ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการในอุตสาหกรรมธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ: กรณีศึกษากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

ราคาเป็นปัจจัยหลักที่จูงใจให้ลูกค้าเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ รองลงมาคือคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ส่วนความพึงพอใจของลูกค้าเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า ปัจจัยรองลงมาคือความน่าสนใจต่อทางเลือกของลูกค้า ในขณะที่ต้นทุนในการเปลี่ยนเครือข่ายไม่มีผลต่อความภักดีของลูกค้า

ที่มา: https://tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/108124

การวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งผลไม้จากจังหวัดจันทบุรีสู่การค้าชายแดนกัมพูชา

เส้นทางที่มีความเหมาะสมที่จะขนส่งผลไม้ไปสู่ชายแดนกัมพูชามากที่สุดคือ เส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม โดยเส้นทางนี้มีศักยภาพร้อยละ 80 รองลงมา คือ เส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาดมีศักยภาพร้อยละ 71.11 และจะเห็นได้ว่า เส้นทางไปยังจุดผ่อนปรนบ้านซับตารีมีศักยภาพใกล้เคียงกับเส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรโดยมีศักยภาพร้อยละ 66.67 ซึ่งจุดผ่อนปรนนี้สามารถพัฒนาให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ในอนาคต

ที่มา: https://tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/143214/105995

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง

ควรสนับสนุนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทางความมั่นคง กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการวางแผนการท่องเที่ยวชายแดนจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาครัฐและภาคเอกชน โดยจัดตั้งคณะกรรมการกลางด้านการท่องเที่ยวชายแดนทำหน้าที่ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประชาสัมพันธ์การกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวจะมีส่วนช่วยส่งเสริม สนับสนุนทุกภาคส่วนให้เป็นพันธมิตรด้านการท่องเที่ยวชายแดน เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาให้จังหวัดศรีสะเกษเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในอารยธรรมขอมโบราณชายแดนสองแผ่นดิน

ที่มา: https://www.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/78794/67546

ความสามารถในการแข่งขันของธนาคารไทยพาณิชย์ไทยในประเทศกัมพูชา: กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารเอซีลีดาของกัมพูชาได้เปรียบในด้านการบริหารสินทรัพย์ เพราะมีขนาดใหญ่กว่าและเงินทุนสำหรับการปล่อยสินเชื่อ การบริหารจัดการทุนทำให้สามารถขยายสาขาไปทั่วประเทศ แต่ ธ.ไทยพาณิชย์ มีประสิทธิภาพในการบริหารมากกว่า เนื่องจากมีการบริหารฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อเทียบจำนวนพนักงาน (Economies of scale) ด้านความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ ธ.พาณิชย์ในประเทศกัมพูชา พบว่า ตัวแปรต่างๆ ยังเอื้อต่อการต่อการแข่งขัน แต่จะต้องมีการพัฒนา E-Banking เพื่อรองรับการทำธุรกรรมออนไลน์ และเครื่องบริการฝากถอนเงินตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ เพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสำคัญที่ธนาคารไทยพาณิชย์พบคือ ความพร้อมของระบบ Electronic Banking ผลิตภัณฑ์ที่ไม่หลากหลายและดอกเบี้ยที่ไม่จูงใจ

ที่มา: https://www.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/75229

เครือข่ายชนชั้นนำทางเศรษฐกิจการเมืองและผลกระทบของบ่อนคาสิโนตามชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออก

ชนชั้นนำไทย กัมพูชา และข้ามชาติมีการสัมพันธ์ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยมีการผูกขาดน้อยราย (Oligopoly) ในการลงทุนธุรกิจคาสิโน การบริหารคาสิโนมีลักษณะเป็นการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศที่เป็นระบบ ด้านบุคคล การจัดการความเสี่ยง การประสานงานกับฝ่ายมั่นคง การส่งเสริมการตลาด และหน่วยงานภายในองค์กร ส่วนผลประโยชน์จากบ่อนคาสิโนนั้นพบว่า แนวโน้มผลประโยชน์จะตกเป็นของนักธุรกิจเจ้าของบ่อนและเจ้ามือ ในขณะที่ผู้เล่นการพนันจะเป็นผู้เสียประโยชน์

ที่มา: https://tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/view/72639/58430

