FAO คาดการณ์ราคาข้าวที่น่าดึงดูดจะกระตุ้นผลผลิตข้าวในกัมพูชา

องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่า ผลผลิตข้าวทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.9 จากปีก่อนหน้า แตะสถิติสูงสุดที่ 534.9 ล้านตัน ในฤดูกาล 2024/25 โดยรายงานดังกล่าวถูกกว่าไว้ใน World Food Outlook ฉบับล่าสุด ซึ่ง FAO ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียคาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยผลผลิตข้าวโดยรวมของภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หรือคิดเป็นปริมาณรวมกว่า 478.9 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้อต่อการปลูกข้าวและการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวจะขยายตัวเพื่อตอบสนองต่อราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับในประเทศไทยโอกาสที่ผลผลิตจะฟื้นตัวเต็มที่นั้นถูกกระทบโดยความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้นในการปลูกข้าว เนื่องจากความแห้งแล้งในช่วงต้นฤดู รวมถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงการสนับสนุนของรัฐบาลที่ประกาศออกมา ด้านกัมพูชากลับมีแนวโน้มการส่งออกที่สดใส โดย FAO คาดการณ์ว่า ผลผลิตข้าวของกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 หรือคิดเป็น 7.9 ล้านตันในปีนี้ ทำให้กัมพูชาเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ที่สุดอันดับ 10 ของโลก หลังจากแซงหน้าบราซิลและญี่ปุ่นในปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501506357/fao-expects-attractive-prices-to-boost-rice-output-in-cambodia/

สปป.ลาว เปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรกรรมบนที่ราบสูง

กระทรวงเกษตรและป่าไม้สปป.ลาว ร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ World Vision ในการเปิดตัวโครงการด้านเกษตรกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกสำหรับการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกบนพื้นที่ราบสูงใน สปป.ลาว ภายใต้สภาพแวดล้อมทางอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยโครงการนี้มีงบประมาณประมาณในการพัฒนาอยู่ที่ 3.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Global Environment Facility (GEF) และ FAO ซึ่งจะดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและป่าไม้, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ของ สปป.ลาว ตั้งแต่ในช่วงกลางปีนี้จนถึงปี 2026 ในการตั้งเป้าเพื่อปกป้องพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 4.5 ล้านเฮกตาร์ หรือเท่ากับร้อยละ 19 ของพื้นที่ทั้งหมดของ สปป.ลาว โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อ สปป.ลาว และชุมชนที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นอย่างมากจากแนวโน้มฤดูฝนที่สั้นลงและรุนแรงขึ้น ไปจนถึงภัยธรรมชาติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_New60.php

ประชาชนสปป.ลาวกว่า 1 ล้านคน เผชิญปัญหาความไม่มั่งคงทางอาหาร

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) รายงานว่าประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน ต้องทนทุกข์จากความไม่มั่งคงทางอาหารอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดความกังวลต่อวิกฤตความมั่งคงทางอาหารในสปป.ลาว โดยประชาชนกว่า 1.04 ล้านคน (13.9% ของประชากรทั้งประเทศ) ได้รับการประเมินว่ามีความไม่มั่งคงทางอาหารอย่างเฉียบพลันอยู่ในระดับปานกลาง และคนกว่า 71,000 คน (0.9% ของประชากร) อยู่ในภาวะไม่มั่งคงทางอาหารเฉียบพลันขั้นรุนแรง สาเหตุของสถานการณ์ดังกล่าวมาจากราคาอาหารและเชื้อเพลิง ตลอดจนปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน กำลังซื้อและรายได้ครัวเรือนที่ลดลงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติในปี 2565

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติประเทศลาว (LSB) ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้น และพุ่งขึ้นสู่ระดับ 41.3% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี เพิ่มขึ้นจาก 40.3% ในเดือน ม.ค.

