มีอะไรใหม่ ในหลวงพระบาง

ปี 2561 ที่ผ่านมา สปป.ลาวมีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารราชการโดยการยกแขวงหลวงพระบางขึ้นเป็น นครหลวงพระบาง เพื่อยกระดับการพัฒนาและเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญของภูมิภาค โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การดูแลของ UNESCO มีประชากรทั้งสิ้น 71,812 คน เป็นเกษตรกรเพียง 5% มีศักยภาพในการลงทุน รองรับนักท่องเที่ยวได้ 550,000 คนต่อปี ทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคได้ร้อยเปอร์เซ็น ซึ่งหลวงพระบางนั้นเป็นความหวังด้านการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน – สปป.ลาว โดยมี 1 สถานีของหลวงพระบางเป็นจุดจอดสำคัญ ซึ่งเชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวสายวัฒนธรรมภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (LIMEC) ที่เชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน โลจิสติกส์ ฯลฯ กับประเทศไทยและเมียนมา เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สปป.ลาวคาดหวังให้หลวงพระบางนครหลวงพระบางเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว เพราะ 7-8% ของจีดีพี เป็นการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา: กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ

30 เมษายน 2561

จับตา “เบียร์คราฟท์”: ธุรกิจเกิดใหม่ที่โดดเด่นในภาคใต้ของเวียดนาม โอกาสของผู้ผลิตเบียร์จากไทย

ปัจจุบันวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ที่นิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่และจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการบริโภคเบียร์เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย มูลค่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ การบริโภคอยู่ที่ 4.84 ล้านลิตรต่อปี ในนครนครโฮจิมินห์เมืองพบว่ามีธุรกิจการผลิต “เบียร์คราฟท์” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เป็นของชาวตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษ และมีชาวเวียดนามหันมาทำธุรกิจนี้มากขึ้น เพราะการบริโคของชนชั้นกลางหรือรุ่นใหม่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังตั้งตัวเองเป็นเมืองหลวงแห่งเบียร์คราฟต์ของภูมิภาคอาเซียน อาศัยความได้เปรียบในการผลิต ต้นทุนไม่สูง ใช้วัตถุดิบในประเทศ โอกาสของผู้ประกอบการคือ การจัดตั้งธุรกิจง่าย ไม่ยุ่งยาก ตลาดสามารถเติบโตได้อีก ที่ตั้งประเทศสามารถกระจายสินค้าได้ดี นักลงทุนไทยสามารถเข้ามาเปิดโรงงานผลิตหรือรับจ้างผลิตลักษณะ OEM เพื่อนำไปขายได้ทั้งในและต่างประเทศได้

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์

2 มีนาคม 2561

ส่องดู สปป.ลาว อย่าดูถูกตลาดใหม่ที่ยังมีช่องว่างให้เติบโต ก่อนจะคุยเรื่องรุกตลาดจีน

ก่อนที่จะไปบุกตลาดจีน เราควรมาพิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง สปป.ลาวกันก่อนว่ามีอะไรโดดเด่นเหมาะแก่การลงทุนกันบ้าง ด้วยความที่ไทยและ สปป.ลาวเป็นเพื่อนบ้านกัน วัฒนธรรม ภาษา การใช้ชีวิต จึงคล้ายคลึงกันและเป็นจุดเชื่อมต่อกับจีนที่กำลังหนุนสารพัดโครงการไม่ว่าจะเป็น ด้านโครงสร้างพื้นฐานและท่าเรือน้ำลึกเพื่อใช้ในการส่งออก การเป็นทางผ่านให้นักท่องเที่ยวจีนมุ่งสู่ไทย และปัจจุบันได้เกิดกลุ่มผู้บริโภคใหม่คือชนชั้นกลางมากขึ้นมีอำนาจซื้อมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีของสินค้าไทยที่การส่งงออกซึ่งชาว สปป.ลาว ให้ความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและให้อยู่ในระดับเดียวกับสินค้าที่มาจากเกาหลี การจับจ่ายสินค้าส่วนใหญ่ใช้เป็นเงินสดไม่นิยมการผ่อน ไม่นิยมทานข้าวนอกบ้านเพราะมองว่าเป็นการสิ้นเปลือง นับว่าเป็นบ้านใกล้เรือนเคียงที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/laos-blue-ocean/

