เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปตุรกี

จากการหารือส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับแรงงาน การลงทุน งานแสดงสินค้าระหว่างสองประเทศและการส่งเสริมภาคการค้า ระหว่างรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และเอกอัครราชทูตตุรกีประจำเมียนมาเมื่อต้นเดือนธันวาคม การส่งออกเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ข้าว ถั่ว และข้าวโพดเพิ่มเป็น 4 เท่าภายใน 5 ปี มูลค่าของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP (Cutting, Making, Packing) อยู่ที่ 325 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ตุลาคมของปี 62-63 อย่างไรก็ตามการส่งออกปีที่ผ่านมามีมูลค่ามากกว่า 287 ล้านเหรียญสหรัฐ รายได้ต่อปีจากระบบ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกหลักคือญี่ปุ่นและยุโรป นอกจากนี้ยังมีตลาดในเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีโรงงานเสื้อผ้ามากกว่า 400 แห่ง ด้วยค่าแรงที่ต่ำสามารถดึงดูดการลงทุนจากผู้ผลิตต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmars-apparel-exports-to-surge-to-turkey

หนุนพลิกโฉม FTA เจาะประเทศเป้าหมาย-รายมณฑล

ภาพรวมการค้าโลกอ่อนแรงลงมากจากสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจจีน-สหรัฐ ความไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศ องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการค้าโลกปีนี้ว่าจะขยายตัว 1.2% จากเดิม 2.6% และประมาณการปี 2563 ว่าจะขยายตัวเพียง 2.7% จากเดิมที่เคยคาดไว้ 3% แรงกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้การส่งออก 10 เดือนแรกหดตัว 2.4% ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 3% ซึ่งแนวทางที่จะฟื้นการส่งออก จำเป็นต้องหาตัวช่วยด้วยการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศศึกษาแนวทางการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) หรือข้อตกลงกับประเทศจีนและอินเดีย โดยเจาะลงลึกเจรจาเป็นรายมณฑล หรือรายรัฐ เพื่อส่งเสริมการส่งออกพร้อมกันนี้ ให้เร่งผลักดันการเจรจาที่ค้างอยู่ ทั้งเอฟทีเอไทย-ตุรกี, ไทย-ศรีลังกา และไทย-ปากีสถาน ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และหาข้อสรุปที่จะเริ่มเปิดเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู, ไทย-สหราชอาณาจักร และไทย-ฮ่องกง ส่วนนายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ การประชุม สหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะเร่งผลักดันเอฟทีเอ เนื่องจากเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังมีโอกาสขยายตัวเป็นบวก โดยเฉพาะนโยบายสำคัญ เช่น การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซีที่ต้องทำให้ชัดเจนและต่อเนื่อง ส่วนภาคเอกชน นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้องเร่งเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอต่าง ๆ โดยเร็ว โดยเฉพาะเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป และไทย-สหราชอาณาจักร เพราะการเจรจารายประเทศต้องใช้เวลา ไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จได้เร็ว หากสำเร็จจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งทางคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 ฝ่าย จะพิจารณากำหนดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจปี 2563 อีกครั้ง ในช่วงกลางเดือนมกราคม 2563

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-401634

กระทรวงการต่างประเทศหารือเกี่ยวกับแผนการท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก

กระทรวงการต่างประเทศเริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 14 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าการประชุมกำลังพยายามวิเคราะห์สถานการณ์โลกซึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงหารือและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เกี่ยวกับการต่างประเทศในปี 63-65 ซึ่งในปัจจุบันสปป.ลาวมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 143 ประเทศโดยมีสถานทูตและสำนักงานต่างประเทศ 40 แห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้มีสถานทูต 26 แห่ง สำนักงานตัวแทนถาวร 3 แห่ง สำนักงานกงสุล 10 แห่งและสำนักงานกงสุลทั่วไป 1 แห่ง อีกทั้งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดการประชุมกับนักธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองภาคส่วนในการระดมการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาว อีกทั้งยังจัดให้มีการประชุมระดับเทคนิคโดยหวังว่าจะปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ กับสถานทูตสปป.ลาวในต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Foreign_affairs_269.php

สปป.ลาวปรับปรุงคุณภาพของการรวบรวมข้อมูลแรงงาน

สปป.ลาวหวังที่จะเพิ่มคุณภาพของข้อมูลทั้งแรงงานท้องถิ่นและแรงงานต่างชาติในประเทศ เช่นเดียวกับแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งบันทึกความเข้าใจ ได้รับการลงนาม Big Data technology ระหว่าง Department of Planning และ Technology Computer and Electronics Institute ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสปป.ลาวและบริษัทจากเกาหลีใต้ POSCO International Corporation และ PentaGate Company Limited  เป็นโอกาสดีในการพัฒนาและเรียนรู้ระบบการจัดการแรงงาน จะช่วยยกระดับการพัฒนาความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลแรงงานจากทุกภาคส่วนและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบจำนวนที่แน่นอนของแรงงานต่างชาติในประเทศรวมถึงแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ นอกเหนือจากการดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ สามารถใช้ Big Data technology เพื่อสร้างระบบการจัดการแรงงานต่างชาติและช่วยจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการรวมทั้งกำหนดเวลาสำหรับการศึกษา ทั้งนี้การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลาประมาณ 5 เดือนในการตรวจสอบว่าข้อมูลขนาดใหญ่นั้นเหมาะสมและจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการจัดการแรงงาน

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-12/12/c_138625963.htm