จุรินทร์ เตรียมนัดหารือภาคเอกชนฟื้นเศรษฐกิจหลัง โควิด-19

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีกำหนดการที่จะพบปะกับภาคเอกชนผู้ผลิตสินค้าและธุรกิจบริการ เพื่อหารือถึงการเตรียมพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคการผลิต การตลาด การค้าในประเทศ และการส่งออกต่างประเทศ ในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยนายจุรินทร์รีจะไปรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการทำงานกับภาคเอกชนเป็นรายอุตสาหกรรม ก่อนที่จะนำมาประมวลผลและจัดทำมาตรการเชิงรุกในการขับเคลื่อนต่อไป สำหรับกำหนดการพบปะกับภาคเอกชนครั้งต่อไป กำหนดไว้วันที่ 22 เม.ย. 2563 จะหารือกับกลุ่มผู้ผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป เช่น สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ.เบทาโกร บมจ.จีเอฟพีที และสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การค้าภายในประเทศและ การส่งออก เพราะเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีความต้องการของผู้บริโภค และมีโอกาสในการขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น การณ์ข้าว ทั้งข้าวสาร ข้าวสารบรรจุถุง และข้าวส่งออก เพื่อบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล ทั้งการบริโภคในประเทศและการส่งออกแล้ว ส่วนสินค้าตัวถัดมา จะนัดหารือกับกลุ่มผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กลุ่มผักผลไม้ เช่น สับปะรด ข้าวโพดหวาน ทูน่า อาหารทะเล เครื่องดื่มและนม ในวันที่ 23 เม.ย.2563 และจะเชิญเกษตรกรจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์และสมุทรสงคราม มาร่วมหารือด้วย ที่โรงงานเทพผดุงพร ซึ่งผลิตน้ำมะพร้าวและกะทิ ที่พุทธมณฑลสาย 4 โดยต้องการที่จะประเมินสถานการณ์การผลิตและการส่งออก และต้องการให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือ ในด้านไหน เพื่อที่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากนั้น ได้นัดหารือกับสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง ณ ห้องประชุมโรงงานอาหารทะเล Sea Value ณ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การตลาด และการส่งออก ร่วมกับเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ส่งออก เพื่อที่กระทรวงพาณิชย์จะได้เข้าไปช่วยเหลือและช่วยผลักดันให้มีการส่งออกได้เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันสินค้าอาหารทะเลของไทย มีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในวันที่ 27 เม.ย.2563 ได้นัดหารือกับกลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งที่ขายสินค้าในประเทศ และต่างประเทศ ที่กระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือในการใช้ช่องทางออนไลน์ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ผู้ผลิตสินค้าชุมชน สินค้าโอทอป ไปจนถึงผู้ผลิต ผู้ส่งออก ให้มีโอกาสในการขายสินค้าทางออนไลน์ ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876987?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ส่วนต่อขยายรันเวย์สนามบินสีหนุวิลล์ในกัมพูชาจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน

สนามบินนานาชาติสีหนุวิลล์จะสามารถรับมือกับปริมาณเที่ยวบินที่ค่อนข้างแออัดได้ในเดือนมิถุนายนปีนี้หลังจากโครงการส่วนต่อขยายรันเวย์ระยะทางยาว 3,300 เมตรเสร็จสมบูรณ์ จาก 2,800 เมตร ปัจจุบันสนามบินนานาชาติทั้งสามแห่งสามารถรองรับเครื่องบินขนาดกลางจากจีนหรือกาตาร์ได้ โดยกัมพูชามีสายการบิน 47 แห่ง หกแห่งเป็นสายการบินท้องถิ่นรวมถึงสายการบินแห่งชาติ หรือกัมพูชาอังกอร์แอร์ ที่ให้บริการผู้โดยสารและขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งสนามบินนานาชาติทั้งสามแห่งของกัมพูชาบริหารงานโดย Cambodia Airports ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่ม VNCI ในประเทศฝรั่งเศส โดยการจราจรของผู้โดยสารมายังกัมพูชาเพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในปี 2562 คิดเป็น 11.6 ล้านคน ตามรายงานของ Cambodia Airports

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50714603/runway-extension-in-sihanoukville-airport-to-be-completed-in-june/

ผู้ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ขอให้สถาบันการเงินช่วยปรับโครงสร้างเงินกู้

สมาคมไมโครไฟแนนซ์แห่งกัมพูชา (CMA) ได้กล่าวว่าสมาคมรวมถึงสมาชิกกำลังติดต่อกับลูกค้าของสถาบันการเงินรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในการปรับโครงสร้างเงินกู้ โดย CMA ยังคงเปิดให้มีการเข้าถึงเงินทุนจากประชาชนผ่านระบบการเงิน ซึ่งสมาชิก CMA ทั้งหมดได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยได้ดำเนินการและแก้ไขปัญหาตามประเภทของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้าในแต่ละราย ซึ่งต้องสอดคล้องกับแนวทางของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา เพื่อให้มีการปรับโครงสร้างสินเชื่อลูกค้า MFIs ลูกค้าหรือผู้กู้ทุกคนควรติดต่อกับผู้ให้กู้เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์และหาวิธีการแก้ปัญหาตามกลยุทธ์ Win-Win เพื่อพัฒนาภาคการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับลูกค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยและสามารถชำระหนี้ได้ CMA สนับสนุนให้ชำระตามปรกติต่อไป โดย MFI แต่ละแห่งจะใช้โอกาสนี้เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก่อนมาเป็นลำดับแรก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50714464/covid-19s-affected-customers-asked-to-discuss-loan-restructuring/

