“เวียดนาม” ปรับโซลูชั่นที่หลากหลาย ฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวของเวียดนาม เปิดเผยว่าจำเป็นต้องทำการสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวรายใหญ่ เพื่อเชื่อมโยงส่วนท้องถิ่นและเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงให้เข้าสู่ทรัพย์มรดกทางดิจิทัลด้วยการมีส่วนร่วมของธุรกิจท่องเที่ยว คิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การส่งเสริมข้างต้นนั้นเป็นหนึ่งในข้อกำหนดของหม่ิตภัิตภับสนุนอองธุรกิจการการนายหวู ดึ๊ก ดาม  รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามที่ต้องการขจัดอุปสรรคของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกำลังประสบปัญหาจากค่าบริการที่สูง การให้บริการยังไม่เป็นมืออาชีพและขาดแคลนบุคลากร ประกอบกับนโยบายสำหรับการขอวีซ่าและระยะเวลาอาศัยในเวียดนามยังไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ด้วยเหตุนี้ ควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมทรัพยากรบุคคลเป็นอันดับแรก

ที่มา : https://hanoitimes.vn/vietnam-deploys-diverse-solutions-to-revive-tourism-industry-321553.html

การค้าระหว่าง กัมพูชา-สหรัฐฯ แต่เกือบ 6 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ พุ่งแตะมูลค่า 5.892 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิตของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ มูลค่า 5.695 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐฯ มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 196 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ สิ่งทอ รองเท้า สินค้าท่องเที่ยว และสินค้าเกษตร ในขณะที่สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อาหารสัตว์ และเครื่องจักร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501134336/almost-6-billion-cambodia-us-trade-registered-in-first-seven-months/

รัฐบาลกัมพูชาเรียกร้อง CP ALL ขยายการลงทุนภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชาเรียกร้องให้ บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ขยายการลงทุนมายังกัมพูชา โดยเฉพาะโรงงานกระดาษและโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพราะเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในตลาดกัมพูชา ซึ่งปัจจุบัน ซีพี ออลล์ ได้เปิดดำเนินการร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven หลายสาขาในกรุงพนมเปญเมืองหลวงของกัมพูชา สะท้อนถึงเป้าหมายของ ซีพี ออลล์ ในการขยายกิจการเข้าสู่ตลาดอาเซียนที่กำลังเติบโต พร้อมตอกย้ำจุดแข็งในการส่งเสริมการค้าและบริการระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยปัจจุบันการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยแตะที่มูลค่า 1.174 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501133961/govt-asks-cp-all-plc-to-invest-in-kingdom/

บ.ญี่ปุ่น เข้าซื้อหุ้น 35.1% ในบ.พลังงานเวียดนาม

สำนักข่าวนิกเคอิ (Nikkei) เปิดเผยว่าบริษัทผลิตไฟฟ้าของญี่ปุ่น JERA Co., Inc ลงนามในข้อตกลงที่จะซื้อหุ้น 35.1% ของบริษัทเวียดนาม Gia Lai Electric Joint Stock Company (GEC) ด้วยการตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการลดการปล่อยคาร์บอน ทั้งนี้ บริษัทญี่ปุ่น JERA ถือเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Tokyo Electric Power และ Chubu Electric Power ที่จะเข้ามาลงทุน 15 พันล้านเยน (112 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในบริษัทพลังงานหมุนเวียนของเวียดนาม โดยการซื้อหุ้นในครั้งนี้ ทางบริษัท JERA ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน 5,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2568

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-firm-buys-351-stake-at-vietnams-power-company/235754.vnp

Nikkei เผยซัพพลายเออร์ของ “Apple” จ่อผลิต Apple Watch และ MacBook ในเวียดนาม

สำนักข่าวนิกเคอิ (Nikkei) เปิดเผยว่าซัพพลายเออร์ของบริษัทแอปเปิล (Apple) กำลังเจรจาเพื่อผลิตแอปเปิล วอตช์ (Apple Watch) และแมคบุ๊ก (MacBooks) ในเวียดนามเป็นครั้งแรก โดยบริษัทลักซ์แชร์ พรีซิชัน อินดัสทรีย์ และฟ็อกซ์คอนน์ ซัพพลายเออร์ของแอปเปิล ได้เริ่มทดสอบการผลิตแอปเปิล วอตช์ และแมคบุ๊กในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนามแล้ว ทั้งนี้ แอปเปิลได้ย้ายฐานการผลิตไอโฟนบางส่วนออกจากประเทศจีนไปยังตลาดอื่นๆ รวมถึงอินเดีย ซึ่งเริ่มผลิตไอโฟน 13 (iPhone 13) ในปีนี้ พร้อมทั้งกำลังวางแผนประกอบแท็บเล็ตไอแพดอีกด้วยด้วย

ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/business/apple-suppliers-make-apple-watch-and-macbook-vietnam-nikkei-2885386

ราคาถั่วลูกไก่ – มันฝรั่งในเมียนมา ทุบสถิติ พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี

