จังหวัดด่งนาย ดึงดูดการลงทุน FDI ผ่านเครื่องหมายการค้า

จากรายงานระบุว่านอกจากความได้เปรียบจากข้อตกกลงทางการค้าเสรีหรือเอฟทีเอที่เวียดนามลงนาม เครื่องหมายการค้าของบริษัทท้องถิ่นและเขตอุตสาหกรรมก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีต่อการตัดสินใจของสถานประกอบการต่างประเทศ ใน 9 เดือนที่ผ่านมา เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในจังหวัดด่งนาย กว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับแผนที่วางไว้ ซึ่งถือเป็นการยืนยันคุณภาพและประสิทธิภาพในการลงทุนของโครงการในจังหวัดด่งนาย ตลอดจนความเชื่อมั่น และการ FDI ของสถานประกอบการ ต่อบรรยากาศการลงทุนของจังหวัดฯ ปัจจุบันยังคงปฏิบัติการปฏิรูประเบียบราชการและมีความโปร่งใส จากความได้เปรียบทั้งในด้านเครื่องหมายการค้าของท้องถิ่นและสถานประกอบการช่วยให้จังหวัดด่งนาย สามารถดึงดูดการลงทุนทางตรงจากสถานประกอบการ เป็นอย่างมาก

ที่มา: http://vovworld.vn/en-US/economy/dong-nai-attracts-fdi-thanks-to-brand-development-694610.vov

 

ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค.อยู่ที่ 81.3 ปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค.61 อยู่ที่ 81.3 จาก 82.3 ในเดือนก.ย.61 ซึ่งปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากความกังวลสงครามการค้าและนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง โดยปัจจัยลบที่ส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ การส่งออกเดือนก.ย.61 ลดลงร้อยละ 5.20 , ราคาพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ยังทรงตัวในระดับต่ำ, ความกังวลสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน, นักท่องเที่ยวจีนลดลง, ผู้บริโภคยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกระจุกตัว

ที่มา: https://mgronline.com/uptodate/detail/9610000110478

“กกร.” คงเป้าส่งออกปี 61 ที่ 8.0-10.0% GDP 4.4-4.8% แต่ห่วงสงครามการค้า น้ำมันผันผวน แนะประชุม “กรอ.” ส่วนกลางสะท้อนปัญหาถึงบิ๊กตู่

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี61 การเติบโตชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรก โดยประมาณการปี 61 GDP ขยายตัว 4.4-4.8% และการส่งออกขยายตัว 8.0-10.0% เงินเฟ้อ 0.9-1.5% ผลมาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ – จีน การที่ไทยถูกตัดสิทธิ์ GSP จากสหรัฐฯ ใน 11 รายการสินค้าส่งออก และผลกระทบอื่นๆ สำหรับภูมิภาคมีการปรับตัวลง ยกเว้นภาคตะวันออก ผลมาจากปัญหาความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจีน ) รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ด้านบวกคือ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ อยู่ที่ 1.50% และภาคส่งออกและการค้าชายแดนที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-245844

กัมพูชา: สวรรค์ของผู้สูงอายุชาวต่างชาติกับโอกาสทางธุรกิจ

ปัจจุบันการท่องเที่ยวคิดเป็น 15% ของจีดีพีประเทศ นักท่องเที่ยวเพิ่ม 15% ต่อปี และสังเกตได้ว่าชาวต่างชาติผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนนิตยสาร International Living จัดให้อยู่ในอันดับที่ 17 จาก 24 ประเทศที่ติดอันดับประเทศที่น่าไปใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุมากที่สุดในโลก จากปัจจัยอย่างค่าครองชีพที่ถูก การเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ เช่น สามารถเป็นเจ้าของห้องพักได้ ขอวีซ่าโดยไม่ต้องขอหนังสือรับรองการทำงานแต่ต้องต่อทุกๆ ปี และการก่อการร้ายค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการลงทุนอย่างสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้คุณภาพตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อที่มีความเชื่อมั่นมากกว่าสินค้าท้องถิ่น สถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากลสำหรับผู้สูงอายุหรือธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่กัมพูชายังไม่มี และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างอุปกรณ์สำหรับใช้ภายในที่พักอาศัย ออกแบบและตกแต่งภายใน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48800_0.pdf

