อัตราเงินเฟ้อของลาวลดลงเล็กน้อยเป็น 25.24% ในเดือนพฤศจิกายน

สำนักงานสถิติ สปป.ลาว ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อของลาวในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 25.24 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 25.8 ในเดือนตุลาคม เงินกีบที่อ่อนค่าถูกมองว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ผลักดันอัตราเงินเฟ้อในช่วงนี้ จากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤศจิกายน พบว่า ราคาสินค้าในหมวดโรงแรมและร้านอาหาร อยู่ร้อยละ 35.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ราคาอาหารปรุงสุก เช่น ปลาย่าง ยำเนื้อรสเผ็ด และก๋วยเตี๋ยว รวมถึงราคาเบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ผลักดันราคาสินค้าหมวดนี้ หมวดอื่นๆ ที่ผลักดันอัตราเงินเฟ้อ ได้แก่ หมวดเสื้อผ้าและรองเท้า ร้อยละ 31.8 หมวดเครื่องมือทางการแพทย์และยา ร้อยละ 26.5 หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 26.4 หมวดของใช้ในครัวเรือน ร้อยละ 25.3  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และหมวดยาสูบ ร้อยละ 24.5 ส่วนหมวดการสื่อสารและการขนส่ง ร้อยละ 22.1 ต้นทุนสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดที่ร้อยละ 41.26 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปัจจัยบวกประการหนึ่ง คือ การที่ สปป.ลาว เกินดุลการค้ามากกว่า 943 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 โดยมีการส่งออกมากกว่า 5.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 5.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.news.cn/20231128/386e00e66b6145809ca4526bc42744fb/c.html

เลขาธิการอาเซียนจะเดินทางเยือน สปป.ลาว เพื่อเตรียมพร้อมรับตำแหน่งประธานอาเซียนปีหน้า

ดร.เกา คิม เลขาธิการอาเซียน จะเดินทางเยือน สปป.ลาวเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2567 ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว โดยจะนำคณะผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากสามเสาหลักประชาคมเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของ สปป.ลาว คณะผู้แทนจะพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายกรัฐมนตรี โสเนกชัย สีพันโดน รวมทั้งรัฐมนตรีคนสำคัญอื่นๆ ที่รับผิดชอบประเด็นข้ามเสาหลัก การประชุมนี้มีเป้าหมายเพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียนในการสนับสนุนการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของ สปป.ลาว ที่กำลังจะมีขึ้น ภายใต้หัวข้อ “การเสริมสร้างการเชื่อมต่อและความยืดหยุ่น” เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เวียงจันทน์ได้เปิดเผยโลโก้อย่างเป็นทางการและธีมของตำแหน่งประธานอาเซียนที่จะจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งแรกในวันที่ 28-29 มกราคม 2567 ที่เมืองหลวงพระบาง โดยจะจัดการประชุมอาเซียนครั้งแรก และจะเป็นการประชุมครั้งแรกจากหลายร้อยการประชุมที่จะตามมาตลอดปี 2567 หลังจากที่ประธานอาเซียนคนใหม่เริ่มแผนปฏิบัติการและผลงาน

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/asean-chief-visits-laos-this-week/

ชายแดนหม่องตออำนวยความสะดวกด้านการเกษตร การประมง และสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปยังบังกลาเทศ

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาร์ขนส่งผลิตผลทางการเกษตร การประมง และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปไปยังบังกลาเทศผ่านชายแดนหม่องตอ ในปัจจุบัน สินค้าส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังชายแดนโดยใช้เส้นทางซิตตะเวย์-อังวะ-หม่องดอ จากนั้นจึงส่งออกไปยังบังคลาเทศผ่านเขตเศรษฐกิจกันยินชอง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 21 พฤศจิกายน เมียนมาร์ส่งออกถั่วหมากจำนวน 38.25 ตัน มูลค่า 0.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ลูกเนียง 27 ตัน 0.008 ล้านเหรียญสหรัฐ ขิงสด 110 ตัน 0.022 ล้านเหรียญสหรัฐ มะม่วง 7 ตัน 0.003 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลายี่สก 101.3 ตัน 0.128 ล้านเหรียญสหรัฐ และปลาตากแห้งตัวเล็ก 45.5 ตัน 0.029 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลาแอนโชวี่แห้ง 46 ตัน 0.017 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลากระโห้ 1.54 ตัน 0.002 ล้านเหรียญสหรัฐ พุทราแช่อิ่มแพ็ค 22 ตัน 0.007 ล้านเหรียญสหรัฐ ยาหม่องสมุนไพร Tun Shwe Wah 9 ตัน 0.005 ล้านเหรียญสหรัฐ และทานาคา 13 ตัน บรรจุ 0.007 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปยังบังกลาเทศโดยผ่าน ชายแดนเมืองหม่องตอ อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าข้ามพรมแดนผ่านชายแดนเมืองหม่องตอของเมียนมาร์กับบังกลาเทศตั้งเป้าไว้ที่ 1.53 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 0.03 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่การค้าที่แท้จริงมีมูลค่า 0.286 ล้านเหรียญสหรัฐ เฉพาะการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 18.69 ของเป้าหมายการค้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maungtaw-border-facilitates-agri-fisheries-and-industrial-export-products-to-bangladesh/

อุตสาหกรรมประมงของตะนาวศรี: ต้นทุนที่สูงขึ้นและราคาที่ตกต่ำส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและการจ้างงาน

ตามข้อมูลจากแหล่งข่าววงในของอุตสาหกรรมประมงของตะนาวศรี กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบัน ราคาอาหารทะเลที่ตกต่ำ ราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ส่งผลร้ายแรงต่อการส่งออกประมงของภูมิภาคตะนาวศรีไปยังประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก ปัจจุบันเขตตะนาวศรีมีเรือประมงนอกชายฝั่งจำนวน 1,500 ลำ และคนในพื้นที่กังวลว่าความสูญเสียในอุตสาหกรรมประมงอาจแพร่กระจายไปยังภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะเรือขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากขึ้นเพื่อปฏิบัติการ เพราะใช้วิธีตกปลาผิวน้ำและกลางน้ำ อีกทั้งการถูกกดราคาจากผู้ซื้อชาวไทยและอุปสงค์จากผู้ซื้อชาวไทยที่ลดลง ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ซึ่งในการออกเรือเพื่อลากอวนนอกชายฝั่งมักจะมีราคาค่าใช้จ่ายถึง 13 ล้านบาท (ประมาณ 120 ล้านจ๊าด) ต่อเที่ยว แม้จะมีศักยภาพในการจับสัตว์น้ำคิดเป็นมูลค่า 18 ล้านบาท (170 ล้านจ๊าด) แต่ผู้ค้ามักจะเผชิญกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มเติม นอกจากนี้ ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงหนึ่งบาร์เรลมีราคามากกว่า 660,000 จ๊าด ในขณะที่ปลาในตู้คอนเทนเนอร์แทบจะหาได้เพียง 65,000 จ๊าด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/taninthayis-fishery-industry-soaring-costs-and-plummeting-prices-threaten-operations-and-jobs/