เวียดนามเป็นแหล่งลงทุนอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น

ธุรกิจในเวียดนามจำนวนมากได้รับคำแนะนำให้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อคว้าโอกาสในการรับกระแสการลงทุนจากญี่ปุ่น โดยเฉพาะธุรกิจญี่ปุ่นกว่า 2,000 ราย เข้ามาลงทุนในเวียดนามช่วงสิ้นปี 2562 รองลงมากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 59.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 15.6 ของเงินทุนรวม โดยข้อมูลข้างต้น เกิดหลังจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เปิดเผยรายชื่อบริษัท 15 รายที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทยและสปป.ลาว ทั้งนี้ ตามการสำรวจของเจโทร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่าธุรกิจญี่ปุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ดำเนินกิจการในเวียดนาม สิ่งนี้เป็นโอกาสอันดีแก่ธุรกิจในท้องถิ่น เพื่อยกระดับความร่วมมือและเชื่อมต่อกับธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนและสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่มา : https://vietreader.com/business/finance/24421-vietnam-regarded-as-top-investment-destination-for-japan-businesses.html\

จีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่ามูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังจีน อยู่ที่ประมาณ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม ส่งผลให้ยอดมูลค่ารวมนับตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน ราว 38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จีนเป็นตลาดสำคัญของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดในปีนี้ อยู่ที่ 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่ามีสัญญาเชิงบวกหลายด้าน แต่ความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศของเวียดนามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) จึงอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังจีน ไม่ว่าจะเป็นปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ ปฏิรูปสถาบันและลดขั้นตอนการจัดการ เป็นต้น เพื่อช่วยลดต้นทุนธุรกิจ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ได้ไปเปิดสำนักงานส่งเสริมการค้าในเมืองหางโจวและเจ้อเจียง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการทำธุรกิจในจีนและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

ที่มา : https://vnexplorer.net/china-retains-vietnams-largest-trade-partner-a2020128284.html

ระบบขนส่งแบบใหม่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งสินค้าของเมียนมา

การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นด้วยการใช้ระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในภูมิภาค ขณะนี้มีการร่างข้อตกลงเกี่ยวกับระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไทยและฟิลิปปินส์ได้กำหนดกฎหมายส่วนเมียนมาเสร็จสิ้นขั้นตอนการร่างเรียบร้อยแล้ว การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีการผสมผสานระหว่างรูปแบบการเคลื่อนย้ายสินค้าที่แตกต่างกันอย่างน้อยสองรูปแบบภายใต้ใบส่งเพียงใบเดียวซึ่งหมายความว่าผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่สำหรับการขนส่งทั้งหมดแม้ว่าจะดำเนินการในรูปแบบการขนส่งที่แตกต่างกัน เช่น ทางอากาศ ทางรถไฟ ถนนหรือทางทะเล หากนำระบบนี้ไปใช้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจโลจิสติกส์ขนาดใหญ่และคาดว่าจะอำนวยความสะดวกในการค้าข้ามแดนในอาเซียน นอกจากนี้ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะไม่มีการเรียกเก็บภาษีสำหรับสินค้าซึ่งจะอนุญาตให้ผ่านโดยไม่มีข้อจำกัด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-regional-transport-system-benefit-myanmars-freight-forwarders.html

