เมียนมาตั้งเป้าส่งออกน้ำตาล 100,000 ตัน ไป เวียดนาม ในฤดูกาลนี้

Myanmar Sugar and Cane Related Products Association เผย เมียนมาตั้งเป้าส่งออกน้ำตาลประมาณ 100,000 ตันไปยังเวียดนามในฤดูเก็บเกี่ยวนี้ โดยผ่านทางทะเล ขณะที่ปีที่แล้วสามารถส่งออกได้ถึง 160,000 ตัน ที่ลดลงเหลือ 100,000 ตัน เนื่องจากผลอ้อยในประเทศน้อยลงและราคาอ้อยที่เพิ่มสูงขึ้น ปีที่แล้วราคาอ้อยอยู่ที่ 42,000-43,000 จัตต่อตันเท่านั้น ส่งผลให้ชาวไร่อ้อยประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากต้นทุนในการเพาะปลูกที่สูงขึ้น จึงลดการปลูกในปีนี้ลง กระทบให้ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 จัตต่อตัน ซึ่งจากข้อมูลพบว่าปีที่แล้วพื้นที่ในการปลูกอ้อยครอบคลุมพื้นที่ 450,000 เอเคอร์ของทั้งประเทศ แต่ปีนี้เหลือเพียง 430,000 เอเคอร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-targets-to-export-100000-tonnes-of-sugar-to-viet-nam-this-sugarcane-season/#article-title

“บ้านปู” ลุยซื้อโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในเวียดนาม

บริษัท บ้าน ปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงาน ได้ลงนามเข้าลงทุนโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ในเวียดนาม จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 26.7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโรงงานดังกล่าวอยู่ในจังหวัดซาลาย (Gai Lai) และนิญถ่วน (Ninh Thuan) ด้วยกำลังการผลิต 15 และ 35 เมกะวัตต์ ตามลำดับ อีกทั้ง โรงงานทั้งสองแห่งได้เข้าร่วมมาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (FiT) มีอัตรารับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 0.0935 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ และมีสัญญาซื้อไฟฟ้ากับการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ระยะเวลา 20 ปี ซึ่งข้อตกลงข้างต้นนั้น ทรัพย์สินจะโอนไปยังบริษัท BRE Singapore Pte. Ltd (BRES) ที่เป็นบริษัทย่อยของบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1120843/thai-company-buys-two-more-solar-plants-in-viet-nam.html

‘เวียดนาม’ เผยเดือน ม.ค. ขาดดุลการค้า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค. ปี 2565 เวียดนามขาดดุลการค้า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเช้ามีมูลค่า 29.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 1.6% ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญเหรียญ มีอยู่ 4 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 46.8% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด โดยวัตถุดิบการผลิตเป็นสินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด และจีนเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม อย่างไรก็ดี ในเดือน ม.ค. เวียดนามเกินดุลการค้ากับตลาดสหภาพยุโรป 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-trade-deficit-of-500-million-usd-in-january/221508.vnp

ผลสำรวจ JETRO ชี้ ‘บ.ญี่ปุ่น’ เกินครึ่งบอกต้องการขยายกิจการในเวียดนาม

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยผลสำรวจพบว่ากิจการญี่ปุ่นในเวียดนามส่วนใหญ่ 55% เล็งขยายธุรกิจในประเทศอีก 1-2 ปีข้างหน้า จากความคิดเห็นของบริษัทญี่ปุ่น 4,600 รายที่ดำเนินกิจการ 20 ประเทศทั่วโลก รวมถึงบริษัทที่ดำเนินกิจการในเวียดนาม 700 ราย สำรวจภายในวันที่ 25 ส.ค. – 24 ก.ย.64 ผลการสำรวจชี้ว่ากิจการญี่ปุ่นในเวียดนาม 42.5% คงอัตราการผลิต ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ยาวนาน แต่กิจการญี่ปุ่นเพียง 2% ตัดสินใจที่จะลดขนาดกิจการ ทั้งนี้ เวียดนามยังคงมีความได้เปรียบในเรื่องของขนาดตลาด ศักยภาพและคุณภาพของแรงงาน ตลอดจนประเด็นทางด้านกฎหมายที่มีความโปร่งใส

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/over-half-of-japanese-firms-want-to-expand-operations-in-vietnam-jetro-post919470.vov

‘โคลา-โคล่า’ ทุ่ม 136 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างโรงงานในจังหวัดล็องอาน

คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจล็องอาน (Long An) ประกาศออกใบอนุญาตการลงทุนแก่บริษัท “โคคา-โคล่า” ผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมยักษ์ใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างโรงงานผลิตน้ำอัดลมในจังหวัดล็องอาน ภาคใต้ของประเทศเวียดนาม โครงการดังกล่าว มีเม็ดเงินลงทุนรวมกว่า 3.1 ล้านล้านดอง (136 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมฟูอันถั่น (Phu An Thanh) และถือเป็นหนึ่งในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ที่ทางหน่วยงานของจังหวัดอนุญาตเมื่อต้นปี 2565 นอกจากนี้ ในปีที่แล้ว จังหวัดล็องอานเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รายใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศ ด้วยเม็ดเงินราว 3.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cocacola-invests-136millionusd-factory-in-long-an/220981.vnp

‘เวียดนาม-ญี่ปุ่น’ มูลค่าการค้าแตะ 42.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 64

