การลดลงของนักท่องเที่ยวในเสียมราฐไม่ได้เป็นสาเหตุของความกังวล

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวในเมืองเสียมเรียบ ซึ่งไม่ควรเป็นสาเหตุที่น่ากังวลแนะให้ดูภาพรวมโดยสังเกตว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศโดยรวมมากขึ้น โดยมีการชะลอตัวเล็กน้อยในจำนวนนักท่องเที่ยวในเสียมราฐ เพราะตอนนี้กัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากศูนย์โบราณคดีอังกอร์และแถบชายฝั่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นรวมถึงจังหวัดกัมปอต, แกบ, เกาะกง, รัตนคีรีและมณฑปคีรี โดยจากรายงานล่าสุดของกระทรวงการท่องเที่ยวระบุว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากเสียมเรียบตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนลดลง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ภาพรวมของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึง 11.2% คิดเป็นจำนวน 3.3 ล้านคน ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง 6.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10.7% โดยคาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวถึง 7 ล้านคน ในปี 2563 สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ 4.3 พันล้านเหรียญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50639576/pm-says-fall-in-siem-reaps-tourist-numbers-not-a-cause-for-concern/

การศึกษาความเป็นไปได้ของกรุงพนมเปญในการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์

ธนาคารพัฒนาเอเชียได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์ในกรุงพนมเปญ โดยศูนย์โลจิสติกส์ของกรุงพนมเปญเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ของรัฐบาลกัมพูชาจะได้รับการพัฒนาในรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งหลังจากการประชุมหารือระหว่างกระทรวงคมนาคมและ ADB โดยกระทรวงได้ออกมาแถลงว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในกัมพูชาต้องการการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ในกรุงพนมเปญและในเขตเมืองอื่นๆ  ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ทำให้กัมพูชาตอบสนองต่อการลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยทางกระทรวงกล่าวว่ากัมพูชาจะกลายเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเซียเมื่อพูดถึงเรื่องโลจิสติกส์และการขนส่ง

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50639291/feasibility-study-for-phnom-penh-logistics-centre-underway/

CDC อนุมัติโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในกำปงชนังและโพธิสัตว์

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติการลงทะเบียนของโครงการสวนพลังงานแสงอาทิตย์ในจังหวัดกำปงชนังและโพธิสัตว์ โดยโซล่าฟาร์มทั้งสองแห่งเป็นการลงทุนของ บริษัท Schneitec Sustainable แต่ละแห่งจะมีความจุอยู่ที่ 60 MW และมีต้นทุนในการสร้าง 58 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแห่งแรกจะสร้างขึ้นในเขต Krakor ในจังหวัด โพธิสัตว์จะเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายนปีหน้า และแห่งที่สองจะตั้งอยู่ในเมือง Teuk Phos ของกำปงชนัง โดยจะเริ่มจ่ายไฟได้ในปลายปี 2020 แต่รัฐบาลยังได้เพิ่มการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มอีกด้วย  ซึ่งกัมพูชามีสวนพลังงานแสงอาทิตย์สองแห่งคือ โรงงานขนาด 10 MW ในเมือง Bavet ของเมืองสวายเรียง และสวนพลังงานแสงอาทิตย์ 80 MW ในเขต Oudong ของเมืองกำปงสปือ โดย Keo Ratanak อธิบดี EDC กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วกัมพูชาผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 390 MW หรือประมาณ 15% ของพลังงานทั้งหมดจากโซล่าฟาร์มในปีหน้า ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาใช้พลังงานไป 2,650 MW เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50639293/cdc-approves-solar-parks-in-kampong-chhnang-and-pursat/

สปป.ลาวเปลี่ยนการท่องเที่ยวให้กลายเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจ

สปป.ลาวคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 4.5 ล้านคนในปีนี้และจะได้รับรายได้เกือบ 8 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลได้ดำเนินโครงการพัฒนารวมถึงการเพิ่มและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้วยการลงทุนในประเทศและต่างประเทศการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและข้อเสนอทางวัฒนธรรมที่หลากหลายมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าการออกวีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไตและสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว 1 เปิดใช้งานในระดับทดลองเพื่อใช้กลไกนี้ทั่วประเทศ ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวสปป.ลาวที่มากที่สุดมาจากประเทศไทย (เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมด) เวียดนามและจีน (มากกว่า 800,000 ต่อปีในแต่ละกรณี) อีกทั้งเจ้าหน้าที่วางแผนที่จะทำสิ่งที่จะเพิ่มตัวเลขเหล่านี้ โดยมองไปที่อเมริกาและยุโรปซึ่งตลาดหลักคือสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสมีผู้เข้าชมประมาณ 50,000 และ 40,000 คนตามลำดับ

ที่มา: https://www.plenglish.com/index.php?o=rn&id=46475&SEO=laos-to-turn-tourism-into-a-pillar-of-its-economy

สภาผู้แทนราษฎรเมียนมาเตรียมคว่ำบาตรโรงงานเหล็ก

จากข้อมูลสภานิติบัญญัติของเมียนมา (Pyithu Hluttaw) ผู้บริหารที่มีหนี้ค้างชำระจำนวนเงินรวม 50.50 พันล้านจัต (5.97 ล้านเหรียญสหรัฐ) สำหรับการก่อสร้างโรงถลุงเหล็กในเมืองมยินจานที่มีรัฐเป็นเจ้าของกิจการ ควรได้รับการลงโทษจากการใช้จ่ายมากจนเกินไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองปุแล่ ในเขตสะกาย กล่าวว่าการไม่ชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 59-60 นั้นชัดเจนว่าเป็นการละเมิดกฎและระเบียบทางการเงินของรัฐบาล ทีมสอบสวนถูกตั้งขึ้นหลังจากคณะกรรมการพบว่ารัฐบาลจ่ายเงินจำนวน 7.13 พันล้านจัตสำหรับหนี้ 9.50 พันล้านจัตโดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/lawmaker-seeks-sanctions-against-steel-factory.html