สปป.ลาวร่วมมือจีนฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

สถาบันสื่อมวลชนวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวภายใต้กระทรวงข้อมูลวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจะร่วมมือกับ บริษัท เสิ่นเจิ้นหว่านเซียงการท่องเที่ยวสื่อ จำกัด ของจีนเพื่อฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของสปป.ลาวและจะมีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยว สปป.ลาวและจีนจะร่วมกันจัดหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวในระยะสั้นระยะกลางและระยะยาว โปรแกรมการฝึกอบรมจะเน้นการสอนไกด์นำเที่ยวสปป.ลาวพื้นฐานเป็นภาษาจีนเพื่อให้สามารถนำกลุ่มทัวร์จีนได้การฝึกอบรมดังกล่าวถือเป็นการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวและสร้างขีดความสามารถด้านทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาวรวมถึงการสร้างโอกาสในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนมายังสปป.ลาว ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนถือเป็นนักท่องเที่ยวหลักของสปป.ลาว การพัฒนาไกด์จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวให้สปป.ลาวมีการเติบโตเพิ่มขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_China_98.php

แบงก์ชาติเวียดนามปรับลดดอกเบี้ยแก่ผู้กู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

จากรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าทางธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ด้วยมูลค่ามากกว่า 1.12 ล้านล้านล้านด่ง (49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของผู้กู้ราว 322,190 รายที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงธนาคารยังขยายระยะเวลาการชำระหนี้ จำนวน 215,136 ราย สินเชื่อรวมประมาณ 137.94 ล้านล้านด่ง ในขณะที่ ยอดสินเชื่อใหม่คงค้างในระบบ ประมาณ 600 ล้านล้านด่ง พร้อมกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5-2.5 ต่อปี แก่ผู้กู้ราว 190,000 คน ทั้งนี้ ธนาคารกลางโอนเงินไปยังสถาบันการเงินเวียดนาม ด้วยมูลค่า 16 ล้านล้านด่ง ซึ่งทำตามนโยบายสังคม ดังนั้น นายจ้างสามารถกู้สินเชื้อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เพื่อจะนำไปจ่ายเงินเดือนแก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้ ทางรองผู้ว่าธนาคารกลาง ระบุว่าภาคธุรกิจขนส่ง การท่องเที่ยว นำเข้า-ส่งออก จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเชื้อไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/banks-cut-interest-rates-for-borrowers-affected-by-covid19/173801.vnp

เวียดนามเผยบริษัทอสังหาฯ พร้อมฟื้นตัวหลังหมดโควิด-19

บริษัทอสังหาริมทรัพย์เริ่มมองถึงก้าวต่อไป เล็งเห็นโอกาสหลังจากวิกฤติโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คาดฟื้นตัวในไม่ช้า จากรายงานทางสถิติของกระทรวงก่อสร้าง เผยว่าร้อยละ 80 ของตัวแทนขายอสังหาฯ หยุดการดำเนินงานชั่วคราวในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจอื่นๆ ยังคงสามารถดำเนินงานได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยจำนวนบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสแรก ลดลงร้อยละ 12 ขณะที่ บริษัทที่หยุดดำเนินงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นร้อยละ 94 อย่างไรก็ตาม คนในวงในส่วนใหญ่เชื่อว่าผลกระทบจะเป็นเพียงระยะสั้นและตลาดจะกลับมาแข็งแกร่งในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คุณ Nguyen Quoc Bao รองผู้อำนวยการบริษัทอสังหาฯแห่งหนึ่ง กล่าวว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงฝ่าวิกฤติโควิด-19 เพื่อเตรียมความพร้อมต่อวงจรการเติบโตใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของบริษัทที่มีกำลังการผลิตต่ำ แต่สำหรับธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและการดำเนินงานอย่างมืออาชีพที่จะนำฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปได้ ผลกระทบเป็นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น ‘วิกฤติสร้างโอกาส’ นอกจากนี้ ตลาดอสังหาฯเวียดนาม ยังคงมีข้อได้เปรียบอย่างมากและเป็นที่สนใจแก่นักลงทุน เพราะว่าด้วยจำนวนประชากรราว 100 ล้านคน และร้อยละ 55 อยู่ในช่วงอายุ 25-40 ปี ที่มีกำลังซื้อสูงและมีความต้องการที่อยู่อาศัย ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมั่งคง ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว (Rapid Urbanization)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/real-estate-firms-gear-up-for-race-after-pandemic/173808.vnp

Moody’s มองกัมพูชายังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่มั่นคง

