เมียนมาอนุญาตเพิ่มวงเงินการลงทุนในระดับภูมิภาค

กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศเผย คณะกรรมการการลงทุนของภูมิภาคและรัฐสามารถเพิ่มการลงทุนในโครงการพัฒนาระดับภูมิภาคได้ จากเดิมที่มีอำนาจการลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐและ 6 พันล้านจัต และถ้าหากจำนวนมากกว่านี้ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม MIC จะเพิ่มจำนวนเงินหากการลงทุนนั้นมีไว้เพื่อการพัฒนา ตัวอย่างคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการก่อสร้างถนนและโทรคมนาคมนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้วงเงินจำนวนมาก หากสามารถทำได้จะพัฒนาภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของคณะกรรมการด้านลงทุนและบริหารบริษัท (DICA) รัฐและภูมิภาคได้รับอนุญาตให้ตั้งคณะกรรมการการลงทุนเพื่อกำกับดูแลและปรับปรุงการลงทุน ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งข้อมูลกลับไปยัง MIC

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/approval-investment-limits-can-be-raised-official-says.html

เกษตรกรเลี่ยงชำระเงินกู้ตั้งแต่ปี 55

เกษตรกรที่เป็นหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรของเมียนมา (MADB) จำนวน 200 พันล้านจัต ยังไม่ได้ชำระตั้งแต่ปี 55 ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดอิรวดี พะโค และย่างกุ้ง ปัจจุบันการออมลดลงต่ำมากขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีเงินฝาก 77 พันล้านจัต แต่เงินกู้ยืมรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เหตุผลหนึ่งที่เกษตรกรเลี่ยงการชำระคือ การชำระหนี้เจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า MADB ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 8% ขณะเดียวกันสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ยากที่จะรักษาคุณภาพและผลผลิตไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้รายได้ผันผวนตลอดหลายปี และการขาดแรงงานรุ่นใหม่ๆ ที่หลั่งไหลไปทำงานในต่างประเทศแทน MADB ได้ขยายการชำระคืนเงินกู้ในเดือน ต.ค. – ธ.ค. ปีที่แล้วจนถึงเดือน มิ.ย. – ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งการที่ธนาคารปล่อยเงินกู้มากขึ้น เช่น เกตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 จัต จาก 100,000 จัต ขณะเดียวกันเกษตรกรที่ปลูกพืชอื่น ๆ สามารถกู้เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 100,000 จัต ปัจจุบัน MADB ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตาม 3 ฤดูการเพาะปลูกหลัก ได้แก่ มรสุม ก่อนมรสุม และฤดูหนาว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/farmers-have-shirked-loan-repayments-2012.html

การสูญเสียข้าวสาเหตุให้เกิดการขาดแคลนในประเทศ

พื้นที่ปลูกข้าว 105,206 เฮกตาร์ถูกทำลายคิดเป็น 13% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด เนื่องจากน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนของปีนี้ซึ่งสปป.ลาวจะไม่บรรลุเป้าหมายการผลิตปี 62 ที่ 4.4 ล้านตันได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้  กล่าวว่าปัญหาน้ำท่วมรวมถึงปัญหาน้ำประปาทำให้กระทรวงลดการคาดการณ์การผลิตข้าวจาก 4.4 ล้านเป็น 3.5 ล้านตัน จากการสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกโดยแขวงสะหวันนะเขตได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้บางพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือได้รับผลกระทบจากการระบาดของแมลงซึ่งทำให้พืชเสียหาย 1,200 เฮกตาร์อย่างไรก็ตามกระทรวงจะใช้งบประมาณของรัฐบาลจำนวน 352.9 พันล้านกีบ เพื่อสนับสนุน 288 โครงการในการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก 900,000 เฮกตาร์ และตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตในฤดูฝนถัดไป อีกทั้งมีเป้าหมายการส่งออก 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า นอกจากนี้มีการคาดการณ์จะเกิดความแห้งแล้ง อุทกภัยที่รุนแรงโดยผลผลิตอาจลดลง 10% ในปี 63 และ 30% ในปี 93 สิ่งนี้อาจส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหารซึ่งรัฐบาลกำลังทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดในอนาคต

