จีน,โครงการก่อสร้างทางด่วน,โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ,การอำนวยความสะดวกในการนำเข้า – ส่งออกสินค้า,การควบคุมค่าครองชีพที่มีแนวโมเพิ่มตัวต่อเนื่องจากราคาสินค้าบริโภคที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมมากนักเพราะจะต้องมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งก่อนที่จะประกาศใช้จริง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Stimulus_58.php

ธนาคารเอซีลีดาในกัมพูชากำหนดมูลค่า IPO ที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว

ธนาคาร ACLEDA ด้วยความช่วยเหลือของบริษัทหลักทรัพย์ Yuanta (กัมพูชา) จำกัด (มหาชน) (YSC) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดราคา IPO ที่ 4.05 เหรียญสหรัฐ (16,200 KHR) ต่อหุ้นสำหรับนักลงทุน โดยธนาคารระบุว่ากระบวนการสร้างหนังสือเสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักลงทุนที่สนใจกว่า 2,180 คน ในบรรดาจำนวนนักลงทุนที่เข้าร่วมในการทำหนังสือนั้น 95.6% เป็นนักลงทุนภายในประเทศและอีก 4.45% เป็นนักลงทุนชาวต่างชาติ โดยราคาเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกได้กำหนดไว้ที่ KHR 16,200 (4.05 เหรียญสหรัฐ) ตามขั้นตอนการสร้างหนังสือและการสมัครสมาชิกที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา SECC ซึ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการพิจารณาการแพร่ระบาดของ COVID-19 และได้ตัดสินใจขยายระยะเวลาการสมัครสมาชิกเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายของนักลงทุนสาธารณะ รวมถึงการนำเสนอทางเลือกออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.acledabank.com.kh หรือ www.acledasecurities.com.kh โดยระยะเวลาการสมัครคือวันที่ 24 มีนาคมถึง 24 เมษายน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50704309/acleda-bank-sets-ipo-price/

บริษัทจากญี่ปุ่นทำการศึกษาการลงทุนในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกัมพูชา

บริษัทจากญี่ปุ่นกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อเพาะเลี้ยงปลานิล ซึ่งเป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืดในกัมพูชา จากข้อมูลดังกล่าวได้รับการเผยแพร่โดยตัวแทนของ JICA ในประเทศกัมพูชาในระหว่างการประชุมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกัมพูชา ซึ่งการลงทุนจะเน้นไปที่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาเพื่อการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรยินดีต้อนรับการลงทุนซึ่งมองว่าจะสร้างงานใหม่และช่วยลดการจับปลาจากทะเลสาบธรรมชาติและแม่น้ำได้ ซึ่งในการประชุม JICA ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับโครงการที่ประสบความสำเร็จในการแปรรูปวัตถุดิบจากผ้าไหมสู่ผลิตภัณฑ์สบู่และแชมพูซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50704397/japanese-firm-to-conduct-study-on-investment-in-aquaculture-industry-in-cambodia/

กรุงฮานอยอนุมัติจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรม 2 แห่ง

คณะกรรมการประชาชนฮานอยได้อนุมัติจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมด่งลา (IC) และเฟสสองของกลุ่มอุตสาหกรรม Duong Lieu ในเขตชานเมืองฮอย ตี๊ค ซึ่งทางคณะกรรมการฯได้สั่งให้ทางคณะกรรมการประจำเขตฮอย ตี๊ค (Hoai Duc) พิจารณานักลงทุนที่มีความพร้อมทางการเงิน เพื่อพัฒนาโครสร้างพื้นฐานของ 2 กลุ่มอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ามีหน้าที่ในการประเมินเอกสารที่เกี่ยวกับการพัฒนาจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมและส่งมอบให้กับทางคณะกรรมการประจำจังหวัดต่อไป ทั้งนี้ หน่วยงานท้องถิ่นได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการดึงดูดผู้ประกอบการทั้งต่างชาติและในประเทศที่จะเข้าสู่ระบบควบคุมเชิงอุตสาหกรรมในช่วงหลายปี โดยในปัจจุบัน กรุงฮานอยมีกลุ่มอุตสาหกรรมปฏิบัติการจำนวน 70 แห่ง ด้วยพื้นที่มากกว่า 1,600 เฮกตาร์ และจำนวนธุรกิจรวม 3,864 ราย ซึ่งสามารถสร้างงานในท้องถิ่น 60,000 คน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanoi-approves-establishment-of-two-industrial-clusters/170477.vnp

