COVID-19 ดันราคาข้าวในย่างกุ้งพุ่งสูงขึ้น

ตั้งแต่เดือนมีนาคมจากการระบาด COVID-19 ระบาดครั้งแรกในเมียนมาปริมาณข้าวที่มีไว้สำหรับการค้าลดลงอย่างมาก ทำให้การเดินทางระหว่างรัฐและการเคลื่อนย้ายสินค้าหยุดชะงัก ดังนั้นปริมาณข้าวที่ส่งไปยังศูนย์ค้าส่งบุเรงนองในย่างกุ้งจึงลดลง โดยปกติจะมีรถบรรทุกข้าวประมาณ 200 คันเข้าและออกจากศูนย์ค้าส่งบุเรงนองต่อวันลดลงเหลือ 20 ต่อวัน ด้วยเหตุนี้ราคาข้าวหอม Paw San, Shwebo, Myaung Mya และ Phya Pone เพิ่มขึ้นมากกว่า 4,000 จัตต่อถุงในขณะที่ราคาข้าวส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 23,000 จัตต่อถุง รัฐบาลได้ซื้อข้าวจำนวน 50,000 ตันหรือ 10% ของข้าวสำรองไว้สำหรับการส่งออกและจะขายให้ประชาชนได้ในราคาคงที่ ข้าวพันธุ์อื่น ๆ เช่น Shwe Bo Paw San และ Ayeyarwady Paw San จะวางจำหน่ายในราคาตลาด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rice-prices-rise-yangon-covid-19-restrictions-squeeze-supply.html

สนามบินนานาชาติย่างกุ้งระงับเที่ยวบินในประเทศถึงวันที่ 31 ตุลาคม 63

Reserved: เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด -19 สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจะขยายการระงับเที่ยวบินภายในประเทศไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม เนื่องจากมียอดจำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มขึ้น โดยสายการบินแห่งชาติเมียนมา (MNA) ระงับเที่ยวบินเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 11-30 กันยายน 63 และจะระงับเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมดจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมเนื่องจากเมืองทั้งหมดในเขตย่างกุ้งอยู่ภายใต้คำสั่งให้หยุดเชื้อโดยการอยู่ในที่พักอาศัย (Stay at Home) สายการบิน Mann Yadanarpon จะยังคงระงับเที่ยวบินภายในประเทศจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม สายการบิน Golden Myanmar Airlines ถึงวันที่ 31 ตุลาคม สายการบิน Air KBZ ถึงวันที่ 31 ตุลาคมหรือจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมและ สายการบิน Air Thanlwin ถึงวันที่ 16 ตุลาคม

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-intl-airport-extends-domestic-flight-suspension-until-october-31

ย่างกุ้งกู้เงิน ADB เพื่อปรับปรุงระบบประปา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาและยกระดับระบบประปาในย่างกุ้ง ภายหลังจากคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (YCDC) ได้ยื่นขอทุนภายใต้โครงการ Cities Development Initiative for Asia (CDIA) สำหรับโครงการ Yangon City Water Resilience CDIA ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก ADB เพื่อช่วยเหลือเมืองรองในเอเชียและแปซิฟิกในการเตรียมโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและน่าลงทุน ADB ให้เงินกู้ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างระบบส่งน้ำระยะทาง 34 กิโลเมตรซึ่งจะช่วยถ่ายเทน้ำ 818 ล้านลิตรต่อวันไปยังย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ของสุดในเมียนมา ซึ่งเศรษฐกิจย่างกุ้งคิดเป็น 23% ของ GDP ของเมียนมา ด้วยประชากร 5.2 ล้านคนคิดเป็น 10% ของประเทศ ตั้งแต่ปี 57 ถึง 62 มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.2% ต่อปีแต่มีน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของครัวเรือนทั้งหมดที่สามารถเข้าถึงน้ำได้ โครงการนี้จะเสริมสร้างความสามารถของ YCDC ในการดำเนินงานและจัดการบริการน้ำและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดทำแผนงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดหาเงินทุนด้วยตนเองและตอบสนองความต้องการบริการน้ำที่เพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/yangon-receives-adb-loan-improve-water-supply-system.html

