เวียดนามก้าวสู่สังคมไร้เงินสด

เวียดนามกำลังจะเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด เนื่องจากผู้คนหันมาใช้จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) แทนการชำระเงินแบบดั้งเดิม ตามผลการสำรวจจากผู้ให้บริการชำระเงิน “VISA” ในปี 2563 เผยว่าลูกค้าชาวเวียดนาม 47% หันมาใช้การชำระเงินที่ไร้การสัมผัส และ 45% ใช้การชำระเงินออนไลน์ และ 51% มีบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ซึ่งแนวโน้มพฤติกรรมการชำระเงินดังกล่าว คล้ายกับอีกหลายๆประเทศในเอเชียแปซิฟิก นับว่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ VISA ประกาศเร่งโครงการสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้ รวมถึงเวียดนาม ทั้งนี้ นาย Chris Clark ประธานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของ Visa กล่าวว่าจากประสบการณ์ของบริษัทและกลุ่มสตาร์ทอัพหลายแห่ง พบว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งธุรกิจจะเผชิญกับอุปสรรคบางอย่าง เมื่อทำการขยายการดำเนินงานไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังเป็นจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่ของการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยสัดส่วน 36% ที่ลงทุนไปยังระบบการชำระเงินแบบใหม่ในปี 2562

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-moves-towards-cashless-society-315819.html

ราคาอสังหาฯ มัณฑะเลย์คาดหดตัวลงในปี 64

สมาคมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งเมียนมาเผยอสังหาริมทรัพย์ในเขตมัณฑะเลย์คาดลดลง 5% ถึง 25% ในปีงบประมาณ 63-64 ราคามาตรฐานจะอัพเดททุกปี สำหรับราคาของปีนี้ประกาศในเดือนตุลาคม 63 ที่ผ่านมา ขณะนี้เขตอุตสาหกรรมและพื้นที่ใหม่ของมัณฑะเลย์เป็นที่ต้องการอย่างมากเนื่องจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการที่ขายออกเนื่องจากปัญหาทางการเงินที่เกิดจากการระบาดของโควิด -19 ซึ่งผู้ซื้อกำลังมองหาโอกาสนี้ในการลงทุนในยุคหลัง COVID-19 อย่างไรก็ตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ในตัวเมืองชั้นในมีความซบเซาลงด้วยธุรกรรมที่ลดลงไปด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-property-prices-expected-drop-2021.html

สามเดือนเมียนมาขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เผยขาดดุลการค้ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งสูงกว่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 1 มกราคม 64 ในปีงบการเงิน 63-64 ส่งออกสินค้ามูลค่า 3.685 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีที่แล้วและนำเข้ามีมูลค่ากว่า 3.920 พันล้านเหรียญสหรัฐลดลงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงขาดดุล 234.525 ล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วมีการขาดดุลเพียง 89.233 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมียนมากำลังดำเนินการตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติเพื่อส่งเสริมการส่งออก แต่ไม่สามารถลดการนำเข้าสินค้าจำเป็นได้ ในทางปฏิบัติความพยายามในการลดการขาดดุลการค้าต้องเผชิญกับปัญหาบางประการ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-sees-trade-deficit-of-over-230m-in-three-months

อาคมถกนายกฯเตรียมเยียวยาประชาชน ลั่นเงินมีพอไม่ต้องกู้เพิ่ม

อาคม ถกนายกฯ มาตรการเยียวยาโควิด ยันมีแจกแน่ แต่ขอเลือกก่อนว่าแบบ เราไม่ทิ้งกัน หรือ คนละครึ่ง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้เข้าหารือร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ถึงรายละเอียดบรรเทาความเดือดร้อนผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่โดยกระทรวงการคลังจะกลับมาทำการบ้านเพิ่มเติม ขณะนี้รัฐบาลได้มีการเตรียมการเรื่องบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนแล้ว ซึ่งกำลังพิจารณารูปแบบ เช่น การเยียวยาเหมือนเดิม 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน หรือจะใส่เม็ดเงินเหมือนโครงการคนละครึ่งหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่คลังต้องพิจารณา “ข้อเรียกร้องให้แจกเงิน 4,000 บาท ระยะเวลา 2 เดือนเยียวยาประชาชนนั้น เป็นข้อเสนอของเอกชน ไม่ทราบว่าเสนอบนพื้นฐานของอะไร แต่ส่วนของรัฐบาลได้มีการเตรียมการเรื่องบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งในรายละเอียดจะต้องพิจารณาอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้เสนอ ครม.ในวันที่ 12 ม.ค.นี้ ต้องทำการบ้านให้จบก่อน” ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะใช้วงเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท โดยล่าสุด กระทรวงการคลังกู้เงินจากวงเงินดังกล่าวแล้ว 3.7 แสนล้านบาท และเบิกจ่ายเงินแล้ว 3.6 แสนล้านบาท จึงยังมีเพียงพอ ยังไม่จำเป็นต้องขอกู้เงินเพิ่มเติม