เอกอัครราชทูตเผยสหรัฐฯไม่มีแผนที่จะระงับการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากเวียดนาม

เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่าสหรัฐฯ ไม่มีแผนที่จะระงับการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากเวียดนาม โดยทางสถานทูตได้แจ้งข้อมูลรายละเอียดแก่หน่วยงานสหรัฐฯ และชี้ให้เห็นถึงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐอเมริกาและเวียดนาม ด้วยมูลค่าการค้าทั้งสองประเทศอยู่ที่ 77.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2562 ส่งผลให้เวียดนามเป็น 1 ใน 15 คู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดทอนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 คิดเป็นมูลค่า 10.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตรงกันข้ามกับการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีมูลค่าลดลง ขณะที่ ในปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไปยังสหรัฐฯ มีมูลค่าราว 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของรายรับรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ในสหรัฐฯ อาจใช้เวลายาวนานกว่าที่คาดไว้ ด้วยเหตุนี้ ทางเอกอัครราชทูตแนะนำให้ธุรกิจในประเทศปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเวียดนามอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้ละเมิดข้อกฎหมายทั้งสองประเทศ ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/us-has-no-plan-to-suspend-import-of-vietnamese-garmenttextiles-ambassador/170467.vnp

Covid-19 ไม่มีผลกระทบต่อตลาดส่งออกถั่วเขียวของเมียนมา

ผลกระทบจาก Covid-19 ในตลาดส่งออกถั่วเขียวยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เมียนมายังคงส่งออกถั่วไปยังบางประเทศในยุโรป ยังคงมีการส่งออกถั่วดำไปตลาดอินเดีย ถั่วเขียวไปยังตลาดจีนและบางประเทศในยุโรป กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ปัจจุบันสภาพดังกล่าวเป็นประโยชน์สำหรับทั้งเกษตรกรและพ่อค้า ตั้งแต่วิกฤติปี 2560 เมียนมามีตลาดใหม่ในสหภาพยุโรปญี่ปุ่นและจีน คาดว่าจะไม่มีปัญหาการส่งออกถั่วในอีกหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า เนื่องจากตลาดในประเทศจีนและสหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโตอย่างมากในช่วงปลายปี 2561 ราคาของถั่วเขียวคุณภาพต่ำมีราคามากกว่า 1.1 ล้านจัตต่อตัน ราคาของถัวเขียวคุณภาพส่งออกอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านจัตต่อตัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/no-significant-impacts-on-green-gram-export-market

Lockdown ทั่วโลก ทุบรายได้ท่องเที่ยวไทยวูบ 1 ล้าน ล.