25 มิถุนายน 2560

ไลฟ์ สไตล์สุดฮิตของชาวเมียนมาในยุคสังคมเมือง

ปัจจุบันคาดว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 120 ดอลลาร์สหรัฐ จะเพิ่มเป็น 10.3 ล้านคน ในปี 2563 คิดเป็น 15% ของประชากร ซึ่งทำไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเหมือนกับเมืองใหญ่ สังเกตได้จาก การกลับมาบูมของโรงภาพยนตร์แบบ Multiplex ซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากกว่า 100 แห่งในปีนี้ Fast Food และ Modern Cafe เทรนด์ใหม่ ด้วยชีวิตประจำวันที่คล้ายคลึงกับเมืองใหญ่ๆ ที่เร่งรีบมากขึ้น เช่น pizza hut, KFC หรือจากไทยอย่าง True Coffee และ Chao Doi Facebook…ช่องทางทําความรู้จักชาวเมียนมายุคใหม ล่าสุดพบว่า การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีถึง 97% ของประชากร โซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมคือ Facebook และ Google ธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น ร้านอาหาร สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ ฟิตเนส สถานเสริมความงาม และโดยเฉพาะ Smart Phone พบว่ามีผู้ใช้ถึง 62% จากจำนวนประชากร สูงกว่าเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่น่าสนใจคือ คอนเท้นท์โฆษณาออนไลน์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48727_0.pdf

28 พฤษภาคม 2560

เมียนมาโฉมใหม่ โอกาสที่เปิดกว้าง พร้อมการแข่งขันที่ท้าทาย

ในปี 2559 เมียนมามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในประเทศไม่ว่าจะเป็น การยุบรวมในหลายกระทรวงเพื่อลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่าย การปรับปรุงกฎหมายการลงทุนใหม่เป็น “Myanmar Investment Law 2016” มีผลต่อมูลค่า FDI ลดลงในระยะสั้นๆ จากที่เคยสูงแตะ 80% ต่อปี (สูงสุดในอาเซียน) เหตุเพราะต่างชาติรอดูความแน่นอนของรัฐบาลชุดนี้ แต่คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากการที่หลายประเทศเริ่มเข้ามาลงทุน อาทิ aeon และ Suzuki จากญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เมียนมาจะเป็นที่จับจ้องของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ สิ่งที่ตามมาคือการแข่งขันอย่างเข้มข้น ไทยในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดควรที่จะร่วมกันพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48633_0.pdf

3 เมษายน 2560

การปฏิรูประบบสาธารณสุขในเมียนมา โอกาสทองของผู้ประกอบการไทย

จากงบประมานด้านสาธาณสุขปี 2559/2560 รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเป็น Universal Health Coverage (UHC) ปัจจุบันโรงพยาบาลขนาดใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่อย่างย่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์ เมียนมาจึงพยายามขยายการบริการสุขภาพไปยังพื้นที่ชนบท 280 เมืองที่มีประชากรมากกว่า 70% ดังนั้นธุรกิจที่นักลงทุนไทยน่าลงทุน คือ การส่งออกเภสัชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ พบว่าไทยส่งออก 12% ในปี 59 เป็นรองเพียงเวียดนาม ร่วมลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกเพื่อรองรับการขยายตัวของชาวเมียนมาที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ซึ่งปัจจุบันผู้ที่มีกำลังซื้อสูงมักเดินทางออกไปใช้บริการต่างประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์และไทย และตอนนี้ได้ให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ 80% โดยปัจจุบันมีเครือโรงพยาบาลกรุงเทพและเครือโรงพยาบาลธนบุรีที่เข้าไปร่วมทุนกับเอกชน จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปเป็นคู่ค้าและเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานของตลาดบริการสุขภาพในเมียนมา

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48726_0.pdf

29 พฤษภาคม 2560

ส่องการค้าใน สปป.ลาว

สปป.ลาว แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 7% เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน อันดับ 10 ของโลก ถึงแม้จะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวแต่มีนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากร ปัจจุบันมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมให้ลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 12 เขต และการส่งเสริมการลงทุนภาคกสิกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล และยังปรับปรุงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โอกาสสำหรับ SME ไทยคือสินค้าอุปโภคบริโภคเพราะยอมรับในคุณภาพและบริการ ในปัจจุบันไทยเข้ามาลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยมีทั้งหมด 752 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 4,492 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนด้านการค้า การบริการ หัตถกรรม โรงแรม ร้านอาหาร สินค้าเกษตรแปรรูปและธุรกิจด้านพลังงาน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/scoop/560465

11 สิงหาคม 2561

รมต. พาณิชย์กัมพูชา ส่งสัญญาณถึงนิวซีแลนด์ “กัมพูชาพร้อมเปิดกว้างทางธุรกิจ”

ภายหลังการหารือของรมต. พาณิชย์กัมพูชา กับเอกอัครราชทูตแห่งประเทศนิวซีแลนด์ ระบุว่ากัมพูชาคือหมุดหมายของนักลงทุน ทั้งยังเอ่ยด้วยว่ากัมพูชาถือเป็นโอกาสของนักลงทุนในด้านการเกษตรอุตสาหกรรมเบา เทคโนโลยีและบริการซึ่งเหตุหลักในการดึงนิวซีแลนด์เข้าลงทุนเพราะกัมพูชายังต้องการในการถ่ายทอดทักษะเทคโนโลยีการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าทางการเกษตรและเพื่อความสามารถสามารถในการแข่งขันของกัมพูชา

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50547023/we-are-open-for-business-minister-tells-new-zealand/