เรือคอนเทนเนอร์กว่า 600 ลำมามาถึงและมีการค้าขายที่ท่าเรือย่างกุ้งในปี 2566
การท่าเรือเมียนมาร์ (MPA) ระบุว่า ในปี 2566 ตลอดทั้งปีมีเรือมากกว่า 600 ลำเดินทางมาถึงท่าเทียบเรือระหว่างประเทศย่างกุ้งเพื่อทำการค้า โดย MPA ได้ขยายการเดินทางตู้คอนเทนเนอร์มากขึ้นเพื่อตอบสนองข้อกำหนดในการส่งออกและนำเข้า ทั้งนี้ เรือขาเข้าตลอดทั้งปี 2566 ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม มีเรือเข้าเทียบท่าทั้งสิ้น รวม 629 ลำ ซึ่งประกอบด้วย สายการเดินเรือระหว่างประเทศ ได้แก่ Sealand Maersk Asia, SITC, MSC, Samudera, Ever Green, PIL, BLPL, RCL, Land and Sea, CMA-CGM, COSCO, IAL, ONE, Ti2 Container และ BAY เป็นต้น อย่างไรก็ดี การท่าเรือเมียนมาร์ ได้แจ้งให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าของเมียนมาร์ทราบว่ามีเรือ 49 ลำจะเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือย่างกุ้งในเดือนมกราคม 2567 นอกจากนี้ ท่าเรือย่างกุ้งให้บริการด้วยท่าเทียบเรือ 27 ท่าซึ่ง สามารถรองรับเรือที่ มีความยาวได้ถึง 200 เมตรและมีน้ำหนัก 3,000 ตัน ท่าเรือติลาวามีท่าเทียบเรือ 19 ท่าซึ่งสามารถ รองรับเรือที่ มีความยาวสูงสุด 250 เมตรและน้ำหนัก 3,500 ตัน
เขตการค้าเมียวดีมีมูลค่าการค้ากว่า 8.985 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 18 วันของเดือนธันวาคม
ตามรายงานสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 18 ธันวาคม เขตการค้าเมียวดีสามารถส่งออกมูลค่า 1.976 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 7.009 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมมูลค่าการค้า 8.985 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี ตามการรายงานของกระทรวงฯ พื้นที่การค้าข้ามพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ (เมียนมาร์-ไทย) ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบสินค้าเพื่อความสะดวกในการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าประมงผัก หัวหอม และพริก ที่เน่าเสียง่าย และปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารของไทยมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้ความต้องการเพิ่มขึ้น ตลอดจนการส่งออกวัตถุดิบอาหาร ทั้งนี้ ในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมดของเมียนมาร์ พริก หัวหอม และผลิตภัณฑ์ CMP เป็นสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด ด้านสินค้านำเข้ามากที่สุด ได้แก่อะไหล่รถจักรยานยนต์ กระดาษพิมพ์ สบู่ วัสดุเหล็กและเหล็กกล้า แบตเตอรี่แห้ง ชุดผ้าฝ้าย ยางและท่อยาง เครื่องจักรและอุปกรณ์
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawaddy-trade-zone-made-us8-985million-trade-over-18-days-of-december/
ไทยตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท ในปี 2567
รัฐบาลมุ่งเน้นส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้
3.5 ล้านล้านบาท ในปี 2567 ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวตลอดทั้งปี โดยข้อมูลในปี 2566 ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 27 ล้านคน นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2566 พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงถึง 27.25 ล้านคน นักท่องเที่ยวที่สำคัญมาจากมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และรัสเซีย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวในลำดับต้นๆ ของตัวเลขนักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมา สำหรับปี 2567 รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยเน้นสถานที่ยอดนิยมและไม่ค่อยมีคนรู้จัก โดยตั้งเป้ารายได้แบ่งเป็นการท่องเที่ยวในประเทศ 1 ล้านล้านบาท และการท่องเที่ยวต่างประเทศ 2.5 ล้านล้านบาท การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และหอการค้าไทยกำลังส่งเสริมจังหวัดแพร่ ลำปาง และนครสวรรค์ ในด้านศักยภาพการท่องเที่ยวที่ยังไม่ได้ใช้ ททท. เน้นย้ำถึงผลกระทบเชิงบวกของนโยบายปลอดวีซ่าสำหรับประเทศต่างๆ เช่น คาซัคสถาน จีน และรัสเซีย โดยมีแผนจะขยายสิทธิประโยชน์ให้กับนักท่องเที่ยวจากประเทศเหล่านี้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวยังเรียกร้องให้รัฐบาลให้การสนับสนุนเพิ่มเติม เน้นย้ำถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาค เช่น นครราชสีมา ซึ่งขึ้นชื่อในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกโลกถึงสามแห่ง
ที่มา: https://thainews.prd.go.th/en/news/detail/TCATG240101171841247
รัฐบาล สปป.ลาว ‘ตั้งเป้าลดปัญหาเงินเฟ้อในปี 2567’
รายงานล่าสุดจากสำนักงานสถิติลาวเผยว่า ในเดือนธันวาคม 2566 อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว อยู่ที่ 24.4% แม้ว่าจะปรับลดลงเล็กน้อยจาก 25.24% ในเดือนก่อน โดยเงินเฟ้อใยหมวดหมู่โรงแรมและร้านอาหารมีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 35.9% ตามมาด้วยหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า การรักษาพยาบาล และของใช้ในครัวเรือน สาเหตุหลักเกิดจากเงินกีบที่อ่อนค่าลง ผลผลิตในประเทศปรับลดลง มูลค่าการนำเข้าที่สูง และความยากลำบากในการควบคุมราคาในตลาดท้องถิ่น ทำให้ความพยายามของรัฐบาลในการควบคุมราคาสินค้ายังเผชิญกับความท้าทาย ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ ธนาคารแห่งลาว (BOL) ให้คำมั่นที่จะใช้นโยบายการเงินเข้มงวด โดยมุ่งเน้นที่การรักษาเสถียรภาพของค่าเงินกีบ ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนของรัฐบาลที่จะลดอัตราเงินเฟ้อลง 9% ในปี 2567 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26-27 ธันวาคม 2566 นายกรัฐมนตรี สอนไซ สีพันดอน ได้สั่งการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ให้ทันสมัย ระบุแหล่งรายได้ใหม่ และลดการรั่วไหลทางการเงิน นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงกฎระเบียบด้านเงินตราต่างประเทศ เพิ่มรายได้จากการส่งออก และดึงดูดการลงทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพของมูลค่าเงินกีบและลดอัตราเงินเฟ้อ
ที่มา: https://laotiantimes.com/2023/12/29/government-targets-lower-inflation-rates-in-2024/