ผู้ค้าที่ส่งสินค้าในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เผย ราคาของถั่วลูกไก่ (Chickpea) และมันฝรั่งในตลาดย่างกุ้งเมื่อวันที่ 17 ส.ค.2565 พุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 4,000-4,200 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) และมันฝรั่งอยู่ที่ 1,400-2,400 จัตต่อ viss ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2564 ราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 2,600-2,700 จัตต่อ viss ส่วนมันฝรั่งจะอยู่ที่ 350-1,100 จัตต่อ viss และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563  ราคาถั่วลูกไก่อยู่ที่ 1,700-1,750 จัตต่อ viss ส่วนมันฝรั่งจะอยู่ที่ 400-650 จัตต่อ viss โดยในประเทศการบริโภคถั่วลูกไก่และมันฝรั่งถือว่าในระดับสูงเพราะเป็นส่วนผสมอาหารหลักของชาวเมียนมา ทั้งนี้จากสังเกตการณ์ของผู้ค้าส่ง พบว่า ผลดีจะไปตกกับเกษตรกรผู้ลูก แต่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-grade-shwebo-pawsan-rice-prices-up-by-k24000-per-bag-within-six-weeks/#article-title

รัฐบาล สปป.ลาว มุ่งพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ

รัฐบาล สปป.ลาว ให้คำมั่นที่จะพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญของแหล่งพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์, ลม และระบบชีวมวล ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บท ในการสร้างความมั่นคงด้านทางด้านพลังงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงฤดูแล้งของ สปป.ลาว และเพื่อลดการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศในอนาคต โดยปัจจุบันกว่าร้อยละ 81 ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศมากจากแหล่งไฟฟ้าที่ผลิตด้วยระบบพลังงานน้ำ รองลงมาคือโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ร้อยละ 17 ในขณะเดียวกัน แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล เป็นเพียงร้อยละ 2 ของพลังงานที่ใช้ในประเทศ ตามรายงานล่าสุดจากกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว ซึ่งรัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนข้างต้นเป็นร้อยละ 11 ตามกรอบแผน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2021-2025 โดยปัจจุบันมีโรงงานผลิตพลังงาน 90 แห่งทั่วประเทศ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมเกือบ 11,000 เมกะวัตต์ ซึ่งแบ่งออกเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 77 แห่ง, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 แห่ง, โรงไฟฟ้าชีวมวล 4 แห่ง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 แห่ง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten158_Govtto.php

GDT กัมพูชา จัดเก็บภาษีโต 28.62% ในช่วง 7 เดือน

กรมภาษีอากรกัมพูชา (GDT) รายงานถึงสถานการณ์การจัดเก็บภาษีในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 2.21 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 78.39 ของเป้าหมายการจัดเก็บภาษีประจำปี ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.62 หรือมีมูลค่ารวมประมาณ 491.29 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภายใต้ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงในบริบทของเศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาด โดย GDT สามารถรวบรวมภาษีทุกประเภทเฉพาะในเดือนกรกฎาคมเพียงเดือนเดียวมูลค่ากว่า 240 ล้านดอลลาร์ ผ่านระบบการจัดการข้อมูลรายได้ออนไลน์ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของเป้าหมายในการจัดเก็บภาษีประจำปีที่ได้มีการกำหนดกรอบการจัดเก็บไว้ที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501133080/despite-risks-gdt-collection-grows-28-62-in-7-months/

กัมพูชาคาดปีนี้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว 1.3 ล้านคน

คาดภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 6.6 ล้านคน ซึ่งในปีนี้กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชามีความคาดหวังเป็นอย่างมากที่จะให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ถึง 1.3 ล้านคน ตามข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยว โดยในปัจจุบันกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติไปแล้ว 500,000 คน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี ซึ่งรัฐบาลกัมพูชามีความพยายามเป็นอย่างมากในการส่งเสริมการฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ ด้วยการเพิ่มสิ่งจูงใจต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยว โดยล่าสุดรัฐบาลได้เปิดตัวโครงการ “Tourism Recovery Co-Financing Scheme” สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคการท่องเที่ยวให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจวงเงินสูงสุด 400,000 ดอลลาร์ ด้วยวงเงินสินเชื่อรวม 150 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501133269/cambodia-expects-to-receive-1-3-million-tourists-this-year/

“อีอีซี” ทุ่มงบ 1.8 ล้านล้าน หนุนอุตสาหกรรมยุคใหม่

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือนายคณิศ แสงสุพรรณ ออกมาเปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 ในวันจันทร์ที่ 15 ส.ค.2565 ที่ผ่านมา โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่าที่ประชุมได้มีการรับทราบ ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของอีอีซี ในช่วง 4 ปีแรก (2561–2565) โดยเกิดความสำเร็จและการเกิดการเติบโตที่ดีครบทุกมิติ ผลประโยชน์ตรงถึงประชาชน แบ่งได้ดังนี้ 1.เกิดการอนุมัติงบลงทุนสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท เกินเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาท ใน 5 ปีที่เป็นแผนแรกของอีอีซี 2.สามารถดึงเทคโนโลยีใหม่ผ่านการลงทุน โดยใน 4 ปีที่ผ่านมา การอนุมัติการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 S-curve มีสัดส่วน 70% ของการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด และ 5 New S-Curve มีสัดส่วนการลงทุน 36% และเพิ่มขึ้นเป็น 49% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ 3.สร้างระบบการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของตลาด (Demand Driven) แก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานกับนวัตกรรมใหม่ อบรมไปได้แล้ว 16,114 คน สิ้นปี 66 จะดำเนินการได้ 100,000 คน และ 4.ผลประโยชน์ตกถึงประชาชน และมีระบบดูแลอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/wealth/122232/