28 มิถุนายน 2561

จะเข้าไปลงทุนและจ้างงานในกัมพูชา ก็ต้องรู้จักคนของประเทศเขา

ปัจจุบันกัมพูชามีวัยแรงงาน 9 ล้านคน จากประชากร 19 ล้านคน อัตราว่างอยู่ที่ 0.4 % ต่ำเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ก่อสร้าง การท่องเที่ยว และการเกษตร มีกฎหมายแรงงานที่เข้มแข็ง ค่าแรงต่อเดือนอยู่ที่ 170 ดอลล่าร์สหรัฐและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จบขั้นประถมศึกษาและขาดแคลนแรงงานด้านเทคนิคและวิศวกร จากข้อมูลบริษัทไทยที่เข้าไปลงทุนธุรกิจอาหารและวัสดุก่อสร้างจะนำสินค้ามาขายก่อนแล้วจึงตั้งโรงานเพื่อผลิตและส่งออก และให้คนท้องถิ่นบริหารเอง ทั้งนี้จะส่งบุคลากรไทยเพื่อมาสอนงานและวางระบบองค์กรก่อน ปัญหาที่พบ ขาดทักษะในด้านการปฏิบัติและการทำงานเป็นทีม คิดวิเคราะห์ไม่ได้ ให้ความสำคัญกับวันหยุดและเทศกาลต่างๆ ซึ่งจะไม่นิยมทำงานในวันหยุด และปัญหาคอร์รัปชันสูง ดังนั้นการลงทุนต้องศึกษาและเข้าใจวัฒนธรรมประเพณีและข้อควรปฏิบัติต่างๆ ก่อนการลงทุน

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/644218

22 มีนาคม 2561

ไขกุญแจความสำเร็จโครงการมิกซ์ยูสในสิงคโปร์ สู่โอกาสการลงทุนในเวียดนาม

โครงการมิกซ์ยูสกำลังเป็นที่น่าสนใจของเวียดนามในตอนนี้ โดยมี 3 ส่วนที่ร่วมกันผลักดันคือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตแบบ (live – work – play) ในสถานที่เดียว สำหรับปัจจัยความสำเร็จคือ การผสมผสานกันของประเภทอสังหาฯ ทำเล และระบบขนส่งสาธารณะ ยกตัวอย่างของ Marina Bay Sands ในสิงคโปร์ โดยรัฐบาลเวียดนามเล็งการพัฒนาโครงการที่แขวงถูเทียม นครโฮจิมินห์ เพื่อรองรับการขยายพื้นที่ CBD (Central Business District) มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมและลดระยะเวลาของเมืองถูเทียมกับ CBD เช่น สร้างอุโมงค์และสะพาน ส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่ง 40% แต่สิ่งที่พึงระวังคือ การลงทุนเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุนสูงและมีความซับซ้อน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการจัดการเงินทุน เลือกผู้ร่วมลงทุนที่สอดคล้องกับประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ส่วนการลงทุนในต่างประเทศควรดูเงื่อนไขการลงทุน กฎหมาย การจัดการที่ดิน และมาตรการการส่งเสริมภาครัฐเป็นสำคัญ

เดินเกมค้าปลีกสมัยใหม่ในเมียนมา

ร้านค้าปลีกและค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) เป็นที่น่าจับตามองภายหลังอนุญาตให้ทุนต่างชาติครองสัดส่วนการถือหุ้นได้ 100% ใกล้เคียงกับไทยและเวียดนาม เพื่อให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมและราคาที่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค เพราะการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางจาก 9% เป็น 15% ในปี 63 อัตราการค้าปลีกเติบโตในปี 55 – 60 ปีละกว่า 8% ทำให้ทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนรวมกับบริษัทท้องถิ่นในรูปแบบร้านค้าปลีกอุปโภคบริโภคสมัยใหม่ (modern grocery store) บริษัทค้าปลีกมีแนวโน้มที่แข่งขันรุนแรงขึ้นหลังจากบริษัทต่างชาติสามารถลงทุนได้เต็มรูปแบบ ร้านค้าปลีกที่มีโอกาสเติบโตสูงคือ มินิซูเปอร์มาร์เก็ต ที่เน้นประเภทอาหารพร้อมทานแทน เพราะสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่เน้นความสะดวกและมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ทั้งนี้ ความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคจะเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จ โดยจากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเมียนมาในย่างกุ้งและมัณฑะ พบว่าผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญด้านรสชาติและคุณภาพมากขึ้นซึ่งสูงกว่าด้านราคา ส่งผลให้สินค้านำเข้าเป็นที่นิยมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการนำเสนอสินค้าตราห้าง (private label) ถึงแม้ว่าสินค้าจากบริษัทชื่อดังของโลกอย่าง Coca Cola, Unilever หรือ Nestle แต่พบว่า 32% ของสินค้าที่วางขายซึ่งมีทั้งแบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์ต่างประเทศยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ราว 16% เชื่อได้ว่าสามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำได้ โดยเฉพาะสินค้าจากไทยที่ชาวเมียนมาเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าและราคาที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับสินค้าจากยุโรปหรือญี่ปุ่น แต่ความเสี่ยงของผู้ประกอบการคือ ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการขนส่ง ไฟฟ้าที่ไม่เสถียรและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการหาพันธมิตรบริษัทขนส่งของเมียนมา รวมถึงพัฒนาระบบจัดการสินค้าคงคลังและมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: https://www.scbeic.com/th/detail/product/4746

