มัณฑะเลย์ไฟเขียวลงทุน 2 สัญชาติ สร้างงาน 319 ตำแหน่ง

ดร. มิน ซอ อู ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนและการบริหารบริษัทประจำภูมิภาคมัณฑะเลย์ ประกาศว่าการลงทุนของพลเมืองเมียนมา 2 รายการ ซึ่งสามารถสร้างโอกาสในการทำงานได้ 319 ตำแหน่ง ได้รับการอนุมัติในเดือนมกราคม 2567 จำนวนเงินทุนสำหรับการลงทุนใหม่อยู่ที่ 4,368.411 ล้านจ๊าด ตามที่ระบุในรายงาน อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวเน้นย้ำว่าในปี 2566 ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมาร์ได้อนุญาตธุรกิจรวม 14 แห่ง และ 10 แห่งได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการการลงทุนแห่งภูมิภาคมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ คณะกรรมการการลงทุนภูมิภาคมัณฑะเลย์ยังมีการออกใบอนุญาตสำหรับการลงทุนระดับชาติใหม่ของเมียนมาและการลงทุนจากต่างประเทศทุกเดือน ซึ่งจะสร้างโอกาสการจ้างงานมากขึ้นในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ภายใต้กฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mandalay-region-greenlights-2-citizen-owned-investments-generating-319-jobs/

‘เมียนมา’ เผยอุปสงค์จากต่างประเทศฟื้นตัวได้แข็งแกร่ง หนุนราคาเมล็ดงาสูง

ราคาเมล็ดงาในตลาดมัณฑะเลย์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่แข็งแกร่ง โดยราคาเมล็ดงาดำจาก 340,000 จ๊าตต่อกระสอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 365,000 จ๊าตต่อกระสอบ และราคางาขาวจาก 365,000-370,000 จ๊าตต่อกระสอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 385,000-390,000 จ๊าตต่อกระสอบ ทั้งนี้ การเก็บเกี่ยวงาดำในฤดูกาลใหม่จากภาคกลางของประเทศกำลังไหลเข้าสู่ตลาด ผู้ซื้อชาวจีนยังคงซื้องาขาวและงาดำจากญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาเมล็ดงาเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ เมียนมาจึงส่งออกเมล็ดงาไปยังจีนผ่านชายแดนทางบก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/strong-foreign-demand-elevates-sesame-seed-price/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาเมล็ดมัสตาร์ดสูงขึ้นในตลาดมัณฑะเลย์

คุณ U Soe Win Myint เจ้าของศูนย์ค้าส่งในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยว่าราคาเมล็ดมัสตาร์ด (Mustard Seeds) ในปีที่แล้ว อยู่ที่ 3,200 จั๊ตต่อ Viss แต่ในปัจจุบันราคาขยับเพิ่มสูงขึ้นที่ 5,100 จั๊ตต่อ Viss และการค้าขายเป็นไปได้ด้วยดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากประเทศอินเดียเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้เกษตรกรชาวเมียนมาจึงควรขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินเขา นอกจากนี้ การเพาะปลูกเมล็ดมัสตาร์ดส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคใต้ของรัฐฉาน รัฐกะฉิ่น รัฐกะยาและภาคซะไกง์ตอนบน จากนั้นจะถูกขายไปยังตลาดมัณฑะเลย์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mustard-seed-fetching-higher-prices-marketable-in-mandalay/#article-title

MNA พร้อมให้บริการเที่ยวบินตรงจาก มัณฑะเลย์-เชียงใหม่ เริ่ม 2 มี.ค.66 นี้

สายการบินแห่งชาติเมียนมา (MNA) พร้อมให้บริการเที่ยวบินตามปกติจากมัณฑะเลย์ไปเชียงใหม่ โดยทำการบินทุกวันพฤหัสบดี เริ่มวันที่ 2 มีนาคม 2566 นี้ ซึ่งเที่ยวบินจะออกจากท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ เวลา 15.45 น. และถึงท่าอากาศยานเชียงใหม่ เวลา 17.35 น. (ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศไทย) และจะออกจากท่าอากาศยานเชียงใหม่ เวลา 18:35 น. และถึงท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ เวลา 19:25 น. ทั้งนี้ MNA จะจำหน่ายราคาตั๋วเครื่องบินเที่ยวเดียวอยู่ที่ 172 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนราคาตั๋วเครื่องบินไป-กลับ อยู่ที่ 280 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mna-to-launch-mandalay-chiang-mai-direct-flight-on-2-march/#article-title

