ส่องธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในกัมพูชา : โตไม่หยุด…ฉุดไม่อยู่

เศรษฐกิจกัมพูชาถือว่าร้อนแรงมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ โดยโตเฉลี่ย 7% ส่งผลต่อธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ยอดเติบโตพุ่งสูงขึ้นจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการขยายเมืองสร้างที่อยู่อาศัย ที่สำคัญคือระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยรัฐให้เอกชนเข้ามาลงทุนหรือการลงทุนร่วมกันในหลายๆ โครงการ และโครงการใหญ่อย่างการก่อสร้างทางพิเศษทั่วประเทศภายใต้แผน Expressway Master Plan ทั้งนี้ยังอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ร้อยละ 100 ในบริษัทที่รับงานก่อสร้างในกัมพูชา ในปี 2561 พบว่าในพนมเปญคาดว่าจะมีการก่อสร้างคอนโด 22,366 ยูนิต รวมทั้งศูนย์การค้าและโรงแรมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งการยายตัวดังกล่าวโอกาสทางธุรกิจของนักลงทุนไทยไม่ว่าจะเป็น การจำหน่ายวัตถุดิบการก่อสร้าง การตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง การเข้าไปประมูลรับงานเองหรือการรับช่วงต่อล้วนเป็นโอกาสที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/48325.pdf

วันที่ 9 มกราคา 2560

ชำระเงินค่ำสินค้ำวิธีไหน เหมาะกับการค้ำไทยและ สปป.ลาว

เศรษฐกิจ สปป.ลาว ขยายตัวสูงเฉลี่ยกว่าร้อยละ 7 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีพลังในการบริโภคมากขึ้นและสินค้าไทยเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่นิมมากที่สุดเพราะชายแดนที่ติดกันมีการคมนาคมขนส่งสะดวกขึ้น และไทยครองอันดับหนึ่งจากการนำเข้าของสปป.ลาวมาตลอดและเกือบทั้งหมดเป็นการค้าผ่านชายแดน ซึ่งในปัจจุบันการชำระเงินซื้อขายสินค้ามีอยู่ 2 รูปแบบคือ 1.แบบไม่ผ่านระบบธนาคาร เช่น การใช้เงินสด จะเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินบาทไทย ส่วนเงินกีบไม่เป็นที่นิยมมากนักเพราะไม่ค่อยมีเสถียรภาพ และการชำระเงินผ่านนายหน้า (โพยก๊วน) นิยมในแถบชายแดนเฉพาะกลุ่ม SME โดยผ่านคนกลางและค่าธรรมเนียมที่ไม่สูง 2.แบบผ่านธนาคาร เช่น การชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร ชาวสปป.ลาวสามารถข้ามมาเปิดบัญชีเงินบาทประเภทผู้ไม่มีถิ่นฐานในไทย และการชำระเงินเงินในรูปแบบการค้าระหว่างประเทศสากล ส่วนใหญ่จะเป็นการค้ามูลค่าสูง

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49554.pdf

มีนาคม 2561

เมียนมาดึงดูดการค้า-การลงทุนต่างชาติ

นับตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนขึ้นสู่อำนาจเมื่อปี 2559 ด้านเศรษฐกิจมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ นโยบายส่งเสริมให้เอื้อต่อการลงทุน อาทิ นโยบายเศรษฐกิจ 12 ประการ ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึง และกฎหมายส่งเสริมการลงทุนใหม่ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) กฎหมายการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Law) ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแตกต่างกันไประดับการพัฒนาของพื้นที่ และ (2) กฎหมายบริษัทเมียนมา (Myanmar Companies Law) อนุญาตให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 35 และอำนวยความสะดวกการจัดตั้งบริษัทผ่านระบบออนไลน์ ปัจจุบันการลงทุนของต่างชาติมีมูลค่าถึง 7.685 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เช่น ในสาขาเชื้อเพลิง พลังงาน การผลิต การขนส่ง ฯลฯ โดยชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีน สิงคโปร์ และไทยตามลำดับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

เวียดนามลงทุนไฮสปีด

ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้งแบบยกระดับและใต้ดินภายใน 2 ใหญ่อย่างฮานอยและโฮจิมินห์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร สำหรับแผนลงทุนในระยะแรกช่วงปี 2561-2573 ของทั้งสองเมืองอยู่ที่ 5.38 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังมีแผนศึกษาความเหมาะสมเพื่อลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง 350 กม./ชม.ซึ่งจะเป็นเส้นทางจากเหนือไปใต้ช่วงฮานอย-โฮจิมินห์ ระยะทางรวม 1,570 กม. ขนาดราง 1.45 เมตร วงเงินลงทุน 1.75 ล้านล้านบาท หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ และเป็นการจัดผังเมืองใหม่ โดยเส้นทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในเส้นทางสายไหมที่จะเชื่อมจากปักกิ่ง-หนานหนิงของจีน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/column/569664