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/818373

รัฐบาลกัมพูชาเร่งประชุมทางเทคนิคในการจัดซื้อวัคซีน COVID-19

รัฐบาลกัมพูชาเรียกคณะทำงานประชุมทางเทคนิคครั้งแรกเพื่อหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์และแผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับฉีดให้คนกัมพูชาอย่างรวดเร็ว โดยการประชุมได้พิจารณาถึงพื้นฐานที่เชื่อถือได้และปริมาณสำหรับการซื้อวัคซีน ตลอดจนวิธีการแจกจ่ายสำหรับการใช้งานในกรณีฉุกเฉินและในกรณีทั่วไป ซึ่งพิจารณาจากซัพพลายเออร์ผู้จัดจำหน่ายวัคซีนหลายรายที่อาจได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในอนาคตอันใกล้ โดยมุ่งเน้นที่ผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนชาวกัมพูชา อีกทั้งการประชุมยังได้ศึกษาทางเลือกในการจัดหาเงินทุนที่เป็นไปได้ รวมทั้งจากงบประมาณแผ่นดิน ให้ความช่วยเหลือและเงินกู้สัมปทานจากหุ้นส่วนการพัฒนาทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการระบาดในครั้งนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802014/cambodia-covid-19-containment-policy-first-technical-meeting-to-procure-covid-19-vaccine-convened/

รัฐบาลกัมพูชาจัดหาเงินเพิ่มสำหรับการกักกันแรงงานที่เดินทางกลับจากไทย

รัฐบาลกัมพูชาตัดสินใจเพิ่มงบประมาณจัดสรรให้กับ 4 จังหวัดชายแดนสำหรับการกักกันแรงงานกัมพูชาที่เดินทางกลับจากประเทศไทยจำนวน 700 ล้านเรียล (170,000 ดอลลาร์) รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าจังหวัดพระตะบองและบันเตียเมียนเจยได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมอีก 200 ล้านเรียล (49,000 ดอลลาร์) จังหวัดอุดรมีชัยได้รับเงินเพิ่มอีก 100 ล้านเรียล (24,000 ดอลลาร์) สำหรับการต่อสู้กับ โควิด-19 ในภูมิภาค โดยรายงานอ้างว่าแม้ว่าจุดผ่านแดนของไทยจะยังคงถูกปิด แต่ก็ยังคงเปิดรับแรงงานกัมพูชาที่มีความประสงค์เดินทางกลับมายังกัมพูชา ซึ่งจำเป็นต้องมีการกักกัน 14 วัน ถึงจะอนุญาตให้เดินทางกลับไปยังบ้านพักได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802078/government-provides-additional-700-million-riels-for-quarantining-of-workers-returning-from-thailand/

หน่วยงานรัฐบาลสปป.ลาวเร่งศึกษาวิธีการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

หน่วยงานภาครัฐได้รับคำสั่งให้ศึกษากลไกและแนวทางในการดำเนินนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากขึ้น การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาระหนี้ที่พวกเขาก่อขึ้นจากการดำเนินกิจการรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัดได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19 ต่อเศรษฐกิจ วิกฤตดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกการท่องเที่ยวและภาคบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้รายได้ของ บริษัท และครัวเรือนหดตัว แม้จะมีความท้าทายที่น่ากลัว แต่รัฐบาลก็พยายามที่จะสร้างความมั่นใจให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยทางสังคมเพื่อให้ประชาชนสามารถหาเลี้ยงชีพและลดความยากจนได้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_6.php

ตะนาวศรีเสนออุตสาหกรรมประมงเป็นเขตเศรษฐกิจ

รัฐบาลเขตตะนาวศรีได้ยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ในการสร้างเขตเศรษฐกิจสำหรับอุตสาหกรรมการประมงรวมโดยรวมถึงตลาดค้าส่งปลา ห้องเย็นและท่าเทียบเรือเพื่อการค้าชายแดนระหว่าเมียนมา-ไทย ทั้งนี้ยังสร้างโอกาสในการทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติเมียนมาและในระยะยาวสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมประมงของท้องถิ่น โครงการนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัจจุบันเริ่มมีการส่งออกปลาดุกไปยังจีนแม้ว่าเมียนมากำลังใช้เส้นทางที่ยากลำบากในการส่งออกไปยังจีนเพราะการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นมางด่านมูเซแทนด่านชินฉ่วยฮ่อเป็นระยะ 3 เดือน ในปีงบประมาณ 62-63 อุตสาหกรรมประมงมีรายได้จากการส่งออกเพียง 860 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากที่คาดการณ์ไว้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้รัฐบาลยังพยายามส่งเสริมการบริโภคการประมงของท้องถิ่นในตะนาวศรี ย่างกุ้ง อิรวดี และมัณฑะเลย์ โดยได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริโภคปลาและปรับโครงสร้างระบบการจัดจำหน่าย เช่น การใช้รถบรรทุกตู้เย็นเพื่อขายปลา กุ้งและปลาหมึกในท้องถิ่น หากดำเนินการตามแผนรัฐบาลคาดว่าภายในสองหรือสามปีการบริโภคปลาในท้องถิ่นจะพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/tanintharyi-government-proposes-economic-zone-fisheries.html