ราคาถั่วแป๋ในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

ผู้ค้าจากตลาดมัณฑะเลย์ เผย การซื้อขายถั่วแป๋ (rice bean) ในตลาดมัณฑะเลย์กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ปัจจุบันมีการนำถั่วแป๋มาจากตำบลมาดายะ สิงกู โมนยวา และปะโคะกู จากเดิมในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงเดือนม.ค. ราคาอยู่ที่ 89,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) แต่ในปัจจุบันพุ่งไปถึง 150,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) ซึ่งการที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นเพราะอุปสงค์ของจีนที่มีมากขึ้นจาการเปิดชายแดนเมียนมาและจีน ส่วนใหญ่ถั่วแป๋จะเน้นการส่งออกเพราะการบริโภคในประเทศค่อนข้างน้อยจึงคาดว่าราคาจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในเขตมัณฑะเลย์ เขตมะกเว และเขตซะไกง์ ซึ่งการปลูกบนดินลุ่มน้ำอิรวดีและแม่น้ำชี่น-ดวี่น ในเขตพื้นที่ดังกล่าวจะได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ถั่วแป๋สามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนม.ค. ซึ่งถั่วแป๋เป็นพืชที่คุ้มค่ากับการปลูกและให้ผลผลิตที่สูง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-market-sees-price-spike-in-rice-bean/#article-title

ราคามะขามตลาดมัณฑะเลย์พุ่ง! จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ราคาตลาดมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นจากความต้องการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อปีที่แล้ว ช่วงก่อนเทศกาลติงยาน (สงกรานต์ของเมียนมา) ราคามะขามอยู่ที่ 1,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัมส่วนราคามะขามไร้เมล็ดจะอยู่ที่ 2,200 จัตต่อ viss ส่วนในปีนี้ ราคามะขามอยู่ที่ 1,800 จัตต่อ viss และราคามะขามไร้เมล็ดอยู่ที่ 3,600 จัตต่อ viss ในปีนี้ คาดว่าผลผลิตและสต๊อกมะขามจะลดลง จาการการสั่งซื้อจากในประเทศและต่างประเทศที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยมะขามจะถูกส่งไปยังจีน อินเดีย และบังคลาเทศ ส่วนการเพาะปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลางของประเทศอย่างเขตมัณฑะเลย์ (เมืองเจาะบะด้อง, เมืองโปะป้า, เมืองปะโคะกู, เมืองมไยง์, เมืองยะแม่ตี้น, เมืองซีพินไยง์ และ เมือปีนแลบู้) โดยในปีงบประมาณ 2564-2565 เมียนมาส่งออกมะขามรวมทั้งสิ้น 20,662 ตัน คิดเป็นมูลค่า มูลค่า 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9,796 ตัน (มูลค่าประมาณ 5.6 ล้านดอลลาร์) เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/strong-demand-drives-tamarind-price-up-in-mandalay-market/#article-title

ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศสูงขึ้น หนุนราคาพุ่ง

ความต้องการบริโภคถั่วลูกไก่ในประเทศยังพุ่งสูงต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตจากเมืองต่างๆ ในเขตมัณฑะเลย์ เช่น เจาะแซ (Kyaukse) , ปะเตนจี้ (Patheingyi), มะตะยา (Madaya), สิ่นกู้ (Singu) และมาขากเขตซะไกง์ เช่น เมืองมยี่นมู (Myinmu) และเมือง โมนยวา (Monywa) ได้ทะลักเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์เป็นอย่างมากส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจอยู่ที่ 116,000 จัตต่อถุง (ประมาณสามตะกร้า) เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่เพียง 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชอบบริโภคเพราะมีสารอาหารและรสชาติที่อร่อยเข้มข้น ทั้งยังกระตุ้นให้โรงงานผลิตและแปรรูปในมัณฑะเลย์เปิดดำเนินการ สร้างโอกาสในการทำงานให้กับผู้คนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าจากอินเดียก็ที่เข้ามารับซื้ออีกด้วย อีกทั้งผลผลิตในปีนี้ค่อนข้างสูงเนื่องจากสภาพอากาศที่ดีและถั่วนั้นปลอดจากศัตรูพืช คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2564 ถั่วลูกไก่มีการเพาะปลูกหลักในภูมิภาคตอนบนของเมียนมาและพบได้ในภูมิภาคตอนล่างของเขตพะโค ที่นิยมปลูกกันทั่วไป คือ พันธุ์ V2, V7 และ 927