เมียนมาปรับกลยุทธ์อ้าแขนรับนักลงทุน

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการลงทุนของเมียนมาลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับการเติบโตของเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อผ่อนปรนไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งบริษัท Myanmar Credit Bureau Ltd. ขึ้นเป็นแห่งแรกเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้ SME เข้าถึงได้ง่าย เรื่องต่อมาคือการให้ต่างชาติเข้าลงทุนในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งได้ 100% จะเหลือเพียงร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ทที่คงไว้ให้กับคนท้องถิ่น ซึ่งธุรกิจค้าปลีกกำลังเป็นที่จับจ้องของนักลงทุนเพราะด้วยประชากรมากว่า 54 ล้านคนและเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวถึงราว 7% ต่อปี เป็นโอกาสของผู้ประกอบไทยที่เข้าไปลงทุนหรือร่วมค้ากับตัวแทนในท้องถิ่น และปัจจุบัน EXIM BANK ได้เปิดสาขาที่กรุงย่างกุ้งเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในการลงทุนได้อย่างมั่นใจ

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49741_0.pdf

5 มิถุนายน 2561

แสวงหาโอกาสการลงทุนในเมืองรองของเมียนมา

นับตั้งแต่เมียนมาออกกฎหมายว่าด้วยบริษัท (Myanmar Company Law) ที่ให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35% ตั้งแต่สิงหาคม ปี 2561 ส่งผลให้ย่างกุ้งเมืองเศรษฐกิจสำคัญเกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด ราคาที่ดินพุ่งสูง ด้งนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงควรศึกษาการลงทุนในเมืองรองที่สำคัญๆ เช่น เมืองมัณฑะเลย์ มีประชากรมากถึง 1.7 ล้านคน จุดเด่นคือที่ตั้งสามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับอย่างจีนและอินเดีย เมืองมะละแหม่ง จากจำนวนประชากร 1.2 ล้านคน จุดเด่นคือมีวัยแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การตั้งฐานการผลิตและเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือ สามารถกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันไทยลงทุนในการแปรรูปยาง เมืองมะริด อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเล เช่น ไข่มุก หรือการประมง ซึ่งผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนเยอะ และการท่องเที่ยวสะดวกเพราะเดินทางได้ทั้งจากระนองและภูเก็ต จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเจรจาหาพันธมิตรร่วมลงทุน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49914_0.pdf

31 กรกฎาคม 2561

รถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว อีกหนึ่งเส้นทางเชื่อมจีนสู่อาเซียน

ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนใน มากที่สุดด้วยมูลทุนสะสมกว่า 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 30% ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศสะสมทั้งหมด โดยเฉพาะ เส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ที่ถือสัดส่วน 70% ของโครงการ ผลดีต่อการขนส่งไปจีนคือลดต้นทุนได้ถึง 40 – 70% และเส้นทางยังผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างร่วมบ่อเต็นบ่อหาน แขวงหลวงน้ำทา เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว และเขตเศรษฐกิจเฉพาะอุตสาหกรรมและการค้าเวียงจันทน์-โนนทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งทั้ง 3 เขตเศรษฐกิจมีความสำคัญทางด้านเป็นศูนย์กระจายสินค้า แหล่งบันเทิงที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรม Vita โอกาสของผู้ประกอบการไทยคือลงทุนในภาคการผลิต ธุรกิจท่องเที่ยว ค้าปลีก ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งจะเป็นประตูสู่การลงทุนในกลุ่ม CLMV ได้เป็นอย่างดี

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48780_0.pdf

19 มิถุนายน 2560

เมียนมาอนุญาตจัดตั้งบริษัทเครดิตบูโร ข่าวดีสำหรับ SMEs เมียนมา

เดือน พ.ค.61 ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาเห็นชอบจัดตั้งบริษัท Myanmar Credit Bureau Ltd. เป็นบริษัทบูโรแห่งแรกของประเทศ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างสมาคมธนาคารเมียนมา (Myanmar Bank Association) กับ Asia Credit Bureau Holding จากสิงคโปร์ คาดว่าสามารถจัดตั้งได้ภายใน 1 ปีข้างหน้า เครดิตบูโรในเมียนมาส่งผลดีต่อใคร 1.สถาบันการเงินในเมียนมา การมีมีเครดิตบูโรทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในการปล่อยเงินกู้ 2. SMEs เมียนมา ทำให้ SMEs มีโอกาสได้รับสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงของธุรกิจ 3. ภาพรวมการลงทุนในเมียนมา มีส่วนช่วยให้การจัดอันดับ Ease of Doing Business ของ World Bank ในปี 61 อยู่ในอันดับ 171 จากทั้งหมด 190 ประเทศ การจัดอันดับจะเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ที่มา: https://kmc.exim.go.th/detail/20190927191138/20180725140613