โรงพยาบาล 103 แห่งทั่วสปป.ลาวพร้อมให้การรักษา Covid-19 อย่างมีประสิทธิภาพ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ของสปป.ลาวมีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากไม่พบผู้ติดเชื้อเป็นวันที่ 7 ติดต่อกันเป็นผลมาจากมาตราการที่เข้มงวดของรัฐบาลทำให้ยอดผู้ติดเชื้อลดลงจากเดิมจนไม่พบผู้ติดเชื้ออย่างไรก็ตามขณะนี้ยังมีผู้ป่วยถึง 14 รายที่ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในนครหลวงเวียงจันทร์ ทำให้รัฐบาลสปป.ลาวยังคงเข้มข้นในมาตราการต่างทั้งในเชิงรุกรวมถึงเชิงรับที่มีการเตรียมโรงพยาบาลกว่า 103 แห่งทั่วสปป.ลาวให้พร้อมที่จะเป็นสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วย COVID-19 โดยเฉพาะเพื่อแยกออกมาจากผู้ป่วยปกติโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของจีนและเวียดนามในการให้คำแนะนำสำหรับการรักษาและป้องกัน Covid-19 อีกด้วย  ปัจจุบันถึงแม้ไม่พบผู้ติดเชื้อแล้วรัฐบาลจะยังคงมีมาตราการในการควบคุมโรคนี้อีกต่อไปอย่างเข้มงวด

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_103.php

อุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม เผชิญขาดทุนหนักไตรมาส 2

สมาคมกาแฟและโกโก้เวียดนาม (VICOFA) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม เผชิญกับการขาดทุนอย่างหนักในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายๆประเทศทั่วโลกประกาศใช้มาตรการ ‘Social Distancing’ หรือเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลร้านอาหารและร้านกาแฟต้องปิดตัวลง ด้วยเหตุที่ความต้องการลดลง ทำให้ผู้ผลิตกาแฟส่วนใหญ่ใช้สินค้าคงคลัง ดังนั้น ผู้ประกอบการท้องถิ่นจึงได้สัญญาส่งออกกาแฟได้น้อยลง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการผลิตในประเทศและส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ บริษัทกาแฟแห่งชาติเวียดนาม (VINACAFE) เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ในเวียดนาม เผชิญกับอุปสรรคมากมายในการเสนอขายสินค้าแก่พาร์ทเนอร์ โดยการบริโภคกาแฟทั่วโลกนั้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 เมื่อเทียบก่อนการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการแพร่ระบาด แต่กาแฟไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น ส่วนภาครัฐควรจะส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคจากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับภัยแล้งในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/coffee-industry-to-face-more-losses-in-q2/171969.vnp

THACO ส่งออกรถกึ่งพ่วงไปยังสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม

บริษัท Truong Hai Auto Corporation (THACO) กล่าวว่าในปลายเดือนพฤษภาคม บริษัทส่งออกรถกึ่งพ่วง หรือเรียกว่า ‘รถเทรลเลอร์’ ด้วยจำนวน 69 คัน ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข็มงวด ด้วยข้อมูลข้างต้นเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างบริษัท THACO และ PITTS ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถกึ่งพ่วงรายใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในการจำหน่ายรถกึ่งพวกในตลาดสหรัฐฯ ทั้งนี้ รถกึ่งพ่วงของ THACO ที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯนั้น มีบริษัท Dorsey Intermodal เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ดังกล่าวในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PITTS นอกจากนี้ THACO คาดว่าในปี 2563 จะส่งออกรถยนต์ทุกประเภทมากกว่า 1,600 คัน คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/thaco-to-export-semitrailers-to-us-in-may/171990.vnp

เมียนมาประกาศให้หยุดเชื้ออยู่บ้านสำหรับเจ็ดเมืองในย่างกุ้ง

กระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา ออกมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 โดยการให้ประชาชนอยู่บ้าน (Stay-home) สำหรับเจ็ดเมืองในย่างกุ้ง ประกอบด้วย Okkalapa, Pabedan, Bahan, Mayangone, Insein, Shwepyithar และ Hlaingthayar Townships ตามประกาศ มีเพียงสมาชิกหนึ่งคนจากหนึ่งครัวเรือนที่ได้รับอนุญาตให้ซื้ออาหาร เมื่อออกไปข้างนอกต้องสวมหน้ากากอนามัย และอนุญาตให้บุคคลสองคนจากหนึ่งครัวเรือนสามารถไปโรงพยาบาลและคลินิกได้เท่านั้น คำสั่งซื้อจะมีผลตั้งแต่วลา 18.00 น. ของวันที่ 18 เมษายน 63

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/stay-home-notice-issued-for-seven-townships-in-yangon

โรงพยาบาลหนึ่งในย่างกุ้งเริ่มรักษาผู้ป่วยที่ติด COVID-19

โรงพยาบาลอีกแห่งในย่างกุ้งพร้อมที่จะรับ COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยในภูมิภาคเพิ่มขึ้นเป็น 78 คน โรงพยาบาลเด็กและสตรีออกกะลาปาใต้ ได้เตรียมที่จะจัดการผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วห้าคนในประเทศซึ่งสี่คนมาจากย่างกุ้ง โรงพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วย COVID-19 ได้มากถึง 70 คนและมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 70 คนจะทุ่มเทเพื่อรักษาโรคนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/one-more-yangon-hospital-starts-treat-virus-patients.html