ธุรกิจสุราท่ามกลางวิกฤต COVID -19

สมาคมผู้ค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เผยร้านเหล้าเกือบทั้งหมดในเย่างกุ้งปิดตัวลงประมาณร้อยละ 40  ผับและร้านเหล้าส่วนใหญ่เปิดให้บริการอีกครั้งหลังผ่านวิกฤติ COVID–19 ระลอกแรกแต่สถานการ์ในตอนนี้ดูเหมือนจะแย่ลงกว่าเดิม เนื่องจากเคอร์ฟิวที่มีมาตั้งแต่เมษายน การห้ามชุมนุม ผับและร้านเหล้าจึงถูกสั่งให้ปิดดำเนินการ บรรดาสถานประกอบการไม่สามารถจ่ายภาษีสรรพสามิต ภาษีอื่น ๆ ค่าเช่าร้านและค่าแรงได้ ดังนั้นจึงมีหนี้สินจำนวนมากและปิดตัวลง ภาครัฐจึงอาจจำเป็นต้องผ่อนปรนโดยอาจทำให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสุราและภาษีเป็นงวด ภาษีของสุราต้องจ่ายร้อยละ 60 ของภาษีนอกเหนือจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันภาครัฐได้ออกใบอนุญาตขายสุรา 9,389 ใบในเขตย่างกุ้งของปีงบประมาณ 61-62 คาดว่าปีนี้เมียนมาจะมีรายได้จากภาษีสรรพสามิต 1.3 จัตพันล้าน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/liquor-sector-among-latest-covid-19-casualty-local-economy.html

เมียนมาออกใบอนุญาตการค้ามูลค่ากว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงโควิด -19

กรมการค้าภายใต้กระทรวงพาณิชย์เผย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 23 กันยายน 63 มีการออกใบอนุญาตสำหรับการซื้อขายทั้งหมด 23,820 ใบซึ่งมีมูลค่าประมาณ 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทุกคนสามารถขอใบอนุญาตการซื้อขายทางออนไลน์ได้แล้ว ซึ่งสามารถให้บริการเกือบ 200 จาก 300 ใบอนุญาตโดยไม่ต้องมีการพบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เกือบร้อยละ 70 ของใบอนุญาตทั้งหมดได้ดำเนินการทางออนไลน์ตั้งแต่ COVID-19 ระบาดครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยสามารถชำระค่าธรรมเนียมได้ทางออนไลน์กับ Myanmar Payment Union ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 63 พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System) รหัส 888 และ 650 HS จะได้รับการขยายการส่งออกและการนำเข้าสำหรับการสมัครออนไลน์ตามลำดับ โดยมีการเตรียมการสำหรับการสมัครออนไลน์เต็มรูปแบบ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-issues-over-us8-billion-worth-trade-permits-during-covid-19.html

ระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเมียนมาเริ่ม 1 ตุลาคม 63 นี้

ธุรกิจต่างๆ ในเมียนมาได้รับการแจ้งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าใหม่ซึ่งที่ยื่นคำขอก่อนจะมีสิทธิก่อน (First to File)” จะถูกนำมาใช้สำหรับการจดทะเบียนและการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งแตกต่างจากระบบผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า (First to Use) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งจะช่วยให้ บริษัทต่างๆ มีช่องทางตรวจจับ ปกป้องลิขสิทธิ์ของตนและส่งเสริมการแข่งขันนวัตกรรมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ววันที่ลงทะเบียนจะเป็นวันที่ยื่นจะทะเบียนตามที่กระทรวงกำหนด โดยสามารถชำระค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนผ่านธนาคารบนมือถือได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/trademark-registration-system-open-october-1.html

รัฐบาลเมียนมาแจกเงินแรงงานที่ไม่มีประกันสังคม

รัฐบาลเมียนมาวางแผนจัดหาเงิน 30,000 จัตต่อคนสำหรับแรงงานของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งให้ทำงานจากที่บ้านที่ไม่มีประกันสังคม สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมสหภาพเมียนมา(UMFCCI) หารือเกี่ยวกับแผนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินให้กับแรงงาน กระทรวงแรงงานคนเข้าเมืองและประชากรประกาศว่าแรงงานงานที่ได้รับผลกระทบจะได้รับค่าจ้างร้อยละ 40 ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่แรงงานที่ไม่มีประกันสังคม

