อุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว มีแนวโน้มขยายตัวลดลง

ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว ต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก อุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว ส่วนใหญ่พึ่งพาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก โดยในช่วงปี 58 – 60 อุตสาหกรรมแปรรูปมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ในปี 61 เป็นต้นมาอุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัวลดลง แต่ในภาพรวมยังช่วยให้เศรษฐกิจ สปป. ลาว ขยายตัว ดังนั้น เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปและเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ขยายตัวเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจําเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีความยั่งยืน โดยกําหนดรูปแบบอุตสาหกรรมแปรรูปในแต่ละท้องถิ่น ให้ชัดเจน ส่งเสริมการผลิตสินค้าแบบโรงงานและชุมชน สร้างกลไกควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรม ให้มีความสะดวก พร้อมทั้งผลักดันให้กลายเป็นห่วงโซ่การผลิต และสร้างความเชื่อมโยงตลาดเสรีในและนอกภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาแรงงานให้มีฝีมือและสามารถแข่งขันกับนานาชาติ

ที่มา : https://globthailand.com/laos-25032020/

สปป. ลาวเตรียมพัฒนาระบบชำระเงินให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการชำระเงิน

ธนาคารแห่ง สปป. ลาว กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะด้านการเงินและการธนาคารที่ใช้เทคโนโลยีทางการเงิน FinTech เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมในการต่อยอดธุรกิจบนพื้นฐานการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยก้าวไปสู่ระบบ High Value Service เพื่อความมั่นคงทางธุรกิจ ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและเงินตราของ สปป. ลาวในระยะ 10 ปี (2559 – 2568) และวิสัยทัศน์ปี 2573 ได้เน้นการพัฒนาระบบชำระเงินของประเทศให้เป็นศูนย์กลางการชำระเงินที่ทันสมัย ปลอดภัย

ที่มา : https://globthailand.com/laos-03012020/

ไซยะบุรี สู่ หลวงพระบาง เขื่อนใหม่บนความกังวล 2 ฝั่งโขง

น้ำโขงจัดเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ 6 ประเทศ จีน-เมียนมา-ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาซึ่งที่ผ่านมาประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจีน ได้เริ่มโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้แม่น้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาด้วยโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใน สปป.ลาว ที่เพิ่งเปิดดำเนินการอย่าง เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชุมชน และภาคประชาสังคมทั้งในไทยและ สปป.ลาว ในเรื่องของระบบนิเวศ การทำประมง แต่ถึงอย่างไรล่าสุด สปป.ล่าวได้เริ่มดำเนินโครงการเขื่อนหลวงพระบาง จัดเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ “ถอดแบบ” มาจากเขื่อนไซยะบุรีโดยโครงการนี้มีผู้ร่วมทุน 3 ประเทศ ประกอบด้วย เวียดนาม สปป.ลาว  ไทย อย่างไรก็ตามชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างกังวลกับโครงการก่อสร้างเขื่อนไม่ต่างกับเขื่อนแห่งอื่นๆ มีการกล่าวกันว่า น้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง เป็นเพราะจีนไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนทำให้การก่อสร้างครั้งจะต้องมีการศึกษาอย่างระเอียดทั้งในแง่ของพลังงานและระบบนิเวศที่มั่นคงและปลอดภัย 

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-407210

การท่องเที่ยวสปป.ลาวที่กำลังเติบโตจากนักท่องเที่ยวจีน

กระทรวงข้อมูลวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวได้เปิดเผยตัวเลข การท่องเที่ยวล่าสุดแสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสปป.ลาวในปี 62 มีมากขึ้น โดยเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเยอะที่สุด 4.7 ล้านคนเพิ่มขึ้น 14.44% จากปี 2561 ส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านเกิดจาก แคมเปญระหว่างประเทศลาว – ​​จีนซึ่งได้รับความร่วมมือจากจีนเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนจากประเทศจีนมาเที่ยว สปป.ลาวมากขึ้น ขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มวางแผนสำหรับการที่จะกระตุ้นให้การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในปี 63 โดยจะมีการดำเนินการในเรื่องการให้บริการที่ดีขึ้นทั้งด้านสถานที่ท่องเที่ยวและความสะดวกสบายสำหรับการข้ามพรมแดน นอกจากนี้การรักษาระดับของค่าเงินกีบให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี63 โดยรัฐบาลหวังที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 4.7 ล้านคนและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 63

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_17.php

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในกัมพูชา

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกของไทยในกัมพูชา Download

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในสปป.ลาว

วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในเมียนมา