ยอดขายซุปเปอร์มาร์เก็ตพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ตลาดสดดิ่งลง

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ารายได้ของธุรกิจภาคการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการสินค้าจำเป็นมากยิ่งขึ้น โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่คนซื้อ คือกลุ่มอาหารที่จำเป็น ได้แก่ ปศุสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ไข่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและผัก เป็นต้น สำหรับทางฝั่งซุปเปอร์มาร์เก็จยังคงต้องส่งเสริมช่องทางอีคอมเมิร์ซ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้คนเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว เพราะว่าราคาอาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตหลังจากช่วงปีใหม่ ยังมีเสถียรภาพอยู่และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตลาดสด สำหรับปริมาณขายสินค้าของตลาด ลดลงร้อยละ 50-70 ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 50-80 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดไวรัส นอกจากนี้ ลูกค้ายังคงกังวลที่จะไปยังสถานที่แออัด ดังนั้น รายได้จากอีคอมเมิร์ซของบางธุรกิจนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sales-at-supermarkets-surge-wet-markets-drop/170116.vnp

เมียนมาตั้งทีมงานเยียวยาเศรษฐกิจสำหรับ Covid-19

เมียนมาได้ตั้งคณะทำงานเพื่อร่างแผนการแก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจาก Covid-19 โดยร่วมมือระหว่างกระทรวงและองค์กรของรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการมีหน้าที่หกประการ มีเป้าหมายเพื่อใช้มาตรการฉุกเฉินและร่างแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อลดปัญหาทั้งจากการค้าและการท่องเที่ยว สร้างงานใหม่สำหรับคนที่ว่างงานทำและฝึกอบรมสายอาชีพให้ หาวิธีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ แทนที่จะพึ่งพาจีน เนื่องจากเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เช่น Covid-19 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในระยะยาว บริษัทจำเป็นต้องนำระบบซัพพลายเชนมาใช้โดยการจัดตั้งอุตสาหกรรมการทอผ้า การถัก การย้อม และการตัดเย็บ คณะกรรมการจะยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานประธานาธิบดีเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีและการลดหย่อนภาษีหาก Covid-19 มีผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมในท้องถิ่น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 รัฐบาลได้สั่งห้ามให้มีการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคมถึง 30 เมษายน 2563

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-president-office-forms-economic-remedy-committee-for-covid-19

COVID-19 พ่นพิษ แรงเมียนมาตกงานกว่า 4,000 คน

กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของเมียนมาชี้มีแรงงานกว่า 4,000 คนตกงานตั้งแต่ต้นปีเนื่องจากการปิดตัวและลดจำนวนแรงงานใน 15 โรงงาน และมีโรงงานอีก 20 แห่งที่ยื่นคำร้องขอระงับการดำเนินการ เหตุผลหลักๆ คือการขาดวัตถุดิบและไม่มีคำสั่งซื้อของสินค้า จากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัญหาการเช่าที่ดิน สำหรับโรงงานที่ได้รับผลกระทบ 15 แห่ง ปิดอย่างถาวรไปแล้ว 9 แห่ง ปิดชั่วคราว 6 แห่ง และอีก 2 แห่งลดจำนวนแรงงานลง คนงานที่ว่างงานจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพขึ้นอยู่กับเงินสมทบประกันสังคม แต่ไม่ใช่สวัสดิการการว่างงาน โรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตย่างกุ้ง, พะโคและเขตอิรวดีโดยส่วนใหญ่ผลิตกระเป๋า รองเท้า และเครื่องนุ่งห่ม ในบรรดาผู้ที่ตกงานเป็นชาวจีนและชาวเกาหลีที่ทำในโรงงานเหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่ต้นปีโรงงานเปิดใหม่สร้างงานได้ถึง 6,000 ตำแหน่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/4000-workers-myanmar-unemployed-over-shutdown-workforce-reduction.html

ประชาชนตื่นรับมือวิกฤติโคโรนาแห่ซื้อสินค้าจำเป็นเข้าบ้าน ข้าวสาร น้ำดื่ม อาหารกระป๋อง ทิชชูยอดฮิต

จากการสำรวจของ”ฐานเศรษฐกิจ” ในช่วงสุดสัปดาห์ พบว่าจากกระแสที่ประชาชนเริ่มกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19ว่าจะกินระยะเวลายาวไปนานแค่ไหนยังไม่มีใครตอบได้ อีกทั้งการแพร่ระบาดก็เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนจำนวนมากออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าจำเป็นในช่วงสุดสัปดาห์  โดยพบว่ามีสินค้าที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างค้าปลีก บางประเภทเริ่มขาด  เช่น น้ำดื่ม บางยี่ห้อ ข้าวสาร อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำตาลทราย  และกระดาษทิชชูบางยี่ห้อ   จากการสอบถามของพนักงานขายที่ร้านโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งในย่านลาดพร้าว  ยอมรับว่าช่วงวันหยุดสินค้าจำเป็นหลายอย่างขายดี บางช่วงขาดต้องรอมาเติมเป็นระยะ

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/424832?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนงบประมาณแก่สปป.ลาวในการป้องกัน Covid-19

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนงบประมาณ 1.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในการช่วยเหลือสปป.ลาว .ในการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 และยังมีการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขของสปป.ลาวเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขมากขึ้น โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯ (DCDC)และกระทรวงสาธารณสุขสปป.ลาวภายใต้การสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) อีกด้วย ทำให้การดำเนินการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ในปัจจุปันนอกจากปัญหาเรื่องความยากจนที่เป็นปัญหาเรื้อรังของสปป.ลาวที่กำลังเผชิญอยู่ ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไขคือปัญหาการเข้าถึงระบบสาธารณสุขต่างๆ ของสปป.ลาวที่ในปัจจุบันมีประชากรมากกว่าร้อยละ 50 ที่ได้รับการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการได้รับเงินสนับสนุนดังกล่าวไม่เพียงเป็นการช่วยสนับสนุนการป้องกันไวรัส Covid-19 แต่จะทำให้ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวมีความั่นคงและประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_USA_53.php

กิจกรรม Reviewing Goals and Smart Think

ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ทางสถาบันฯ ได้จัดกิจกรรม Reviewing Goals and Smart Think ณ ห้องจัดเลี้ยง TEPCoT อาคาร 10 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ Mentee ทุกท่านได้พบปะพูดคุย แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์นอกจากนี้ยังมีงานเลี้ยงสังสรรค์ เฮฮา ปาร์ตี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกันให้มากยิ่งขึ้นไปอีกในรูปแบบสบายๆ

เวียดนามเผยส่งออกมันสำปะหลังลดลง ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าการส่งออกมันสำปะหลังของเวียดนามลดลงเล็กน้อย ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยปริมาณการส่งออกมันสำปะหลังในช่วงเวลาดังกล่าว 380,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 127 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.06 และ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งราคาส่งออกเฉลี่ยของมันสำปะหลังอยู่ที่ราว 332 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ จีนยังคงเป็นตลาดมันสำปะหลังของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93 ของมูลค่าส่งออกมันสำปะหลังรวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกมันสำปะหลังไปยังจีนลดลงร้อยละ 21.1 ในด้านปริมาณและร้อยละ 25.1 ในด้านมูลค่า เมื่อเทียบกับชาวงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ปิดตลาดตามเขตชายแดนและระงับกิจกรรมการค้าตามบริเวณชายแดนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกมันสำปะหลังของเวียดนามไปยังจีน นอกจากนี้ จีนยังคงมีความเข็มงวดสำหรับการติดฉลาก,การบรรจุภัณฑ์ และการค้าตามชายแดน เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-cassava-export-reduction-in-two-months/169980.vnp

ยอดขายรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 11%

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม เปิดเผยว่าสมาชิกของสมาคมฯ มียอดขายรถยนต์ 17,616 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว โดยยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถยนต์ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 74 และ 49 ตามลำดับ และมีปริมาณจำหน่าย 4,812 และ 333 คัน ในขณะที่ ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคลในเดือนนี้ 12,471 คัน ลดลงร้อยละ 3 ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ที่ประกอบในประเทศจำนวน 11,697 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ขณะที่ ยอดขายรถยนต์ที่นำเข้าจากต่างชาติจำนวน 5,919 คัน ลดลงร้อยละ 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์รถยนต์ TC Motor ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมดังกล่าว มียอดขายรถยนต์ในเดือนก.พ. 4,332 คัน อย่างไรก็ตาม โตโยต้ายังคงเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์เวียดนาม ด้วยยอดขายรถยนต์ 4,682 คัน รองลงมา TC Motor, Kia, Mazda และ Ford นอกจากนี้ ผู้อำนวยการทั่วไปของฟอร์ดเวียดนาม คาดว่าในปี 2563 ตลาดรถยนต์เวียดนามจะมีการเติบโตร้อยละ 10-20 เนื่องมาจากอุปทานการผลิตรถยนต์และการส่งเสริมการขายที่มีความหลากหลาย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/automobile-sales-up-11-in-february-411220.vov

COVID-19 กระทบเล็กน้อยต่อส่งออกประมงเมียนมา

แม้ว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังประเทศจีนได้ลดลงเล็กน้อยในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่ทำการส่งออกไปให้ทั่วโลกเพียง 4,000 ตันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ทางทะเลประมาณ 4,000 ตันมูลค่ากว่า 3.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.3 พันล้านจัต) ถูกส่งออกไปยังประเทศจีนผ่านเส้นทางการค้าชายแดนมูเซ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 8 มีนาคม การส่งออกส่วนใหญ่เป็นปลาไพค์ ปลาฟลาวน์เดอร์ ปลาจะละเม็ดขาว ปลาคาร์พสีเหลือง ปลาปักเป้า กุ้งและปลาหมึก จุดการค้าชายแดนของชินฉ่วยฮ่อ ลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ปลาไหลและปลามังกรหรือปลาไหลทะเลมีการส่งออกรวม 28.23 ตันมูลค่า 72,075 ดอลลาร์สหรัฐถูกส่งออกระหว่างวันที่ 1 ถึง 8 มีนาคม การส่งออกชายแดนของผลิตภัณฑ์ประมงเป็นไปตามปกติในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากประตูชายแดนชินฉ่วยฮ่อ ปิดทำการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแต่จะเปิดใหม่ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามการค้าผ่านประตูนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออกปลาไหล จนถึงปีที่ 28 กุมภาพันธ์ของปีงบประมาณปัจจุบันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเมียนมามูลค่า 415.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ 361.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/fisheries-exports-not-badly-hit-agriculture-virus.html

COVID-19 พ่นพิษค้าชายแดนเมียนมา – อินเดีย อ่วม

การค้าชายแดนอินเดีย – เมียนมาชะลอตัวลงหลังการปิดประตูชายแดนในมิโซรัมและมณีปุระประเทศอินเดียเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ระบาดไปทั่วโลก รัฐชินและเขตซะไกง์ของเมียนมาซึ่งมีพรมแดนติดกับมณีปุระและมิโซรัมของอินเดียถูกสั่งปิดประตูชายแดนทั้งสามแห่งตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม การค้าชายแดนแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียส่วนใหญ่ผ่าน Htantalan และ Reed camps ในรัฐชิน และตะมู่ในเเขตซะไกง์ ธุรกิจที่พึ่งพาการค้าชายแดนกำลังชะงัก นักท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเดินทาง และการส่งออกสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าการค้าชายแดนตะมู่ในปีงบประมาณ 2561-2562 อยู่ที่ 96.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 95.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 1.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการค้าชายแดนรีดในช่วงเวลาเดียวกันคือ 104.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 82.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 22.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการค้าผ่านประตูชายแดนตะมู่ในช่วงสามเดือนของปีงบประมาณ 2561-2562 ถึงธันวาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 19.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 19.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 29,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันปริมาณการค้าโดยรวมผ่านทางโพสต์การซื้อขายชายแดน Reed อยู่ที่ 14.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 13.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 1.311 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-trade-hit-border-closures.html