สปป.ลาว แสดงวิสัยทัศน์บนเวทีสหประชาชาติในฐานะประธานอาเซียน

เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวร สปป.ลาว ในฐานะประธานอาเซียนประจำสหประชาชาติ ได้กล่าวในที่ประชุมสหประชาชาติ โดยเน้นย้ำให้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในการจัดการกับความท้าทายระดับโลก ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และส่งเสริมการเจรจาระหว่างประเทศ ในฐานะภูมิภาคอาเซียนยึดมั่นในหลักการพหุภาคี อาเซียนเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประชุมสมัชชาใหญ่ที่ได้รับการฟื้นฟู ซึ่งสะท้อนถึงภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป และรับประกันว่าเสียงของทุกชาติจะถูกรับฟัง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_38_Asean_y24.php

ความต้องการกาแฟที่ปลูกในท้องถิ่นของเมียนมาเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ตามการระบุของ ผู้ปลูกกาแฟ ระบุว่าทั้งอุปสงค์และอุปทานของกาแฟทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลาดพืชผลเพิ่มขึ้น ซึ่งในพม่ามีการปลูกกาแฟอาราบิก้าเป็นหลัก ซึ่งกาแฟเมียนมาได้รับความนิยมทั้งในตลาดท้องถิ่นและต่างประเทศตั้งแต่ปี 2562 ตามข้อมูลของผู้ปลูกและผู้ผลิตกาแฟ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออก ความต้องการจากเวียดนามอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจากการวิจัย พบว่าความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไร่กาแฟได้รับการสนับสนุนระดับรัฐ ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาคกาแฟมีการพัฒนาค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ในเมียนมามีกาแฟหลายประเภทที่ผลิตจาก Ywangan และ Myeik ซึ่งราคากาแฟอาราบิก้าอยู่ที่ 28,000 จ๊าดต่อกิโลกรัม และกาแฟอาราบิก้าได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-locally-grown-coffee-demand-rises-in-both-local-and-foreign-markets/

ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าคงที่และยอดขายรถยนต์ใช้น้ำมันในตลาดรถยนต์ชะลอตัว

U Min Min Maung ประธานสมาคมผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เขตย่างกุ้ง ระบุว่า ในตลาดรถยนต์ของเมียนมา รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ขายได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยอดขายรถใช้น้ำมันยังซบเซา ทั้งนี้เนื่องจากมีการออกใบอนุญาตเพิ่มเติมให้กับบริษัทต่างๆ ที่ขายรถยนต์ไฟฟ้า โดยตลาดรถยนต์ที่ซบเซาในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 กลับมามีความเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วงปลายปี 2566 และกลับมาชะลอตัวอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2567 อย่างไรก็ตาม ราคารถยนต์ที่นำเข้ามาประกอบในประเทศ ที่เป็นรถยนต์แบบพวงมาลัยซ้ายมูลค่าอยู่ที่ 100 ล้านจ๊าด มีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในขณะที่รถยนต์แบบพวงมาลับซ้ายมูลค่า 100-200 ล้านจ๊าด ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในขณะที่ราคารถยนต์ 400–500 ล้านจ๊าด ราคายังคงไม่เปลี่ยนแปลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/steady-sales-of-electric-cars-and-slowing-sales-of-petrol-cars-in-automobile-market/

‘เศรษฐา’สั่งเพิ่มความคุ้มครอง-เยียวยานักท่องเที่ยวต่างชาติ สร้างเชื่อมั่น‘เมืองไทยปลอดภัย’

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งการให้ความสำคัญ นอกจากสนับสนุนการดึงดูดนักท่องเที่ยว ต้องเพิ่มการกำกับดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และเร่งยกระดับมาตรฐานการบริการจัดการ “เมืองไทยปลอดภัย” ผ่านโครงการ “ช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่บาดเจ็บและเสียชีวิต” มุ่งสร้างภาพลักษณ์ไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและปลอดภัยในสายตานักท่องเที่ยว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่อยอดการพัฒนาศักยภาพ และโอกาสอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้สร้างระบบ Thailand Traveller Safety (TTS) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติในการลงทะเบียนออนไลน์ก่อนการเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อคัดกรองนักท่องเที่ยวที่มีสิทธิขอรับการช่วยเหลือเยียวยาในเบื้องต้น โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบสิทธิได้ ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิขอรับการช่วยเหลือเยียวยาจะครอบคลุมเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว และประสบเหตุที่ไม่ได้เกิดจากความประมาท เจตนากระทำผิดกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เสี่ยงให้เกิดเหตุ

ที่มา : https://www.naewna.com/likesara/788696

CGCC ค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการกัมพูชากว่า 2,000 แห่ง มูลค่ากว่า 170 ล้านดอลลาร์

