เดินหน้าแผนแม่บทเชื่อมอาเซียน จ่อเปิดเสรีการบิน-คุมเรือสำราญ

พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ระบุว่า ด้านขนส่งมีส่วนทำให้อาเซียนเติบโต ปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก มีประชากร 640 ล้านคน และ GDP รวมกันมีมูลค่าสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ผ่านมา ได้ลงนามความร่วมมือผลักดันการขนส่งแบบไร้รอยต่อ พร้อมทั้งจัดทำแผนแม่บทเชื่อมอาเซียน 2025 เพื่อเน้นการเชื่อมโยง ซึ่งการคมนาคมขนส่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ความร่วมมือทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ และด้านการขนส่ง

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1416436

ลิ้นจี่ไทยเจอคู่แข่งเวียดนาม

สำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ เวียดนาม ได้รายงานสถานการณ์การผลิตและการค้าลิ้นจี่ของเวียดนาม โดยพบว่าในปัจจุบันผลผลิตลิ้นจี่ได้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าปี61 จะผลิตได้สูงถึง 2.07 แสนตัน ส่งออกไปขายใน 30 ประเทศกว่า 1,000 ตัน โดยมีตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ สหภาพยุโรป แคนาดา จีน ฯลฯ และยังมีแผนขยายตลาดส่งออกไปตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก รัสเซียเพิ่ม และมาเลเซียที่มีแนวโน้มซื้ออย่างต่อเนื่อง และยังร่วมมือกับมาเลเซียเพื่ออำนวยความสะดวกนำเข้าสินอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารทะเล ฯลฯ ดังนั้นไทยควรรักษาคุณภาพ ความสดใหม่และมาตรฐานของสินค้าเอาไว้ให้ได้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของสินค้าไทย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/570191

นักลงทุนไทยต้องรู้ ผลวิจัยใหม่ชาวเมียนมา ไม่สนแบรนด์ เน้นคุ้มค่า เฟสบุ๊กมีอิทธิพล

จากรายงานการวิจัยเรื่อง Who Are Myanmar Millennials? (WAMM?) ซึ่งจัดทำโดยบริษัท อินโดไชน่า รีเสิร์ช พบว่าประชากรเมียนมากลุ่มที่เรียกว่ามิลเลนเนียล ที่เกิดช่วงปี 2525 – 2543 มีจำนวน 16.6 ล้านคน คิดเป็น 33% ของประชากรทั้งหมด 55 ล้านคน นิยมใช้สื่อโซเชียลในการหาข้อมูลติดต่อและกระจายข่าวมากกว่าญาติหรือผู้ใหญ่ กลุ่มนี้เวลาบริโภคสินค้าจะไม่ค่อยสนใจแบรนด์แต่จะคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของสินค้าหรือบริการ ประเทศผู้ผลิต เทคโนโลยีและรางวัลที่ได้ ร้อยละ 66 ใช้สื่อโซเชียลในการตัดสินใจซื้อและเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลมากถึง 99% ตามด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและทีวี ดังนั้นผู้ประกอบต้องมีกลยุทธ์ทางโซเชียลมีเดียที่โดดเด่นในการเจาะตลาดผู้บริโภคกลุ่มนี้