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-domestic-consumption-hikes-up-chickpea-prices/

ชาวสวนพริก เฮ! ราคาพุ่ง สร้างผลกำไรงาม

ชาวสวนพริกจากอำเภอปยอ-บแว จังหวัดยะแม่ที่น เขตมัณฑะเลย์ ได้เฮหลังราคาพริกพุ่งสูงขึ้นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว นาย U Khin Maung Tint ชาวสวนพริกจากหมู่บ้าน Khin Gyi Ya ให้ข้อมูลว่าได้ปลูกพริกบนพื้นที่สองเอเคอร์ โดยใช้เวลาสามเดือน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้สัปดาห์ละครั้งและแต่ละครั้งได้ผลผลิตพริกแห้งได้ประมาณ 100 เม็ด ซึ่งหากดูแลให้ดีผลผลิตอาจเพิ่มได้อีกห้าหรือหกเท่า ในช่วงต้นฤดูพริกของปีนี้ ราคาพริกในตลาดปยอ-บแว อยู่ที่ 2,800 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในขณะที่พริกแห้งขายในราคา 3,300 จัตต่อ viss ชาวสวนพริกส่วนใหญ่ตากพริกด้วยแสงแดด มีเพียงไม่รายที่ใช้เตาอบพริกแห้ง ทั้งนี้เมียนมายังส่งออกพริกสดไปยังจีนและไทย และส่วนใหญ่ส่งออกพริกสดไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chilli-growers-earn-high-profits-as-chilli-prices-soar/#article-title

ตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ ยอดขายพุ่ง

ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเมียนมาเปลี่ยนไป ผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ส้มโอ น้อยหน่า สับปะรด เสาวรส อะโวคาโด ส้มเขียวหวาน แอปเปิล ลูกแพร์ ทับทิมโดยถูกนำเข้าจากไทยมากกว่านำเข้าจากจีน ซึ่งมีให้เห็นแล้วในตลาดมัณฑะเลย์ และที่สำคัญคนในพื้นที่ชอบกินผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกันมากขึ้น โดยปกติตลาดผลไม้ในประเทศจะคึกคักในช่วงเทศกาลทาดิงยุต (Thadingyut) และสงกรานต์ตะจาน (Thingyan) ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของผลไม้ เช่น น้อยหน่าราคา 100-200 จัต, แอปเปิ้ลราคา 600- 800 จัต, ทับทิมราคา 1,200 จัต, ผลไม้ซันคิสต์ราคา 800 จัต, อะโวคาโดราคา 400 จัต, ลูกแพร์ราคา 1,000-1,200 จัต, สับปะรดราคา 400-500 จัต, ส้มโอไทยราคา 2,500 จัต, ส้มโอเมียนมาราคา 1,000 จัต, ส้มเขียวหวานราคา 500 จัต และเสาวรสราคา 500 จัต ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mandalay-seasonal-fruit-market-records-brisk-sales/

ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร มัณฑะเลย์ ปล่อยกู้77 พันล้านจัต อุ้มเกษตรกรช่วงมรสุม

ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 64 เป็นต้นไป ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตร สาขามัณฑะเลย์ปล่อยเงินกู้เพื่อการเกษตรกว่า 77 พันล้านจัตให้กับเกษตรกรจาก 23 เมืองเพื่อการเพราะปลูกข้าวและพืชอื่นๆ ในช่วงฤดูมรสุม โดยธนาคารจะปล่อยกู้ให้กับเกษตรกรที่ชำระหนี้ของฤดูกาลที่แล้ว (2563) แล้วเท่านั้น และคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี โดยการปล่อยเงินกู้ให้เกษตรกรที่ปลูกพืชในช่วงฤดูมรสุมจะแบ่งเป็น การปล่อยเงินกู้ 150,000 จัตต่อเอเคอร์สำหรับการปลูกข้าวเปลือกและ 100,000 จัตต่อเอเคอร์สำหรับการปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว งา ไผ่ ถั่วลูกไก่ ถั่วดำ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-k77-bln-loans-to-be-disbursed-to-farmers-to-grow-monsoon-crops-this-year/