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-distribute-cash-workers-without-social-security.html

เมียนมาหยุดนำเข้าไก่จากความต้องการที่ลดลง

เมียนมาระงับการนำเข้าไก่เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 เนื่องจากความต้องการสัตว์ปีกในท้องถิ่นที่ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แม้ว่าต้นทุนของลูกไก่จะสูงกว่า 500 จัต แต่ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 150 จัตต่อตัว ประธานสมาพันธ์ปศุสัตว์เมียนมาจึงได้เสนอให้งดนำเข้าเป็นเวลาสามเดือน แต่ทางการได้อนุมัติการระงับหนึ่งเดือนไปก่อน สมาคมผู้เพาะพันธุ์และผู้ผลิตปศุสัตว์แห่งเมียนมาตัดสินใจว่าจะขยายการห้ามนำเข้าเป็นรายเดือนหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริโภคในท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าลูกไก่กว่า 1.9 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคมแต่ลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายนเนื่องจากมีมีการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ การผลิตและการบริโภคในท้องถิ่นของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัวต่อเดือน การบริโภคไก่อยู่ที่ประมาณ 500,000 ตัวต่อวันและเนื่องจากความต้องการที่ลดลงผู้เลี้ยงไก่จึงสูญเสียรายได้ต่อวันประมาณ 50 ล้านจัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/chicken-imports-banned-myanmar-poultry-demand-falls.html

เมียนมาปล่อยเงินกู้รอบสองกว่า 100 พันล้านจัตให้ธุรกิจสู้ภัยโควิด

รัฐบาลได้เริ่มจ่ายเงินกู้จำนวน 20,700 ล้านจัตเพื่อช่วยเหลือบริษัทมากกว่า 10,000 แห่งที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รวมถึงบริษัทที่อยู่นอกย่างกุ้ง เงินเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณจำนวน 1 แสนล้านจัต รอบที่ 2 ของรัฐบาลเมียนมา ซึ่งจากธุรกิจ 10,000 แห่ง มากกว่า 7,600 แห่งมาจากภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ โดยเงินจะจ่ายล็อตแรกให้กับธุรกิจ 1,041 แห่ง จะมีเพียง 180 แห่งที่เป็นธุรกิจในย่างกุ้ง ซึ่งเงินกู้ถูกจ่ายไปใน 9 ภาคธุรกิจจะถูกรวมอยู่ในเงินล็อตที่ 2 ได้แก่ เกษตรกรรม ปศุสัตว์และประมง การส่งออก การทดแทนการนำเข้า ห่วงโซ่อุปทาน อาหาร บริการการจัดหางานในต่างประเทศและอาชีพ โดยระยะเวลาการกู้ยืม 12 เดือนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 กลุ่มธุรกิจแรกที่ได้รับ ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โรงสีข้าว ฟาร์มปศุสัตว์ และธุรกิจอาหาร ภายใต้กองทุน 100 พันล้านจัตล็อตแรกได้จ่ายให้กับผู้ที่สมัครเข้ามา 3,393 จากผู้สมัครมากกว่า 4250 คน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-commences-second-k100b-covid-19-loan-business.html

หวั่นโควิดรอบ 2 จำกัดขนส่งสินค้าข้ามเมียนมาเหลือ 6 คัน

นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เปิดเผยถึงการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-เมียนมาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า ปัจจุบันปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงรายลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในเมียนมา ทำให้ไทยต้องยึดมาตรการด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีปริมาณการขนส่งสินค้าราว 1,000 เที่ยวต่อวัน แต่ปัจจุบันหลังเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทางประเทศเมียนมามีการจำกัดปริมาณการเดินรถขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งสินค้าด่านดังกล่าวเหลือเพียง 6 คันต่อวัน ขณะเดียวกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างหนักในเมียนมา ทำให้ต้องควบคุมด้านความปลอดภัยในการเข้า-ออกประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบ 2

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/450100