บริษัท ประกันสินเชื่อแห่งกัมพูชา (CGCC) ได้ให้การค้ำประกันสินเชื่อมูลค่ารวมกว่า 170 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนมกราคมปีนี้ โดยค้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการกว่า 1,977 แห่ง เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจ ซึ่งเงินกู้ค้ำประกันคงค้างในปัจจุบันอยู่ที่ 119 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่จำนวนเงินค้ำประกันคงค้างอยู่ที่ 85.8 ล้านดอลลาร์ โดยรายงานระบุว่ามีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSME) กว่า 1,854 ราย และธุรกิจขนาดใหญ่ 154 รายในกัมพูชา สำหรับ CGCC ได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 ด้วยงบประมาณของรัฐ 200 ล้านดอลลาร์ กำหนดให้เป็นสถาบันรับประกันสินเชื่อในกัมพูชา ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการเงิน และพัฒนาการเติบโตของ SMEs เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501443502/cgcc-provides-170m-credit-guarantees-to-nearly-2000-businesses/

รัฐบาลกัมพูชาจัดหาเงินทุน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) จัดการประชุมเพื่อทบทวนกระบวนการแผนแม่บทด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เนื่องจากรัฐบาลกัมพูชา (RGC) ได้จัดหาเงินลงทุนเกือบมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานกว่า 174 โครงการ มุ่งพัฒนาการเชื่อมต่อทั่วราชอาณาจักรกัมพูชา สำหรับดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (LPI) ที่จัดทำโดยธนาคารโลก สะท้อนว่ากัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 98 ในปี 2018 และตกลงมาอยู่ที่ 115 ทำให้ประเทศอยู่ในอันดับทัดเทียมกับ สปป.ลาว ส่งผลทำให้รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ เช่นการพัฒนาทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ (PPSE) และโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงทางด่วน PP-Bavet ทางด่วนพนมเปญ-เสียมราฐ-ปอยเปต และคลองฟูนันเตโช เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501443206/govt-seeks-40b-capital-to-build-infrastructures-by-2033/

‘สื่อต่างประเทศ’ ชี้เวียดนามมั่งคั่งเร็วที่สุดในโลก

เฮนลี่ย์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส (Henley & Partners) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนเพื่อการย้ายถิ่นฐานชั้นนำระดับโลก รายงานว่าเวียดนามอยู่ในตำแหน่งที่ดีจากความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอีก 10 ปีข้างหน้า และเวียดนามยังได้รับการขนามนามว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลก ในขณะที่ Andrew Amoils นักวิเคราะห์ของ New World Wealth กล่าวว่าเวียดนามจะมีความมั่งคั่งเติบโตสูงถึง 125% ในอีก 10 ปีข้างหน้า นับว่าเป็นการขยายตัวทางด้านความมั่งคั่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกทั้งในแง่ของรายได้ต่อหัวและจำนวนเศรษฐี นอกจากนี้ เวียดนามเป็นฐานการผลิตที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นในมุมมองของบริษัทข้ามชาติ ตั้งแต่เทคโนโลยี ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/foreign-media-vietnam-to-see-highest-increase-in-wealth-growth-post1078049.vov

‘เซ็นทรัลพัฒนา’ ผู้นำอสังหาฯ ไทย จัดตั้งบริษัทย่อยในเวียดนาม

‘เซ็นทรัลพัฒนา’ (Central Pattana : CPN) หนึ่งในเครือเซ็นทรัลที่เป็นองค์กรเอกชนชั้นนำในการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายอุตสาหกรรมของประเทศไทย เดินหน้าจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในเวียดนาม เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจจากในตลาดท้องถิ่น ในขณะที่บริษัทย่อย ซีพีเอ็น โกบอล เวียดนาม มีเงินทุนจดทะเบียนราว 20 พันล้านดอง โดยซีพีเอ็น โกบอล เวียดนาม เป็นผู้ถิอหุ้น 100% ดำเนินการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม

ทั้งนี้ จากข้อมูลของเว็บไซต์บริษัท เปิดเผยว่าเซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกชั้นนำในประเทศไทย และมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2538 โดยในปัจจุบัน เซ็นทรัลพัฒนาเป็นเจ้าของและบริหารจัดการห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์เกือบ 40 แห่ง อาคารสำนักงาน 10 แห่ง และโรงแรมอีก 5 แห่งที่มีพื้นที่เช่ารวมเกิน 2.3 ล้านตารางเมตร พร้อมอาคารอพาร์ตเมนต์จำนวน 28 หลัง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/thai-property-developer-central-pattana-sets-up-new-subsidiary-in-vietnam-post1078025.vov