สปป.ลาวกำลังให้ความสำคัญกับการขายไฟฟ้าให้กัมพูชามากขึ้น

แขวงจำปาสักในสปป.ลาวอาจขยายการผลิตการไฟฟ้าให้กัมพูชาได้มากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในการพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ชายแดน Mr. Bounleud Keophasouk เจ้าหน้าที่สถานีย่อยหาดในเขตโขงกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่าน “ปริมาณไฟฟ้าที่ขายให้กัมพูชาอาจเพิ่มขึ้นในอนาคตเนื่องจากสายส่งที่มีอยู่มีความสามารถในการบรรจุพลังงานได้มากขึ้น แต่ผมไม่สามารถพูดได้ว่าในเวลานี้จะมีมากน้อยเพียงใด” ผู้ลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังน้ำมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐคือ บริษัท Mega First Corporation Berhad ซึ่งเป็น บริษัท สัญชาติมาเลเซียซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 80 ในขณะที่ EDL-Gen (Electricite du Laos Generation Public Company) ที่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจถือหุ้นร้อยละ 20 การร่วมมือของบริษัทแนวหน้าจะทำให้การผลิตไฟฟ้าของสปป.ลาวมีกำลังมาขึ้นและเป็นส่วนช่วยที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปัจจุบันอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำของสปป.ลาวกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปี 2548 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพียง 9 แห่งทั่วประเทศมีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 680 เมกะวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ 3,237 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ปัจจุบันเขื่อน 78 แห่งเปิดให้บริการโดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 9,972 เมกะวัตต์ซึ่งสามารถผลิตได้ 52,211 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos231.php

ตลาดประกันฯในกัมพูชายังคงเติบโตท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

เบี้ยประกันภัยรวมในกัมพูชาอยู่ที่ 201.7 ล้านดอลลาร์ ณ ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 โดยการเติบโตดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดประกันภัยทั่วไปขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 18.2 ซึ่งตลาดประกันชีวิตเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.8 โดยตลาดประกันภัยทั่วไปยังคงเติบโตอย่างมีนัยสำคัญโดยมีเบี้ยประกันภัยรับประมาณ 87.9 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 74.4 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่สามของปี 2019 ซึ่งตลาดประกันชีวิตเติบโตขึ้นเล็กน้อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 109.8 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 106.8 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน แต่ตลาดประกันภัยขนาดเล็กถูกมองว่าได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤต COVID-19 จากรายงานระบุว่าเบี้ยประกันภัยขนาดเล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีลดลงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785948/insurance-market-continues-to-grow-amidst-covid-19/

กัมพูชาวางแผนจัดตั้งสภาธุรกิจในประเทศไทย

กัมพูชาวางแผนจัดตั้งสำนักงาน “Cambodia Business Council – CBC” ในประเทศไทย ณ กรุงเทพฯ เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและกิจกรรมทางธุรกิจระหว่างสองประเทศ ตามที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุงเทพฯระบุว่าสถานประกอบการดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานครบวงจรสำหรับธุรกิจและการค้าระหว่างกัมพูชาและไทย โดยเห็นได้ชัดเจนว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับแรงจูงใจจากคำมั่นสัญญาล่าสุดของนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศที่จะเพิ่มการค้าทวิภาคีเป็น 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปีนี้ ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 5.569 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการลดลงของการค้าระหว่างทั้งสองประเทศส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785960/cambodia-business-council-to-be-established-in-bangkok/

“อาเซียน” หนุนเปิดประเทศ ฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers Meeting : ATM) ครั้งที่ 26 ว่ามีประเด็นสำคัญด้านต่างๆ ดังนี้คือ 1.การขนส่งในการฟื้นฟูภูมิภาคอาเซียนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2.รับรองงานสำคัญเร่งด่วน-ผลลัพธ์ที่อาเซียนจะต้องร่วมดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 64 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งกัวลาลัมเปอร์ ปี 59-68 และ 3.การขนส่งรายสาขา ทั้งทางอากาศ ทางบก ทางทะเล และการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง ซึ่งที่ประชุมยังยินดีต่อความสำเร็จและให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์-งานสำคัญประจำปี 63 ด้านการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การขนส่งกัวลาลัมเปอร์ (KLTSP) ปี 59-68 ระยะกลางพิธีสาร 2 สถาบัน ฝึกอบรมด้านการบินตามความตกลงยอมรับร่วมใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน แผนแม่บทเดินอากาศอาเซียน แนวปฏิบัติในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แนวปฏิบัติการยกระดับขั้นตอนมาตรฐานรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนตามมาตรฐานสหประชาชาติ ปฏิญญาบรูไนว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนของอาเซียน ค.ศ.2020 การเปิดตัววีดิทัศน์ความปลอดภัยทางถนนของอาเซียน และแผนที่โครงข่ายด้านการขนส่งทางบกอาเซียน จนถึงเตรียมจัดประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียนกับคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งจะมีขึ้นในลำดับถัดไปเป็นต้น

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1983029