รัฐบาลสปป.ลาวระบุถึงข้อจำกัดในการทำธุรกิจของญี่ปุ่นในสปป.ลาว

ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนจากสปป.ลาวและญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมประจำปีครั้งที่ 13 โดยมีวัตถุประสงค์หารือและแก้ปัญหากฎเกณฑ์การลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในสปป.ลาว โดยในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่เผชิญในสปป.ลาว จุดมุ่งหมายในหัวข้อดังกล่าวเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นมายังสปป.ลาวโดยหาวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะสำหรับแต่ละประเด็นที่แตกต่างกัน โดยก่อนหน้านี้ในการประชุมครั้งที่ 12 ช่วยให้เข้าใจปัญหาของญี่ปุ่นทำให้ได้รับการแก้ไขในหลายประเด็น โดยรัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศเพื่อเป็นตัวกลางในการเจรจาของบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทในสปป.ลาวและยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านภาษีที่เป็นประโยชน์มากขึ้นแก่บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งในการประชุมครั้งนี้เป้าหมายก็ยังคงเป็นการแก้ไขในประเด็นอื่นๆต่อไปเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในโครงการต่างๆมูลค่า 203 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ญี่ปุ่นลงทุนมีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานและการแบ่งปันเทคโนโลยีการผลิตและความรู้ด้านการจัดการทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวและการพัฒนาประเทศในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Public.php

กัมพูชากำลังมองหาเที่ยวบินตรงไปยังญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกัมพูชาและประเทศในเอเชียตะวันออก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเรียกร้องให้สายการบินในประเทศเพิ่มเที่ยวบินตรงที่เชื่อมต่อเมืองต่างๆในประเทศญี่ปุ่นกับกรุงพนมเปญและเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์โบราณคดีอังกอร์ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของประเทศ โดยกล่าวในงาน Japan Travel Fair ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วงเก้าเดือนแรกของปีกัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นเกือบ 150,000 คน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามข้อมูลของกระทรวง โดยนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พื้นที่สีเขียวและสังคมที่เป็นระเบียบ ซึ่งรัฐบาลได้ทำงานเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในมณฑลรวมถึงเสียมราฐ, แกบ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดมณฑลคีรี โดยในปี 2559 ออลนิปปอนแอร์เวย์ส (ANA) ในญี่ปุ่นเปิดตัวเที่ยวบินตรงระหว่างสนามบินนานาชาตินาริตะของโตเกียวและสนามบินนานาชาติพนมเปญถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมายังกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668681/cambodia-seeks-more-japan-direct-flights/

เขตอุตสาหกรรมปอยเปตในกัมพูชาได้เริ่มดำเนินการแล้ว

เขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต (Poipet PPSEZ) ประกาศเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองปอยเปตในจังหวัดบันเตียเมียนเจยประมาณ 8 กิโลเมตร ติดกับประเทศไทยดำเนินการบริหารโดยพนมเปญ SEZ Plc. ซึ่งเลขาธิการสภาพัฒนากัมพูชา (CDC) กล่าวว่าการลงทุนของบริษัทหลายแห่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของภาคเอกชนในรัฐบาล โดยจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในกัมพูชาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการลงทุนครั้งนี้จะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นและเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในปี 2558-2568 โดยผู้อำนวยการพนมเปญ SEZ Plc. กล่าวว่าด้วยทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์และกำลังแรงงานจำนวนมากกำลังกลายเป็นฮอตสปอตระดับภูมิภาคสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอาเซียนโดยเฉพาะภายใต้กลยุทธ์ “Thailand-Plus-One” ซึ่งเป้าหมายของ PPSEZ คือพัฒนาภาคการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนรถยนต์, อิเล็กทรอนิกส์, เสื้อผ้า, บรรจุภัณฑ์และพลาสติก ตามรายงานของ CDC กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ 23 แห่ง ซึ่งรวมกันเป็นที่ตั้งของโรงงาน 490 แห่งและมีงาน 130,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668493/poipet-industrial-park-begins-operations/

โครงการจัดหาน้ำจืดมูลค่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐ ในมะริด

บริษัท Myeik Public Corporation ดำเนินโครงการจัดหาน้ำจืดมูลค่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเมืองมะริด เขตตะนาวศรี โดยร่วมมือกับบริษัท Bright Blue Water จากประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักคือ เนื่องจากมะริดต้องพึ่งพาบ่อใต้ดินเป็นหลัก น้ำใต้ดินอาจแห้งในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำ โดยได้เลือกแหล่งน้ำจืดสองแห่งจากแม่น้ำตะนาวศรี น้ำจะถูกส่งไปยังหมู่บ้าน Ingamaw ในเมืองมะริด ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตน้ำบริสุทธิ์ เมื่อโครงการประสบความสำเร็จสามารถส่งน้ำไปยังโรงงานแปรรูปปลา กุ้ง โรงงานน้ำแข็ง และเรือประมงกว่า 1,000 ลำในมะริด จากการคำนวณโครงการจะมีมูลค่า 2,300 ล้านบาท (ประมาณ 76 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยจะเริ่มภายในหนึ่งปี ตอนนี้ราคาน้ำจืดในเมืองมะริดต่อหน่วยคือ 1,300 จัต

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/76-million-dollars-fresh-water-supply-project-under-way-in-myeik

รัฐบาลเมียนมาตั้งเป้าคุมการค้าผิดกฎหมาย

รัฐบาลจะเพิ่มการกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายโดยการวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ จากการเปิดเผยระหว่างการประชุมคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา การค้าที่ผิดกฎหมายผ่านบริเวณชายแดนมีผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในท้องถิ่น และเพื่อจัดการกับปัญหารัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา จากข้อมูลล่าสุดพบว่าเมียนมาอยู่ในอันดับต่ำสุดของดัชนีสภาพแวดล้อมการค้าโลกผิดกฎหมายในปี 61 จากข้อมูลการนำเข้าพบว่ามูลค่าการค้ารวมของสินค้าอุปโภคบริโภคหกรายการมีมูลค่า 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั้งหมด 6.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าผิดกฎหมายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการลักลอบขนของผ่านเส้นทางการค้าชายแดน ศุลกากรและหน่วยงานรัฐฯ ยึดสินค้าที่ลักลอบนำเข้าจากท่าเรือ สนามบิน และชายแดนมูลค่าเกือบ 34.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (25.14 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่แล้วคิดเป็นเพียง 0.4% ของการค้าที่ผิดกฎหมายตัวขับเคลื่อนหลักของการค้าที่ผิดกฎหมายคือ กำไรจากการเลี่ยงภาษี สาเหตุอีกประการหนึ่งคือข้อการจำกัดการนำเข้าสินค้า คณะกรรมการพัฒนาเอกชนได้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมายในเก้ารัฐและภูมิภาค สามารถป้องกันการลักลอบขนสินค้า 1,065 มูลค่ามูลค่ารวม 15.645 พันล้านจัต จากกันยายน 61 ถึงตุลาคม 62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/government-sets-sights-curbing-illegal-trade.html