บริษัทจากดูไบมองกัมพูชาเป็นตลาดชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนตะวันออก

หอการค้าดูไบประกาศว่ากัมพูชาเป็นหนึ่งในตลาดอันดับต้นๆในอาเซียนสำหรับผู้ส่งออกดูไบ โดยกัมพูชาได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนตามแถลงการณ์ที่ออกโดยหอการค้าดูไบ ซึ่งหอการค้าแห่งดูไบได้จัดสัมมนาทางธุรกิจในดูไบเพื่อมองหาแนวโน้มการค้าโลกและโอกาสทางการตลาด โดยการจัดตั้งเส้นทางการบินระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มการไหลเวียนทางการค้าระดับทวิภาคีและลดต้นทุนการค้าทำให้ตลาดอาเซียนน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับผู้ส่งออกในดูไบ ซึ่งหน่วยงานด้านการค้าได้เน้นถึงความต้องการของผู้ค้าในดูไบมุ่งเน้นไปที่ตลาดนอกเหนือจากตะวันออกกลางและภูมิภาคแอฟริกาเหนือ โดยหอการค้ากล่าวว่าประชากรที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอาเซียนและการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งการส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คือเสื้อผ้าและรองเท้า โดย Mubadala Petroleum ซึ่งเป็น บริษัท สำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซระหว่างประเทศได้เปิดเผยแผนการที่จะลงทุนในประเทศกัมพูชา บริษัท เป็น บริษัท ในเครือของ Mubadala Investment Company

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670252/cambodia-identified-as-a-top-asean-market-for-dubai-firms/

รัฐมนตรีชื่นชมการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯในการพัฒนาเศรษฐกิจในกัมพูชา

กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของกัมพูชากล่าวว่าความร่วมมือระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาโดยให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนหลายล้านเหรียญสหรัฐ โดยความช่วยเหลือนี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นในหลายภาค ซึ่งโดยเฉพาะด้านการศึกษา สุขภาพ การเกษตรและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันบริษัทจากสหรัฐฯจำนวนมากทำการลงทุนและการค้าเพิ่มขึ้นทุกปีในกัมพูชา โดยจากข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าสูงถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งข้อมูลจากการจัดส่งของกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 38% สู่ 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯอยู่ที่ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24% ซึ่งกัมพูชาส่วนใหญ่ส่งออกสิ่งทอ, รองเท้า, สินค้าการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรไปยังสหรัฐอเมริกาในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่ของกัมพูชาเป็นยานพาหนะ, อาหารสัตว์และเครื่องจักรมายังกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670375/minister-praises-us-contribution-to-kingdoms-economic-development/

รัฐบาลเวียดนามยังคงสนับสนุนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง

จากคำแถลงการณ์ในที่ประชุมผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมของรองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดในประเทศ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ากองทุนเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิง ช่วยให้รัฐบาลกลางเวียดนามสามารถบริหารราคาเชื้อเพลิงในประเทศได้ สำหรับอนาคตเร็วๆนี้ โดยผู้ค้าน้ำมันและกลุ่มบริษัทขนส่งได้โต้แย้งถึงกองทุนว่าการบริหารกองทุนนั้น จะต้องคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นส่วนสำคัญที่สุดและการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง จะไม่ส่งผลประโยชน์หรือได้รับประโยชน์ที่น้อยมากทั้งผู้ค้าและผู้บริโภค รวมไปถึงจะสร้างช่องว่างระหว่างราคาเชื้อเพลิงในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการฉ้อโกงและการลักลอบขนส่งข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงใช้กองทุนเป็นเครื่องมือในการบริหารราคาน้ำมันในประเทศ เพื่อให้สามารถควบคุมเงินเฟ้อและสร้างความมั่งคงทางเศรษฐกิจมหภาค นอกจากนี้ ตามรายงานของกระทรวง ระบุว่ากองทุนดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายราว 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาเชื้อเพลิง ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/state-to-continue-support-for-fuel-price-fund-407614.vov

ภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม มียอดเกินดุลการค้า 16.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามรายงานของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มียอดเกินดุลการค้า 16.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อยู่ที่ 2.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสิ่งที่น่าสนใจ คือ ตัวเลขมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลอดทั้งปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.55 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ อยู่ที่ประมาณ 22.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เวียดนามอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่ส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่ที่สุดทั่วโลก รองจากจีนและอินเดียเท่านั้น รวมถึงยังสามารถสร้างงานได้อีกประมาณ 3 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของกำลังแรงงานทั้งหมดของอุตสาหกรรม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/garment-and-textile-sector-enjoys-trade-surplus-of-us166-billion-407615.vov

พุกามจัดงานวิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว

การวิ่งของเมียนมาจัดขึ้นครั้งแรกจัดขึ้นที่พุกามเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาโดยมีผู้เข้าร่วมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 300 คนซึ่งประกอบด้วย หน่วยงาน บริษัทต่างๆ และผู้ที่สนใจสุขภาพเข้าร่วมงาน จัดขึ้นโดย China Daily และ RVIPS Publications โดยวิ่งผ่านจุดชมทิวทัศน์และวัฒนธรรมอันงดงามของพุกาม งานนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการจัดมิตรภาพระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมโครงการ Belt and Road รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและมิตรภาพระหว่างประเทศ จากยอดค่าธรรมเนียมเข้าชมแหล่งมรดกโลกพุกามท ราว 5 จัต (ประมาณ 3,313 ดอลลาร์สหรัฐ) ช่วยส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวได้ออกแคมเปญรณรงค์งดใช้พลาสติกในพุกามเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศ การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามโดยมีผู้ชมนับร้อยและเมื่อกีฬาวิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วประเทศควรส่งเสริมการเชื่อมสัมพันธ์ วิถีชีวิต และการรักสุขภาพผ่านกิจกรรมนี้

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/bagan-run-promotes-friendship-tourism

เกษตรกรเร่งรัฐฯ เจรจาส่งออกสับปะรดไปจีน

สมาคมผู้ปลูกสับปะรดกำลังขอให้รัฐบาลเจรจาส่งออกไปยังประเทศจีนโดยเร็วที่สุด ภายหลังเกษตรกรได้รับความเสียหายราว 700 ล้านจัต (458 ล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากจีนห้ามนำเข้าผลไม้จากเมียนมาซึ่งมีความเสียหายมากกว่า 24,800 ตันที่เขตการค้าชายแดมูเซ แม้ว่าสมาคมผู้ผลิตผักและผลไม้ของเมียนมา (MFVP) จะขอเจรจาการส่งออกสับปะรดและอโวคาโดแต่ทางการจีนร่วมการือเฉพาะการส่งออกกล้วย ข้าว มันสำปะหลัง และเสาวรส ซึ่งรัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามมีความล่าช้าและอีก 6 เดือนเท่านั้นก็จะถึงฤดูเพาะปลูกแล้ว โดยปกติแล้ว 90% ของอาโวคาโดจะถูกส่งออกไปยังไทยและควรมีการเจรจากับจีนเพื่อเร่งการส่งออกก่อนการการเก็บเกี่ยว MFVP กล่าวว่าเกตรกรต้องการลงทุนในลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และโรงงานอบแห้งเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออก และเพิ่มทุนสำหรับวัตถุดิบ เครื่องจักร และต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ทว่าเอสเอ็มอีเผชิญกับความยากลำบากในการจัดหาหลักประกันด้านสินเชื่อของธนาคาร ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุน ทั้งนี้กระทรวงการคลังและวางแผนกล่าวว่าธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรจะให้สินเชื่อพิเศษสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ และกำลังเจรจากับธนาคารเอกชนและธนาคารของรัฐเรื่องข้อกำหนดสำหรับสินเชื่อ SME ต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/pineapple-growers-call-official-export-channels-china.html

ส่งออกตลาดของขวัญปี 62 มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท ติดลบ 3%

มูลค่าตลาดสินค้าของขวัญ ของชำร่วย ตลาดส่งออกมูลค่ากว่า 2.4 หมื่นล้านบาท ปี 62 คาดว่าจะเติบโตติดลบ 3% จากเดิมวางเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 2% จาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นกว่า 23% โดยตลาดส่งออกสำคัญ สินค้าของขวัญฯ คือ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา 2. การถดถอยของ เศรษฐกิจโลก และตลาดหลัก อันได้แก่ สหรัฐ อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป 3.ต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้น และ 4. ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง ในหลายประเภท สินค้าที่ต้องพึงพาแรงงานฝีมือ และแรงงานฝีมือหายไปจากตลาด อย่างไรก็ตามในปีหน้า ผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมฯ จะต้องปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลของโลกการซื้อในยุคใหม่ รวมถึงภาครัฐต้องส่งเสริมสนับสนุน อย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมนี้ .ช่วยเหลือให้ผู้ประกอบเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อเพื่อใช้ในการ Tranformation องค์กร สำหรับตลาดของขวัญในประเทศ มีมูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยในปี 62 คาดเติบโตลดลง ขณะที่ ภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นออกอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงง่าย เช่น โครงการชิ้มช้อปใช้กระเป๋า 2 ซึ่งหากมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจในประชาชนให้ใช้มากขึ้น คาดจะสามารถกระตุ้นให้ใช้จ่ายมากขึ้นได้ สำหรับเทรนด์สินค้าของขวัญที่คาดว่าจะได้รับความนิยม คือ 1.ตะกร้าของขวัญ กิฟต์เซ็ท 2. สินค้าเพื่อสุขภาพ ทุกหมวดหมู่ 3.ของเครื่องใช้ กระเป๋า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และ 4. ไอที และอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากนี้ ในปีหน้าสินค้าที่คาดว่าจะได้รับความนิยมหรือมาแรง คือ ถุงผ้า จากความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ภายใต้นโยบายเลิกใช้ถุงพลาสติก ปัจจุบัน สมาคมของขวัญฯ มีผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมฯนี้ กว่า 3,000 ราย และเป็นสมาชิกกับสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตบแต่งบ้าน ประมาณ 350 ราย โดยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายปีนี้ มีผู้ประกอบการเพิ่มเข้ามาอีกเกือบเท่าตัว โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/sme/609127