แผนแม่บทใหม่มุ่งสร้างการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่

แผนแม่บทการพัฒนาเมืองฉบับใหม่จะช่วยให้ทางการสามารถตอบสนองต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของเวียงจันทน์ในอนาคตแต่การพัฒนาระบบต่างๆในแต่ละแขวงกลับไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากขาดการวางแผนอย่างละเอียดทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาระบบสาธารณูปโภคที่ไม่สามารถรองรับประชากรในพื้นที่ได้  รวมถึงปัญหาของการแออัดของรถยนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวในการประชุมสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา “ถนนในเมืองหลวงไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานในขณะที่พื้นที่สาธารณะยังไม่ได้รับการพัฒนาจึงจำเป็นต้องจัดทำแผนแม่บทใหม่เพื่อให้เวียงจันทน์ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ในภูมิภาค” แผนแม่บทฉบับใหม่จะครอบคลุมพื้นที่ 61,600 เฮกตาร์และ 288 หมู่บ้านคิดเป็นร้อยละ 16 ของพื้นที่ดินของเมือง เวียงจันทน์มีประชากรเกือบหนึ่งล้านคนมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจและแนวโน้มจำนวนประชากรที่สูงขึ้น พื้นที่ในเมืองจะขยายไปสู่ชานเมืองตามถนนสายหลักอย่างรวดเร็ว หากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอการแผ่ขยายออกไปในเมืองจะส่งผลให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีและบริการทางสังคมที่ไม่เพียงพอ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_215.php

การเจรจาระหว่าง Royal Railway และ รัฐบาลกัมพูชายังคงดำเนินอยู่

การเจรจาระหว่าง Royal Railway Cambodia และรัฐบาลกัมพูชายังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลงสัมปทานฉบับใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบรถไฟของกัมพูชาตลอดจนการรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้ดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบ โดย Royal Railway อยู่ระหว่างการเจรจากับ CRRC Corp Ltd. ซึ่งจะร่วมกันพัฒนาเส้นทางรถไฟของกัมพูชา ซึ่งตัวแทนของ CRRC กล่าวว่าบริษัทได้มีประสบการณ์ในการพัฒนาทางรถไฟมากว่า 21,000 กิโลเมตรในจีนและในต่างประเทศ โดย CRRC ได้แสดงความเต็มใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาเพื่อเป็นพันธมิตรกับ Royal Railway ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศกัมพูชาให้ดียิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779061/royal-railway-and-cambodian-government-talks-still-on-track/

แรงกดดันทางเศรษฐกิจสำหรับการเปิดพรมแดนอีกครั้งระหว่างกัมพูชาและไทย

ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยในปัจจุบันประกอบกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากอุทกภัยในกัมพูชาทำให้ทางการของทั้งสองประเทศจำเป็นต้องเปิดพรมแดนให้กับแรงงานข้ามชาติอีกครั้ง โดยพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยถูกปิดตั้งแต่ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลในเรื่องของการอพยพข้ามพรมแดนจะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซี่งธนาคารโลกระบุว่ามีแรงงานอพยพกลับมายังกัมพูชามากกว่าประมาณ 120,000 คน เดินทางกลับจากประเทศไทยนับตั้งแต่เกิดการระบาดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแรงงานที่มีทักษะต่ำ ซึ่งทางการไทยได้วางแผนให้กลุ่มแรงงานชาวกัมพูชาเข้ามาทำงานในโกดังเก็บผลไม้ที่ตั้งอยู่บริเวณด่านพรมแดนถาวรสำหรับคนงานในอำเภอโป่งน้ำร้อนของไทย โดยเชื่อมโยงกับจังหวัดพระตะบองของกัมพูชาได้ทดลองเข้ามายังพื้นที่ของไทยประมาณ 500 คน ตามรายงานในท้องถิ่นกระบวนการคัดกรองการตรวจสุขภาพและการกักกันจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 193 ดอลลาร์ต่อคน แต่จะลดลงเหลือเพียง 86.76 ดอลลาร์หากถูกกักกันในพื้นที่ที่ทางรัฐบาลไทยได้กำหนดไว้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779039/economic-pressure-for-kingdom-and-thailand-to-reopen-borders/

สหราชอาณาจักรพร้อมช่วยเหลือรัฐชานเดินหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและผังเมือง

