การรถไฟเมียนมาเตรียมเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษสำหรับเทศกาลยี่เป็ง บนเส้นทางเนปิดอว์ มะละแหม่ง และแปร

U Kyaw Myo Lwin ผู้ช่วยผู้จัดการการรถไฟเมียนมา Division-7 (เขตย่างกุ้ง) กล่าวว่า การรถไฟเมียนมา (MR) จะดำเนินการให้บริการเส้นทาง เส้นทางเนปิดอว์ มะละแหม่ง และแปร ในช่วงวันหยุดงานเทศกาลลอยโคมยี่เป็ง และเทศกาลตะดิ่งจุ๊ต (Thadingyut Festival) หรือที่ชาวเมียนมามักจะเรียกว่า เทศกาลแห่งแสง โดยรถไฟขบวนพิเศษจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24-27 พฤศจิกายน และจะขยายการให้บริการหากจำนวนผู้โดยสารสูง ซึ่งจะมีรถไฟขบวนพิเศษเนปิดอว์-ย่างกุ้ง, ย่างกุ้ง-มะละแหม่ง, มะละแหม่ง-ย่างกุ้ง, ย่างกุ้ง-เมืองแปร และรถไฟพิเศษเมืองแปร-ย่างกุ้งอย่างไรก็ดี การรถไฟเมียนมายังจัดให้มีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า และจะขยายบริการหากจำเป็น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mr-to-launch-special-trains-for-tazaungdine-on-nay-pyi-taw-mawlamyine-pyay-routes/

รัฐบาลของรัฐยะไข่จัดสรรเงิน 3.5 พันล้านจ๊าดเพื่อการฟื้นฟูเมืองซิตตเว

รัฐบาลรัฐยะไข่กำลังจัดสรรงบประมาณ 3,500 ล้านจ๊าดสำหรับการพัฒนาเมืองซิตตเวใหม่ เนื่องจากเมืองซิตตเว ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของรัฐยะไข่ จุดสนใจหลักคือการเสริมสร้างความสวยงามของเมือง โดยผ่านโครงการ 90 วัน ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน และงานทั้งหมดมีกำหนดจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนมกราคมปีหน้า ทั้งนี้ ยังคงมีการดำเนินงานต่างๆอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งถนนสายรอง การขุดท่อระบายน้ำ การดำเนินการเก็บขยะทั่วเมือง และการติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกายในสวนสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และการปรับปรุงถนน Shukhintha และถนนที่ทอดไปสู่ชายหาด แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินโครงการ 90 วันและงานที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมการพัฒนารัฐยะไข่จะยังคงดูแลการเตรียมการและการบำรุงรักษาต่อไป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rakhine-state-government-allocates-k3-5-billion-for-revitalization-of-sittway-township/#article-title

ผู้ว่าการ NBC รายงานการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2 ทศวรรษ

Chea Serey ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวถึงการเติบโตของการใช้สกุลเงินท้องถิ่น อย่างสกุลเงินเรียลเติบโตเป็นอย่างมาก สำหรับในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยวัตถุประสงค์ในการลดค่าของเงินดอลลาร์ (de-dollarize) เพื่อให้สกุลเงินท้องถิ่นกลับมามีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางการพยายามที่จะปรับสมดุลการใช้สกุลเงินดอลลาร์ ให้เป็นตามกลไกตลาดด้วยการดำเนินมาตรการนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมการใช้เงินสกุลเรียลมานับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 ซึ่งปัจจุบันปริมาณเงินเรียลที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเพิ่มขึ้นจาก 0.85 ล้านล้านเรียล (ประมาณ 211 ล้านดอลลาร์) เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็น 14.5 ล้านล้านเรียล (ประมาณ 3.51 พันล้านดอลลาร์) ในปัจจุบัน สะท้อนไปยังการเพิ่มขึ้นทางด้านเสถียรภาพของสกุลเงินท้องถิ่นกัมพูชาได้เป็นอย่างดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501390501/nbc-governor-says-cambodia-has-seen-big-increase-in-local-currency-usage-in-past-2-decades/

การค้า “กัมพูชา-จีน” ยังคงแข็งแกร่ง แม้อุปสงค์ทั่วโลกอ่อนตัว

การค้าระหว่าง กัมพูชา-จีน ยังคงแข็งแกร่ง ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนตัวลง เป็นผลมาจากการมีข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) สำหรับมูลค่าการค้าสินค้าระหว่างกัมพูชาและจีนในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตของกัมพูชา (GDCE) โดยสินค้าศักยภาพของกัมพูชาที่ได้ทำการส่งออกไปยังจีน ได้แก่ ข้าวสาร กล้วย มะม่วง ลำไย และพริกไทย เป็นสำคัญ ขณะเดียวกันปริมาณการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของกัมพูชาในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ที่ 3.87 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3.1 จากมูลค่า 3.99 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501390478/cambodia-china-trade-stays-robust-amid-weakening-global-demand/

เงินบาทอ่อนค่าแรงทะลุระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์อีกครั้ง หลังตลาดกังวลเสถียรภาพการคลังของไทยจากมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต

ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันนี้ (13 พฤศจิกายน) ที่ระดับ 36.10 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงหนักจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ กดดันโดยจังหวะการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลวธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะปรับฐาน หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงหนัก นอกจากนี้ เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากความกังวลเสถียรภาพการคลังของไทย ซึ่งได้สะท้อนผ่านแรงขายหุ้นและบอนด์ โดยนักลงทุนต่างชาติในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้าน พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ย Fed และความกังวลเสถียรภาพการคลังของไทย ทำให้ในสัปดาห์นี้ยังต้องระวังความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน พร้อมติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลักและลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ขณะเดียวกัน ตลาดการเงินไทยอาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต โดยหากพิจารณาจากแรงขายหุ้นและบอนด์ รวมถึงการอ่อนค่าลงของเงินบาทล่าสุด อาจประเมินได้ว่าผู้เล่นในตลาดต่างกังวลต่อความเสี่ยงเสถียรภาพการคลังของไทยมากขึ้น

ที่มา : https://thestandard.co/baht-depreciate-36-baht-per-usd/