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/rice-losses-causing-harvest-shortfall-minister-tells-na-108699

NA ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเรื่องความล่าช้าในการส่งออกพืชผล

ประธานสมัชชากล่าวถึงกรณีปัญญาความล่าช้าในการส่งออกพืชผลที่ด่านจังหวัดจำปาสัก โดยได้ถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้านายเข็มมะนี พลเสนาในระหว่างการประชุม NA โดยคุณปานีได้ยกกรณีของเหตุการณ์ที่ด่านระหว่างประเทศวังเวียง – ช่องเม็ก ระหว่างจำปาสักและจังหวัดอุบลราชธานีในประเทศไทย เมื่อเจ้าหน้าที่ใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมงในการออกใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการ จากกรณีดังกล่าวผู้ประกอบการชี้ให้เห็นว่าการล่าช้าที่ยาวนานเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของพืชผลที่ขนส่งได้ จากกรณีดังกล่าวรัฐมนตรีกล่าวว่าการส่งออกสินค้านั้นต้องผ่านการตรวจจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ จุดตรวจจึงอาจเกิดความล่าช้าในตอนนี้อยู่ระหว่างการแก้ไข โดยปัญหาดังกล่าวรองนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้มีการจัดโซนตรวจสินค้าเฉพาะเพื่อลดความล่าช้า นอกจากประเด็นดังกล่าวได้มีการเรียกร้องเกี่ยวกับการควบคุมราคาที่เขตแดนรวมถึงการนำเข้ายานพาหนะหรูหรา โดยรัฐบาลได้สั่งให้กระทรวงการคลังและภาคส่วนอื่น ๆดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งนี้รัฐมนตรีได้ให้คำสํญญาในการแก้ปัญหาและจะรายงานในภายหลัง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/na-questions-trade-minister-over-border-delays-crop-exports-108700

กัมพูชาวางแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในประเทศ

รัฐบาลได้เปิดตัวกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้จากภาคการท่องเที่ยวในขณะที่ปรับปรุงวิถีชีวิตของชุมชนในชนบทและช่วยปกป้องทรัพยากรภายในประเทศ ซึ่งรัฐบาลวางแผนนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้ในปี 2562-2573 ในการประชุมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนชุมชนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งมีกระทรวงการท่องเที่ยว กระทรวงสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชนได้รับประโยชน์จากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งเป็นการดีที่กระทรวงจะเน้นการพัฒนาชุมชนเหล่านี้ให้เป็นผู้ให้บริการการท่องเที่ยว เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงชุมชนมากขึ้น โดยรัฐบาลจะต้องทำงานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว คู่ค้าเพื่อการพัฒนาและคนในท้องถิ่น ซึ่งกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 4.8 ล้านคน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 10% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50662325/plan-to-boost-ecotourism-launched/

กัมพูชาขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

รัฐบาลกัมพูชาได้ขอให้ญี่ปุ่นร่วมช่วยในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและงานสาธารณะภายในประเทศในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยพูดถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างระบบการขนส่งอัตโนมัติหรือ AGT สำหรับเมืองหลวงของกัมพูชาได้ดำเนินการไปอย่างช้าๆส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดเงินทุนในการก่อสร้างจากนักลงทุนในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งระบบ AGT จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดภายในเขตเมือง โดยมีต้นทุนในการก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงรัฐบาลกำลังตั้งสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อลดความแออัดภายในเขตเมือง ซึ่งสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ AGT ในขณะที่บริษัทสองแห่งจากจีนกำลังดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวและรถไฟฟ้าใต้ดินภายในกรุงพนมเปญ โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้ให้ความช่วยเหลือกัมพูชาที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 135 ล้านเหรียญสหรัฐจากญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในรูปของเงินช่วยเหลือและเงินกู้ยืมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50662323/assistance-from-japan-sought-as-kingdom-mulls-new-big-ticket-projects/