“เมียนมา” เผยราคาเมล็ดมัสตาร์ดสูงขึ้นในตลาดมัณฑะเลย์

คุณ U Soe Win Myint เจ้าของศูนย์ค้าส่งในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยว่าราคาเมล็ดมัสตาร์ด (Mustard Seeds) ในปีที่แล้ว อยู่ที่ 3,200 จั๊ตต่อ Viss แต่ในปัจจุบันราคาขยับเพิ่มสูงขึ้นที่ 5,100 จั๊ตต่อ Viss และการค้าขายเป็นไปได้ด้วยดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการจากประเทศอินเดียเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้เกษตรกรชาวเมียนมาจึงควรขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินเขา นอกจากนี้ การเพาะปลูกเมล็ดมัสตาร์ดส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคใต้ของรัฐฉาน รัฐกะฉิ่น รัฐกะยาและภาคซะไกง์ตอนบน จากนั้นจะถูกขายไปยังตลาดมัณฑะเลย์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mustard-seed-fetching-higher-prices-marketable-in-mandalay/#article-title

สปป.ลาว เปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรกรรมบนที่ราบสูง

กระทรวงเกษตรและป่าไม้สปป.ลาว ร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ World Vision ในการเปิดตัวโครงการด้านเกษตรกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกสำหรับการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกบนพื้นที่ราบสูงใน สปป.ลาว ภายใต้สภาพแวดล้อมทางอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยโครงการนี้มีงบประมาณประมาณในการพัฒนาอยู่ที่ 3.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Global Environment Facility (GEF) และ FAO ซึ่งจะดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและป่าไม้, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ของ สปป.ลาว ตั้งแต่ในช่วงกลางปีนี้จนถึงปี 2026 ในการตั้งเป้าเพื่อปกป้องพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 4.5 ล้านเฮกตาร์ หรือเท่ากับร้อยละ 19 ของพื้นที่ทั้งหมดของ สปป.ลาว โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อ สปป.ลาว และชุมชนที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นอย่างมากจากแนวโน้มฤดูฝนที่สั้นลงและรุนแรงขึ้น ไปจนถึงภัยธรรมชาติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_New60.php

พื้นที่เพาะปลูกมะม่วงหิมพานต์ในกัมพูชาลดลงต่อเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

เนื่องจากราคาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ลดลงอย่างมาก รวมถึงผลผลิต และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลทำให้พื้นที่เพาะปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ในกัมพูชาลดลง จากพื้นที่ประมาณกว่า 800,000 เฮกตาร์ ในปี 2021 ลดลงเหลือ 700,000 เฮกตาร์ ในปี 2022 ตามรายงานของสมาคมเม็ดมะม่วงหิมพานต์แห่งกัมพูชา ซึ่งตามสถิติการเกษตร ตั้งแต่ปี 2009 พื้นที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 66,513 เฮกตาร์ ในปี 2009 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 เฮกตาร์ ในปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 12 เท่า ด้วยสถานการณ์ข้างต้นส่งผลทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการลดลงของผลผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ จากคำกล่าวของ Uon Silot ประธานสมาคมเม็ดมะม่วงหิมพานต์แห่งกัมพูชา โดยในเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2022 กัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ปริมาณกว่า 660,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ แต่ในปริมาณข้างต้นกลับเป็นการลดลงกว่าร้อยละ 34.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501174931/cashew-nut-plantation-area-falls-due-to-climate-change/

แม้มีข้อจำกัดการเพาะปลูก กล้วยยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสปป.ลาว

มูลค่าการส่งออกของกล้วยไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีนและไทยในปี 62 เพิ่มขึ้น 198 ล้านเหรียญสหรัฐเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตราการสั่งห้ามไม่ให้มีการเพาะปลูกเพิ่มเละยังมีการปิดโรงงานกว่า 90 บริษัทที่ลงทุนในสวนกล้วยครอบคลุม 26,177 เฮคเตอร์ทั่วประเทศลาวเนื่องจากการเพาะปลูกกล้วยของบริษัทบางส่วนมีการละเมิดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นมิตต่อระบบนิเวศโดยมีการใช้สารเคมี Paraquat และ DDTที่อาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้ ทำให้พืชดังกล่าวถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและหากต้องการจะปลูกต้องมีการขออนุญาตจากภาครัฐก่อน อย่างไรก็ตามกล้วยก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวเพราะมีมูลค่าเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่สร้างรายได้แก่สปป.ลาวนอกจากนี้ยังสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ผลผลิตลดลงและไม่มีนักลงทุนกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งทีมีมูลค่าสูง ในท้ายที่สุดหากมีข้อสรุปที่เหมาะสม กล้วยจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bananas-remain-large-slice-laos%E2%80%99-export-pie-114628

บริษัทไต้หวันวางแผนขยายการเพาะปลูกต้นไม้ในกัมพูชา

ผู้ประกอบการชาวไต้หวันประกาศแผนการที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกไม้ในกัมพูชาบนพื้นที่ 5,000 เฮกเตอร์ โดยสมาคมอุตสาหกรรมไม้แปรรูปของกัมพูชาเป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ในจังหวัดกำปงธม และจัดหาผลิตภัณฑ์ไม้ให้กับผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในท้องถิ่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขอให้ บริษัท ทำงานอย่างใกล้ชิดกับการบริหารป่าไม้ในโครงการใหม่ โดยในเดือนเมษายน Beijing Fushide Investment Management Ltd และ East Consulting Management Ltd ได้ประกาศแผนการลงทุนในอุตสาหกรรมไม้ของกัมพูชาระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรี ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะส่งออกไม้ไปยังประเทศจีน โดยจากข้อมูลของกระทรวงในระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนมิถุนายน บริษัทท้องถิ่น 5 แห่งส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปต่างประเทศ และอีก 3 รายได้รับใบอนุญาตในการแปรรูปไม้ภายในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50642277/taiwanese-firm-to-expand-timber-plantation/