ม.หอการค้าไทยชี้ปัญหาฝุ่นพิษ ปล่อยนาน 3 เดือน เศรษฐกิจสูญ 4 หมื่นล้าน

จากการสำรวจวิกฤติปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าประชาชนมีความกังวลว่าปัญหาอาจจะยืดเยื้อไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม จากเดิมที่คาดว่าจะยุติลงได้ในกุมภาพันธ์นี้ โดยที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายจากวิกฤติปัญหาเฉลี่ยคนละ 594 บาทต่อเดือน แต่หากยืดเยื้อออกไปถึง 6 เดือน จะเพิ่มเป็นเฉลี่ยต่อคน 802 บาทต่อเดือน สำหรับใช้ในการดูแลสุขภาพ เช่น ซื้อหน้ากากอนามัย และสินค้าที่ดีมีคุณภาพเพื่อดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม หากวิกฤตฝุ่นคลี่คลายลงได้ในกลางเดือนนี้ ความเสียหายจะอยู่ระหว่าง 8,000-10,000 ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย ค่ารักษาพยาบาล การนำเข้าหน้ากากรุ่น N95 รายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณของรัฐ และหากยืดเยื้อไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม มูลค่าความเสียหายจะเพิ่มเฉลี่ย 10,000 – 15,000 ล้านบาท ต่อเดือน หรือรวม 20,000 – 40,000 ล้านบาท

ที่มา : http://www.thansettakij.com/content/385245

06/02/62

หอการค้าไทยหวังเม็ดเงินสะพัดเลือกตั้งดันจีดีพี

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค. พบว่าปรับตัวดีขึ้นในรอบ 5 เดือน อยู่ที่ระดับ 80.07 จากความชัดเจนในการกำหนดการเลือกตั้ง ระบุผู้บริโภคระมัดระวังใช้จ่ายกังวลเศรษฐกิจโลก-ไทยชะลอตัวจากปัจจัยลบต่างประเทศ คาดเม็ดเงินสะพัดเลือกตั้งดันจีดีพีไตรมาส 1 โต 3.5-4% แม้ผู้บริโภคยังไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ สงครามการค้า ฯลฯ ด้านสินค้าเกษตรยังทรงตัวทำให้ผู้บริโภคระวังในการใช้จ่าย และคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัว 4 – 4.2%

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/691846

06/02/62

ประเทศต่างๆสนใจจ้างแรงงานชาวเวียดนาม

กระทรวงแรงงาน ทุพพลภาพ และสวัสดิการสังคม (MOLISA) เผยรายงานเวียดนามกำลังมองหาตลาดแรงงานใหม่สำหรับแรงงานชาวเวียดนามในปีนี้ นอกเหนือจากตลาดเก่า รวมไปถึงหลายประเทศแสดงความสนใจจ้างแรงงานชาวเวียดนาม ประกอบไปด้วยบางประเทศแถบยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง ดังเช่น คูเวตที่ต้องการเซ็นสัญญากับแรงงานชาวเวียดนาม เป็นต้น ในปีที่แล้ว เวียดนามส่งแรงงานไปยังต่างประเทศถึง 140,000 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 60

ที่มา : http://vovworld.vn/en-US/news/countries-keen-to-recruit-vietnamese-workers-721899.vov

06/02/62

กฟผ จ่อซื้อ ไฟฟ้าสปป.ลาว 2 โครงการเข้าระบบปีนี้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เผยในปีนี้ กฟผ.เตรียมรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกัน จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการไซยะบุรี กำลังผลิต 1,220 เมกะวัตต์, โครงการน้ำเงี๊ยบ 1 กำลังผลิต 269 เมกะวัตต์ และโครงการเซเปียน- เซน้ำน้อย กำลังผลิต 345 เมกะวัตต์ แต่ในส่วนของโครงการเซเปียน- เซน้ำน้อยนั้นต้องเลื่อนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) คาดว่าไม่ทันปีนี้ หลังจากในปีที่ผ่านมาประสบปัญหาเขื่อนดินแตก และทางการ สปป.ลาวอยู่ระหว่างตรวจสอบสาเหตุที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม คาดว่าการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศในอนาคตส่วนใหญ่ไทยจะยังคงเป็นการรับซื้อจาก สปป.ลาวเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมีต้นทุนต่ำอยู่ที่กว่า 2 บาทต่อหน่วย และปัจจุบันประเทศไทยทำสัญญา ซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ประเทศเดียวเท่านั้น ส่วนจีนที่เคยมี ข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้า ปริมาณ 3,000 เมกะวัตต์นั้นได้หมดอายุไปตั้งแต่ปี 61 แล้ว

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

07/02/62