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2474-id.html

17 พฤษจิกายน 2560

ชี้ขุมทรัพย์ของนักธุรกิจไทยในสปป.ลาวโดย SME แห่งสปป ลาว

นิตยา เพชดาวัน กรรมการสมาคม SME สปป.ลาว ได้ชี้ถึงโอกาสของนักลงทุนไทยในสปป.ลาว โดยเฉพาะในจุดที่แตกต่างระหว่างไทยกับสปป.ลาว ที่ถือเป็นความลงตัว สปป.ลาวยังมีทรัพยากรจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถแปรรูป แต่คนไทยทำได้หมด จึงอยากให้นักธุรกิจไทยให้ไปลงทุน ซึ่งโอกาสมีทั้งเรื่องธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คนสปป.ลาวมีความมั่นใจในสินค้าไทยมาก มีความเชื่อว่าเป็นของดี สินค้าจากสองประเทศวางคู่กัน สินค้าแบรนด์ที่ Made in Thailand จะถูกเลือกซื้อไปก่อน เพราะมีราคาไม่สูงและเป็นสินค้ามีคุณภาพ และที่น่าสนใจคือการค้าชายแดนที่รัฐบาลสปป.ลาว ยึด 4 ข้อหลัก คือ การสร้างเขื่อนไฟฟ้า พัฒนาโครงการพื้นฐาน การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และผลักดันการลงทุนทั้งด้านเกษตรแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล ด้านผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย มีศักยภาพมากพอที่จะเข้าไปลงทุนในด้านเกษตรแปรรูป (ที่ในปัจจุบันรัฐบาลเน้นเกษตรออร์แกนิค พืชผักปลอดสารพิษ) การศึกษา และโรงพยาบาล เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมานักธุรกิจมักคิดว่าสปป.ลาวเป็นเมืองปราบเซียน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องความไม่เข้าใจระหว่าง ที่ถูกต้องคือต้องไปกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ถ้าจดทะเบียนตามระบบขั้นตอนที่ถูกต้องนั้น การันตีเลยว่าจะไม่โดนโกงอย่างแน่นอน นักธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีเป็นส่วนน้อย เพราะไทยกับ สปป.ลาวนั้นเชื่อมโยงใกล้ชิดกันอยู่แล้ว

ที่มา: https://news.mbamagazine.net/index.php/entrepreneurship/smes/item/1020-2018-08-13-02-49-26

The OPPORTUNITY : ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในเมียนมา

http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49875.pdf

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

กรกฎาคม 2561

อียูอาจคว่ำบาตรเมียนมา

อียูอาจคว่ำบาตรเมียนมา

EU กำลังเตรียมมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมา กรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ หากถูกตัดสิทธิจริง แรงงานมากกว่า 4.5 แสนคนว่างงานทันที รายได้ส่งออกหายไป 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รัฐบาลของนางซูจีเผชิญปัญหาอย่างมากทั้งเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวและการปฏิบัติต่อศาสนาและชาติพันธุ์ที่ต่างกัน UN เผยว่ามากว่า 6.8 หมื่นคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจากการสู้รบในรัฐกะฉิ่นและรัฐชาน ตั้งแต่ต้นปี60 เกิดพรรคการเมืองจากชนกลุ่มน้อยจากหลายฝ่าย บางพรรครวมตัวกันเพื่อการเลือกตั้งทั่วไปในปี63 เชื่อว่าอนาคตของนางซูจีและพรรคเริ่มจะไม่น่าจะดีขึ้นในอนาคต

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1413281

 

มาตรการภาษี EU กระทบส่งออกข้าวกัมพูชา

มาตรการภาษี EU กระทบส่งออกข้าวกัมพูชา

กัมพูชากำลังมองหาตลาดใหม่ในการส่งออกข้าวทดแทน EU เนื่องจากการกำหนดภาษีเพื่อป้องกันอุตสาหกรรมผลิตข้าวของ EU ตามข้อร้องเรียนของสเปนและอิตาลี รองประธานสภาค้าข้าวแห่งกัมพูชา เผยแม้กัมพูชาจะได้รับประโยชน์จากสิทธิ EBA แต่มาตรการดังกล่าวที่ป้องกันการขาดดุลของ EU จะส่งผลให้กัมพูชาไม่สามารถแข่งขันได้ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรรายงานว่าตัวส่งออกข้าว 9 เดือนแรก 389,264 ตัน ลดลง 8.4% และจีนยังเป็นตลาดสำคัญอีกทั้งยังเซ็น MOU ในการส่งเสริมการปลูกและตั้งเป้านำเข้าโควตาข้าวจากกัมพูชามากกว่า 300,000 ตัน

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50548309/rice-exports-to-eu-to-be-hit-by-tariffs/

 

โครงการเหมืองทองคำแห่งแรกในกัมพูชา เริ่ม ต้นปี 2020

โฆษกกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน เผยบริษัท Emerald Resources จากออสเตรเลีย ได้รับใบอนุญาตการเข้าทำเหมืองแร่และทองคำไปเมื่อก.ค ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อโครงการ The Okvau Gold ในจังหวัดมัณฑลคีรี จะสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ต้นปี 2020 คาดว่าจะใช้เงินทุนมากกว่า 19.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สิ่งที่กัมพูชาจะได้คือ การจ้างงาน ภาษี รายรับจากสิทธิ์ใบอนุญาต แต่เรื่องคอรัปชั่นยังเป็นที่กังขาเพราะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้กับประชาชนได้ทราบเนื่องจากบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ

ที่มา: https://www.phnompenhpost.com/business/first-large-scale-gold-project-kingdom-early-2020