นาย U Tun Aing Kyaw ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยแห่งรัฐฉานเผยรัฐฉานจะร่างผังเมืองและพัฒนาโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร โครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเมือง โดยจะดำเนินการตามแผนระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการอนุรักษ์มรดกโบราณตลอดจนโครงการพัฒนาเมืองเพื่อปรับปรุงภูมิภาคให้ทันสมัยหากประสบความสำเร็จรัฐฉานจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอีก 6 โครงการใน Moemeik, Mong Ton, Mong Hsat, Hopone ในขตปกครองตนเองปะโอ, Narnsam ในเขตปกครองตนเองของปะหล่อง และ Laukkai ในพื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง นอกจากนี้ยังร่วมกับสวีเดนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในเมืองกะลอของรัฐฉาน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/shan-conduct-development-programmes-uk-aid.html

เมืองกัมปอตของกัมพูชาได้รับการลงทุนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หลายแห่งทั่วกัมพูชากำลังปิดตัวลงแต่บางกลุ่มธุรกิจในกำปอตยังคงเป็นบวกเนื่องจากการลงทุนในท้องถิ่นมีจำนวนมากขึ้นทำให้เมืองชายฝั่งยังคงเติบโตได้ โดยมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วเมืองกัมปอตตั้งแต่บาร์ ร้านอาหาร เกสต์เฮาส์ ไปจนถึงบริษัททัวร์ อย่างไรก็ตามกิจการใหม่จำนวนมากมุ่งเป้าไปที่ตลาดในประเทศโดยเฉพาะ เนื่องจากขาดการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังจากได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ซึ่งในช่วงหกเดือนแรกของปี 2020 จังหวัดกัมปอตได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวน 838,000 คน ในขณะที่ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวมาเยือนยังกัมพูชาถึง 1,090,000 คน ตามข้อมูลของกรมการท่องเที่ยวจังหวัดกัมปอต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778639/kampot-receives-more-local-investment/

อังกอร์รีสอร์ทในกัมพูชาสร้างรายได้ 18.5 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรก

อุทยานโบราณคดีอังกอร์ในจังหวัดเสียมราฐสร้างรายได้อยู่ที่ 18,549,905 ดอลลาร์ จากยอดขายบัตรผ่านประตูในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ จากการแถลงข่าวของ Angkor Enterprise ซึ่งเป็นสถาบันของรัฐที่รับผิดชอบการจัดการรายได้ของอังกอร์ จากประกาศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ตัวเลขดังกล่าวลดลงกว่าร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตั๋วดังกล่าวขายให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 398,485 คน ซึ่งลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ร้อยละ 77.91 โดยในเดือนตุลาคมปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือเพียง 2,244 คน ที่เดินทางมาเยี่ยมชมอุทยานโบราณคดีอังกอร์ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นเดี่ยวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778644/angkor-resort-generates-over-18-5-million-in-first-10-months/

รัฐบาลจะขจัดอุปสรรคและปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจเพื่อดึงดูดการลงทุนในสปป.ลาว

รัฐบาลได้ให้คำมั่นที่จะขจัดอุปสรรคและปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจเพื่อดึงดูดการลงทุนในสปป.ลาวจากนักลงทุนต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้นโดยรัฐบาลสปป.ลาวจะมีการดำเนินนโยบายกระตุ้นการลงทุนผ่านนโยบาย “3 เปิด” ไปสู่การปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับ“ เปิดใจ”“ เปิดประตู” และ“ อุปสรรคที่เปิดกว้าง”  การลงทุนถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สปป.ลาวที่รัฐบาลกำลังพยายามผลักดันให้มีขยายตัวต่อเนื่องเห็นได้ชัดในหลาย 10 ปีที่ผ่านมาที่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากมายโดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนคิดเป็นมูลค่าแล้วกว่า 26,127 พันล้านกีบคิดเป็นร้อยละ 50.7 ของการลงทุนทั้งหมดในสปป.ลาว Mr. Sonexay Siphandone รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวเพิ่มเติม “ ในอนาคตเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศจะมาจากภาคเอกชนซึ่งจำเป็นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว” ดร. Sonexay กล่าวว่ารัฐบาลจะนำนโยบาย“ เปิดสามครั้ง” ไปสู่การปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับ“ เปิดใจ”“ เปิดประตู” และ“ อุปสรรคที่เปิดกว้าง”

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_vows_214.php

เวียดนามเผยดัชนีผลผลิตอุตฯ ต.ค. ยังคงเพิ่มขึ้น

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตทางอุตสาหกรรม (IIP) ของเวียดนามในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สถานการณ์การระบาดของโรคโคโรนา (COVID-19) ในเวียดนามได้รับการควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กิจกรรมการผลิตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัว และส่งผลในทิศทางที่เป็นบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี IIP เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในขณะที่ ภาคเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 8.1

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/october-index-of-industrial-production-continues-to-rise/189644.vnp