เจาะตลาด สปป.ลาว โอกาสที่มาพร้อมกับรถไฟความเร็วสูง

สปป.ลาว แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ 7% เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน อันดับ 10 ของโลก ถึงแม้จะมีประชากรเพียง 7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวแต่มีนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากร ปัจจุบันมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมให้ลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 12 เขต และการส่งเสริมการลงทุนภาคกสิกรรม อุตสาหกรรมแปรรูป การศึกษา และโรงพยาบาล และยังปรับปรุงกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โอกาสสำหรับ SME ไทยคือสินค้าอุปโภคบริโภคเพราะยอมรับในคุณภาพและบริการ ในปัจจุบันไทยเข้ามาลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากจีน โดยมีทั้งหมด 752 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 4,492 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ลงทุนด้านการค้า การบริการ หัตถกรรม โรงแรม ร้านอาหาร สินค้าเกษตรแปรรูปและธุรกิจด้านพลังงาน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49347_0.pdf

30 มกราคม 2561

ลาวนำเข้าเชื้อเพลิงเป็นครั้งแรกจากจีน

บริษัท สปป.ลาวได้นำเข้าน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 5 จากประเทศจีนเป็นครั้งแรกถือเป็นโอกาสสำคัญของ สปป.ลาวในการค้าระหว่างสองประเทศ บริษัท ปิโตรไชน่า ได้ส่งมอบน้ำมันดีเซลกว่า 64 ตัน ให้แก่ บริษัท การค้าน้ำมันปิโตรเลียมแห่งชาติของ สปป.ลาว (NTP) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในระหว่างพิธีจัดขึ้นที่คลังของผู้นำเข้าที่เมือง Boten จังหวัดหลวงน้ำทาบนชายแดน สปป.ลาว – จีน NTP ได้รับมอบหมายให้จัดส่งน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 5 เพื่อวัตถุประสงค์โครงการ Belt and Road Initiatives (BRI) ซึ่งเป็นสัญญาณของความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลของ สปป.ลาวกับจีน

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_receives_259.php

หัตถกรรม สปป.ลาว จากครัวเรือนสู่ตลาดต่างประเทศ

สมาคมผู้ประกอบการหัตถกรรมสปป.ลาว ชี้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือได้รับการพัฒนาและค่อยๆ เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ จุดเด่นคือภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้คือการทอผ้า ผู้หญิงสปป.ลาวทุกคนรู้วิธีการทอ คุ้นเคยกับกระบวนการผลิตสิ่งทอทั้งผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายหรือเพื่อใช้เอง สมาคมได้ริเริ่มกิจกรรมเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพงานหัตถกรรมท้องถิ่น ผู้ผลิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับความต้องการของตลาด เช่น ขนาด มาตรฐานของเส้นใยธรรมชาติ ช่างฝีมือยังได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น การส่งออกสินค้าหัตถกรรมเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ตลาดสำคัญคือ จากญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกาและภูมิภาคใกล้เคียง

ที่มา: https://borneobulletin.com.bn/lao-handicrafts-from-household-basics-to-international-markets/

‘ธนาคารโลก’ จัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจปี 61 ไทยอยู่อันดับ 27 จาก 190 ประเทศ ทั่วโลก

จากรายงานของธนาคารโลก พบว่า การจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ในปี 2561 ไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 30 อันดับแรกของโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 27 จาก 190 ประเทศทั่วโลก ปัจจัยที่สำคัญ คือ 1.ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนลดลง 2.ด้านการขอใช้ไฟฟ้า ลดขั้นตอนการดำเนินการขอและโปร่งใส 3.ด้านการชำระภาษีปรับปรุงระบบการคำนวณ และยื่นแบบภาษีรายได้นิติบุคคลทางระบบออนไลน์ และ 4.ด้านการค้าระหว่างประเทศ มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-แมทช์ชิ่ง ซิสเต็ม) มาใช้ในการควบคุมตู้สินค้า

สิงคโปร์ – กัมพูชา จับมือร่วมทุนโปรเจค Mixed-use ใน Tuol Kork

บริษัท HLH Development Pte ในเครือของ Hong Lai Huat Group Limited บริษัทอสังหาฯรายใหญ่จากสิงคโปร์ ได้ลงนามกับกลุ่มบริษัท รอยัลกรุ๊ปของกัมพูชา เพื่อลงทุนอสังหาริมทรัพย์ แบบโครงการมิกซ์ยูส (Mixed-use) ในเขต Tuol Kork ที่ถือเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของพนมเปญ มีพื้นที่ทั้งหมด 80,000 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยห้างค้าปลีก สวนสาธารณะ เป้าหมายเป็นประชากรในพื้นที่และการกำหนดราคาที่เหมาะสมบวกกับการตกแต่งที่ได้มาตรฐาน โดยทาง HLH Group ให้เหตุผลการร่วมทุนว่า รอยัลกรุ๊ป มีประสบการณ์ในกัมพูชาซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจตามความต้องการของคนกัมพูชาได้

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50546611/singapore-cambodia-jv-to-raise-mixed-use-project-in-tuol-kork