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten56_Over_1_y23.php

กระทรวงเกษตร สปป.ลาว ร่วมกับ FAO เปิดตัวโครงการสนับสนุนด้านความมั่นคงทางอาหาร

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำลังเดินหน้าช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเกษตรและการพัฒนาชนบทใน สปป.ลาว ด้วยการลงนามในโครงการ 3 โครงการ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (24 ม.ค.) โดยทั้งสามโครงการ ได้แก่ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการวางแผนและพัฒนาแผนแม่บทเกี่ยวกับชา, ความหลากหลายทางชีวภาพในภาคเกษตร และความช่วยเหลือด้านเทคนิคสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยได้รับการลงนามระหว่างกระทรวงเกษตรและป่าไม้ กับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่ง FAO ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงเกษตรและป่าไม้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเพิ่มเติมในสามประเด็นหลักที่สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญของภาครัฐบาล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน การค้า ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการให้กับ สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_FAO18.php

ทางการกัมพูชาและองค์กรของ UN เรียกร้องเสริมการลงทุนสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

รัฐบาลกัมพูชา รวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) เรียกร้องให้มีการลงทุนเกี่ยวกับระบบแปรรูปอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในระดับโลก โดยปัจจุบันกัมพูชาได้กำหนดแผนดังกล่าวเป็นวาระสำคัญระดับชาติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาห่วงโซ่ระบบการแปรรูปอาหารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในประเทศ ภายในปี 2030 เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณอาหารจะมีเพียงพอสำหรับประชากร ภายใต้คุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีสำหรับทุกคน กล่าวโดน Om Kimsir รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยจากข้อมูลล่าสุดของ WFP ราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของกัมพูชายังคงค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ราคาอาหารนำเข้ากลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นกว่า 39.7% ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้เทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501169436/cambodia-un-agencies-call-for-more-investment-to-ensure-food-security/

ระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) อนาคตการเกษตรของสปป.ลาว

มองไปในอนาคตเกษตรกรรมลาวจะได้รับประโยชน์จากระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) ซึ่งสามารถคาดการณ์โดยละเอียดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโปรแกรมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ Global Environment Facility (GEF) ที่มุ่งหวังให้การเกษตรสปป.ลาวเติบโตไปได้ในอนาคตโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเกษตรกรในการวางแผนอนาคตของการเพาะปลูก LRIMS ได้รับการพัฒนาโดยกรมการจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (DALaM) ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เครื่องมือดังกล่าวเป็นแกนหลักของข้อมูลทางการเกษตรสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการหาปริมาณของผลิตภาพที่ดิน และข้อมูลสำคัญหลายประการสำหรับการวางแผนการลงทุนทางการเกษตรและในชนบท

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/23/mapping-present-future-of-lao-agriculture-land-use-insights-with-lrims/

รัฐบาลสปป.ลาว , เอฟเอโอ ทบทวนตัวชี้วัดเส้นทางสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

เจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าหน้าที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำลังประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการเกษตรโภชนาการและการถือครองที่ดินและใช้เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในสปป.ลาว ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติจากสำนักงานใหญ่ FAO และสำนักงานภูมิภาค FAO สำหรับเอเชียและแปซิฟิกนำเสนอประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำดัชนีชี้วัดของ SDG และการประเมินตัวชี้วัด 21 ตัวในอนาคตภายใต้การดูแลของ FAO การประชุมเชิงปฏิบัติการจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจถึงตัวชี้วัด SDG ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้ดีขึ้น บทบาทของ FAO ในการติดตามและรายงาน SDG ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ และวิธีการวัดตัวชี้วัดแต่ละตัว ข้อกำหนดของข้อมูลสำหรับการวัดตัวบ่งชี้พร้อมกับแหล่งข้อมูลที่เป็นไปได้จะถูกกล่าวถึงในรายละเอียดด้วย ซึ่งจะหารือเกี่ยวกับประสบการณ์และความท้าทายในการสร้างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดเหล่านี้ในสปป.ลาวและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ SDG

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt.php