Moody’s Investors Service กล่าวว่ากัมพูชามีบัฟเฟอร์ทางด้านการคลังที่แข็งแกร่งในการรับมือกับการหยุดชะงักของการค้าและการเติบโตที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 โดยในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ในสิงคโปร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐกล่าวว่าการชะลอตัวของจีน สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคาดการณ์ GDP จะหดตัวมาอยู่ที่ 0.3% แต่คาดว่าจะดีดตัวขึ้นมาเกือบ 6.0% ในปีหน้า (2021) ซึ่งมูดี้ส์กล่าวว่าโปรไฟล์เครดิตล่าสุดของกัมพูชาสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งของประเทศ โดยหน่วยงานจัดอันดับกล่าวว่าการระบาดของไวรัสจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชาเป็นอย่างมาก จากผลกระทบของการชะลอตัวของจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับกัมพูชาเป็นอย่างมาก ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าจีนคิดเป็น 43% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาขณะที่นักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วน 36% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดในปี 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726331/moodys-sees-solid-growth-prospects-for-cambodia/

SECC และ CCC ลงนาม MoU ในการส่งเสริมกลุ่มหลักทรัพย์ในกัมพูชา

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งกัมพูชา (SECC) และหอการค้ากัมพูชา (CCC) ได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับความร่วมมือในการสร้างความตระหนักและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ บริษัท ในกลุ่มหลักทรัพย์กัมพูชา โดยบันทึกความเข้าใจนี้ลงนามเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยอธิบดี SECC และประธานของ CCC ได้บันทึกความเข้าใจซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและสร้างความตระหนักในตลาดหลักทรัพย์ให้กับองค์กรการค้าเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุน รวมถึงเพื่อดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนในท้องถิ่น ด้วยการลงนามใน MoU ถือเป็นภาพสะท้อนของการมีผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์มากขึ้นในกัมพูชาให้ความสนใจกับตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) โดยเตรียมเข้าสู่ตลาดเพื่อรวบรวมเงินทุนจากตลาดหุ้นและการค้าในตลาดหุ้น แสดงความมั่นใจต่อสมาชิกของ CCC ในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา ปัจจุบัน CSX มี บริษัท 11 แห่ง บริษัท หลักทรัพย์ 5 แห่งและ บริษัท หุ้นกู้ 6 แห่ง ซึ่งมีเงินทุนรวมทั้งสิ้น 223 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726211/secc-ccc-sign-mou-on-promoting-securities-sector/

เขตมะกเว อนุญาตให้โรงงานกว่า 1,000 แห่งเปิดใหม่อีกครั้ง

รัฐบาลระดับภูมิภาคเขตมะกเวอนุญาตให้โรงงานมากกว่า 1,000 แห่งเปิดใหม่หลังจากถูกปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยอนุญาตให้เปิดมากกว่า 1,000 แห่งรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ตหลังจากผ่านการตรวจสอบซึ่งหมายความว่าพนักงานประมาณ 20,000 คน จะได้กลับมาทำงานอีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/magwe-govt-allows-more-1000-factories-reopen.html

พาณิชย์-เอกชนจับตาความขัดแย้งสหรัฐ-จีน

พาณิชย์-เอกชน เตรียมแผนปรับทัพส่งออก รับมือสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ปะทุรอบใหม่  ชี้โลก เดาใจ “ทรัมป์” ยาก แต่คาดใกล้ช่วงเลือกตั้งปธน กระทรวงและภาคเอกชนอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีน จนเกิดสงครามการค้ารอบใหม่ และจะมีการจัดทำแผนในการผลักดันส่งออกร่วมกันเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาภาคส่งออกได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าแล้ว และในปี 63 ก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างสหรัฐ-จีนอย่างใกล้ชิด แต่เชื่อว่าไทยมีโอกาสที่ได้รับประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องของการค้าและการลงทุนมากเช่นกัน โดยเฉพาะโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นซับพลายเซนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มั่นคงของโลกได้ เพราะในระยะหลังมีผู้ประกอบการจากจีนเริ่มย้ายฐานการผลิตมาไทยและอาเซียนจำนวนมากเพื่อป้อนชิ้นส่วนและวัตถุดิบให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนและประเทศต่าง ๆ ช่วงหลังจีนกับประเทศตะวันตกทั้งสหรัฐและยุโรปมีปัญหากันหลังจากที่เกิดการระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสหรัฐที่กล่าวหาจีนมาเป็นต้นเหตุในการทำให้เกิดการระบาดจนมีความขัดแย้งต่อเนื่อง ดังนั้นจีนต้องหาพันธมิตรในอาเซียนและประเทศใกล้เคียงมากขึ้น เห็นจากที่ผ่านมาไทยขออะไรจีนมักได้ง่ายๆหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเปิดด่านในการส่งสินค้าเกษตรไทยไปจีน ก็ได้รับความสะดวกรวดเร็วผิดกับครั้งก่อนๆ จนทำให้สินค้าเกษตรไทยหลายตัวสามารถส่งออกไปจีนได้เพิ่ม เช่น ทุเรียน แม้จะเจอปัญหาระบาดโควิด-19 แต่ก็มีล้งจีนเข้ามากว้างซื้อทุเรียนไทยมากกว่าเดิมอีกเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดจีน  

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/775916