ปัจจุบันไวรัสโควิดได้แพร่ระบาดไปอยู่ในทุกประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็ว หลายประเทศประกาศ Lockdown ปิดการเดินทางเข้า-ออกประเทศเป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างหนัก สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่า ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา (ไวรัสโควิดส่งผลกระทบช่วงปลายเดือนมกราคม) ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3.81 ล้านคน จากจำนวน 3.72 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 2.46% โดยนักท่องเที่ยวจีนยังเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสูงสุดอันดับ 1 จำนวน 1.03 ล้านคนลดลง 3.71% รองลงมาคือ มาเลเซีย 3.2 แสนคน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.31%, รัสเซีย 2.5 แสนคน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.24% เดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.04 ล้านคน จากจำนวน 3.6 ล้านคน หรือลดลง 43.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดจีนซึ่งครองอันดับสูงสุดอันดับ 1 มาตลอดตกลงไปอยู่อันดับ 3 ด้วยจำนวน 1.5 แสนคนลดลง 85.34% ส่วนตลาดที่ขึ้นเป็นอันดับ 1 คือรัสเซีย 2.1 แสนคนเพิ่มขึ้น 12.47% อันดับ 2 คือมาเลเซีย 1.9 แสนคน ลดลง 39.63% จากแนวโน้มดังกล่าวนี้ ถ้าหากการแพร่ระบาดของไวรัสสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคมจะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปีนี้อยู่ที่ 27 ล้านคน หรือหายไปราว 12-13 ล้านคน แต่หากสิ้นสุดกันยายนคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวเมืองไทยในปีนี้น่าจะอยู่ที่ราว 20 ล้านคนหรือหายไปเกือบ 20 ล้านคน และถ้าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึงสิ้นปี อาจจะลดลงเหลือเพียงแค่ประมาณ 10 ล้านคน หรือหายไปราว 30 ล้านคน ทั้งนี้กระทรวงจะเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศก่อนทันทีผ่านการผลักดันให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ออกสัมมนาข้ามจังหวัด และข้ามภาคต่อไป รายได้ ตปท.วูบ 5-7 แสนล้าน จากการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าในกรณีที่การแพร่ระบาดยุติในเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวอินบาวนด์ (ขาเข้า) ลดลงประมาณ 30-40% หรือลดลงประมาณ 11.7-15.7 ล้านคน เหลือเพียง 24-28 ล้านคน จากจำนวน 39.8 ล้านคนในปี 2562 และส่งผลกระทบต่อรายได้ทางด้านการท่องเที่ยวลดลงไปราว 5.44-7.40 แสนล้านบาท หรือเหลือมูลค่ารวมประมาณ 1.19-1.39 ล้านล้านบาทในปีนี้ จากมูลค่า 1.93 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมาสูญรายได้รวม 1 ล้านล้าน ในขณะที่ตลาดในประเทศนั้น คาดว่าคนไทยจะมีการเดินทางท่องเที่ยวปีนี้ที่ราว 166.84 ล้านคน-ครั้ง โดยคาดว่ารายได้จากการเดินทางภายในประเทศจะลดลง 20-25% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2-2.5 แสนล้านบาท หรือเหลือรายได้จากนักท่องเที่ยวภายในประเทศมูลค่าราว 1.08 ล้านล้านบาท ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจนอาจมีการปิดตัวอย่างน้อย 5,000-10,000 ราย จากจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมดในปัจจุบันราว 50,000 ราย และส่งผลกระทบต่อการจ้างงานจากตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวราว 4 ล้านตำแหน่งงาน ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ถูกเลิกจ้างงานไม่ต่ำกว่า 25-30% หรือคิดเป็นจำนวน 1-1.2 ล้านตำแหน่งงาน และมีผู้ถูกลดรายได้จากการถูกลดเงินเดือน การพักงานและการลางานโดยไม่รับเงินเดือนรวมกว่า 3 ล้านตำแหน่ง ขณะนี้เอกชนท่องเที่ยวยินดีสนับสนุนรัฐบาล โดย สทท.พร้อมทั้งสมาคมท่องเที่ยว 13 สมาคมมีความเห็นตรงกันว่าพร้อมให้ความร่วมมือในการควบคุมการแพร่ระบาดในระดับสูงสุด โดยพร้อมที่จะลดหรืองดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเป็นเวลา 15-30 วัน และดำเนินมาตรการทางด้านความปลอดภัยสูงสุดตามที่รัฐบาลกำหนด ขณะเดียวกัน ก็อยากให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนของการเยียวยาผู้ประกอบการท่องเที่ยวให้มีความชัดเจนภายในสิ้นเดือนนี้ เนื่องจากกว่า 2 เดือนที่ผ่านมายังไม่มีผู้ประกอบการรายใดเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เลยแม้แต่รายเดียว

ที่มา: https://www.prachachat.net/tourism/news-435507