อึคอมเมิร์ซเวียดนาม โต 18% ในปี 63

จากข้อมูลของกรมการค้าออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศของเวียดนาม เปิดเผยว่าเมื่อปีที่แล้ว การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกลำบาก รวมถึงกิจกรรมของการผลิตและธุรกิจเกิดหยุดชะงักลง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอึคอมเมิร์ซเวียดนาม สูงถึง 18% ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 11.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุดังกล่าวมาจากเวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเติบโตของอีคอมเมิร์ซเป็นตัวเลข 2 หลัก ทั้งนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Temasek และ Bain & Company คาดการณ์ว่าจะเติบโต 29% ในช่วงปี 2563-2568 โดยขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนามอาจสูงกว่า 52 พันล้านเหรียญสหรัฐ และติดอันดับที่ 3 ในภูมิภาคอาเซียนในปี 2568

  ที่มา : https://sggpnews.org.vn/business/ecommerce-growth-of-vietnam-achieves-18-percent-in-2020-90400.html

เวียดนามเผยความต้องการนำเข้าอาหารทะเลที่หรูหราพุ่งสูงขึ้น

เวียดนามนำเข้าอาหารทะเลที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น อาทิ ปูยักษ์ และกุ้งล็อบสเตอร์ เป็นต้น เนื่องมาจากราคาที่ปรับตัวลดลงและคาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองตรุษญวณ (Tết) ทางรองกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่าในปีที่แล้ว การส่งออกอาหารทะเลจากอลาสก้าเพิ่มขึ้น 125% คิดเป็นมูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารทะเลของสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 6 ของโลก ด้วยมูลค่าการนำเข้า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของสถาบันการตลาดอาหารทะเลอลาสก้าในเวียดนาม ระบุว่าความต้องการอาหารทะเลในเวียดนามพุ่งสูงขึ้น และโรงงานแปรรูปหลายแห่งกำลังย้ายออกจากจีนไปยังเวียดนาม สาเหตุมาจากเรื่องภาษีศุลกากร นอกจากนี้ ในช่วงเทศกลาลตรุษญวณ มีความต้องการปูอลาสก้ามากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากทำอาหารได้ง่ายและเหมาะสำหรับโอกาสพิเศษ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/860872/demand-for-imported-luxury-seafood-rises.html

ส่งออกข้าวไทยยังซึม ปีนี้ตั้งเป้าแค่6ล้านตัน

พาณิชย์ มักน้อย ตั้งเป้าส่งออกข้าวปีนี้ แค่ 6 ล้านตัน หลังเจอสารพัด มรสุม ทั้งข้าวไทยราคาแพงกว่าคู่แข่ง ค่าบาทแข็ง พิษโควิด นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวไทยในปี 64 ปริมาณ 6 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณใกล้เคียงกับการส่งออกในปี 63 ที่ส่งออกได้ทั้งปี 5.72 ล้านตัน โดยปัจจัยหลักที่กระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในปี 64 ได้แก่ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งสำคัญ เช่น อินเดีย และ เวียดนาม ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นระยะ ปัญหาตู้คอนเทเนอร์ที่ยังคงมีไม่เพียงพอใช้ส่งออก ประกอบกับผู้นำเข้าหลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้กำลังซื้อลดลง ดังนั้น การกำหนดเป้าส่งออกข้าวไทยที่ปริมาณ 6 ล้านตัน ถือว่าเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศ สำหรับแผนการตลาดส่งเสริมการส่งออกข้าวไทยในต่างประเทศในปี 64 จะเน้นประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการรักษากลุ่มลูกค้าเดิมและการแสวงหากลุ่มลูกค้าใหม่ให้ครอบคลุมตลาดข้าว โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การหารือกระชับความสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิรัก บังกลาเทศ เป็นต้น รวมทั้งหารือประเทศผู้ส่งออกข้าว เช่น เวียดนาม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การผลิตและตลาดข้าว การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ข้าวไทยเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ และจัดกิจกรรมต่อยอดข้าวหอมมะลิไทยที่ได้เเชมป์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกปี 63 เป็นต้น สำหรับการส่งออกข้าวปี 63 มีปริมาณรวมทั้งปี 5.72 ล้านตัน มูลค่า 1.16 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 62 ที่มีปริมาณ 7.58 ล้านตัน มูลค่า 1.31 แสนล้านบาท โดยมีปริมาณการส่งออกลดลง 24.54% และมูลค่าลดลง 11.23%

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/821272

NBC กล่าวถึงภาพรวมทางการเงินกัมพูชา ในรายงานประจำปี 2020

ทุนสำรองระหว่างประเทศของกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 21.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพียงพอที่จะรับประกันการนำเข้าสินค้าและบริการในอีก 10 เดือนข้างหน้า เกินกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้ที่  3 เดือนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ตามรายงานประจำปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยยังเพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพภาคการเงินภายในประเทศ ซึ่งรายงานระบุว่าพอร์ตสินเชื่อรวมของภาคธนาคารในปี 2020 อยู่ที่ 30.2 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากปี 2019 การแบ่งประเภทสินเชื่อตามภาคนำโดยการค้าปลีกที่ร้อยละ 15.5 การจำนองส่วนบุคคลที่ร้อยละ 12.8 การขายส่งที่ร้อยละ 9.7 สินเชื่อส่วนบุคคลที่ร้อยละ 9.8 การก่อสร้างที่ร้อยละ 9.2 อสังหาริมทรัพย์ที่ร้อยละ 8.4 เกษตรกรรมที่ร้อยละ 7.7 และอื่น ๆ คิดเป็น ส่วนที่เหลือร้อยละ 26.9 เงินฝากธนาคารมีมูลค่ารวม 30 พันล้านดอลลาร์จาก 6.3 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน การปรับโครงสร้างเงินกู้ในภาคธนาคารสำหรับปี 2020 มีมูลค่ารวม 3.017 พันล้านดอลลาร์ โดยมีการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 43,291 บัญชี NPL ในปี 2020 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 สำหรับภาคธนาคาร และร้อยละ 1.8 สำหรับ MFI รวมถึง NBC ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.9

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50806041/nbc-annual-report-details-nations-2020-financial-picture/