จากข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ามูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 42.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นการส่งออก มีมูลค่า 20.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะเดียวกันการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น มีมูลค่า 22.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้เวียดนามขาดดุลการค้ากว่า 2.52 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเป็นสินค้าสำคัญสูงสุด ด้วยมูลค่าการนำเข้าราว 6.22 พันล้านเหรียญสหรัญ คิดเป็น 27.5% ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากตลาดญี่ปุ่น รองลงมาเครื่องจักร อะไหล่ และผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ในขณะเดียวกัน สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดญี่ปุ่น มีจำนวน 3 รายการ ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (3.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาเครื่องจักร อะไหล่ (2.56 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสินค้าเวียดนาม โดยเฉพาะสินค้าเกษตร กำลังกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-japan-trade-turnover-hits-us427-billion-in-2021-post919292.vov

‘อาลีบาบา’ เผยโอกาสในการส่งออกสดใสของผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม

Alibaba.com แพลตฟอร์ม B2B เปิดเผยรายงานในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในเวียดนาม ปี 2565” โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่อยู่ในภาคการส่งออก แสดงให้เห็นถึงโอกาสการส่งออกที่สดใสของผู้ประกอบการ SMEs เวียดนามที่ควรมุ่งการขยายธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบา อาทิเช่น ผลผลิตเกษตร ผลิตภัณฑ์ความงามและการดูแลส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัยและสวน เป็นต้น ทั้งนี้ หากแบ่งผลิตภัณฑ์ หมวดผลผลิตเกษตร พบว่าน้ำมันสำหรับประกอบอาหารเป็นสินค้าที่มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากผู้บริโภคกว่า 300 คนเฉลี่ยต่อวัน โดยอินเดีย เลบานอน อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกาและจีน เป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุด ในขณะที่ หมวดผลิตภัณฑ์ความงามและการดูแลส่วนบุคคล พบว่าการต่อผมและวิกถือมีสัดส่วนการบริโภคมากที่สุด ด้วยจำนวนผู้ใช้เฉลี่ยมากกว่า 3,500 รายต่อวัน อีกทั้ง หมวดที่อยู่อาศัยและการทำสวน พบว่าอุปกรณ์ครัวและเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เป็นสินค้าขายดีที่สุดและยังเป็นสินค้าสำคัญที่ตอบสนองความต้องการของตลาดสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ บราซิลและรัสเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/alibaba-unveils-promising-export-opportunities-for-vietnamese-smes-post919238.vov

‘ธนาคารดิจิทัลเวียดนาม’ ระดมทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ

จากข้อมูลรายงานของ TechInAsia เปิดเผยว่าธนาคารดิจิทัลเวียดนาม “Timo” ประกาศระดมทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระดับโลกอย่าง Square Peg ตลอดจนซิสโก้และจังเกิล เวนเจอร์ส (Jungle Ventures) , Granite Oak, Phoenix Holdings และนักลงทุนอิสระรายอื่นๆ ยังได้เข้าร่วมในการระดมทุนครั้งนี้

ทั้งนี้ การระดมทุนดังกล่าว ธนาคาร Timo จะนำเงินไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีและมุ่นเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์เฉพาะด้านสำหรับตลาดเวียดนาม นอกจากนี้ ตามรายงานของ McKinsey & Company ชี้ว่าผู้ใช้บริการจากบริษัทฟืนเทคในเวียดนาม เพิ่มขึ้นจาก 16% ในปี 2560 เป็น 56% ในปี 2564 ซึ่งความนิยมของการใช้ E-wallets และ Fintech ในเวียดนามนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/sci-tech-environment/vietnamese-digital-banking-startup-gets-20-million-usd-809687.html

‘รัฐบาลเวียดนาม’ เล็งชงปรับลด VAT จาก 10% เหลือ 8% ในปี 65

หลังจากดำเนินมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ มูลค่ากว่า 350 ล้านล้านดอง (15 พันล้านเหรียญสหรัฐ) รัฐบาลกำลังพิจารณาปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ (VAT) เหลือ 8% ในปี 2565 (ลดลง 2% จากอัตราปัจจุบัน) เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือน ก.พ. นายโฮ ดึก ฟอก รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเวียดนาม กล่าวว่าการที่รัฐบาลดำเนินการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มมากกว่าภาษีเงินได้ เนื่องจากการลดภาษี VAT จะช่วยธุรกิจทุกภาคส่วน ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะผู้ที่รายงานผลกำไรเท่านั้น โดยบริษัทส่วนใหญ่ได้รับการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเว้นสาขาโทรคมนาคม การธนาคารและการเงิน การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เหมืองแร่และปิโตรเคมี และอื่นๆ

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์และผู้ประกอบการ แสดงความกังวลว่าการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม 2% อาจไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคและกิจกรรมทางธุรกิจได้ในปีนี้ ตลอดจนผลการบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.พ. นับว่าเป็นการเสียโอกาสที่จะกระตุ้นการบริโภคก่อนที่จะถึงเทศกาลตรุษเวียดนาม (Lunar New Year)

ที่มา : https://www.nationthailand.com/international/40011214

ธนาคารกลางสปป.ลาว เวียดนาม ลงนาม MOU แลกเปลี่ยนข้อมูล

รถไฟบรรทุกสินค้าที่บรรทุกสินค้าไฮเทคได้ออกเดินทางจากซูโจวในมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีนไปยังเวียงจันทน์ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 11 ม.ค. เป็นรถไฟบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศขบวนแรกจากภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีไปยังลาว เป็นจุดเริ่ใต้นที่ดีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีผลบังคับใช้ รถไฟบรรทุกสินค้าครบครันด้วยจอ LCD และชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทไฮเทคในซูโจวและเมืองอื่นๆ ของมณฑลเจียงซู โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 50 ล้านหยวน (7.77 ล้านดอลลาร์) รถไฟจะมาถึงเวียงจันทน์ในอีกเจ็ดวัน โดยสินค้าจะถูกส่งไปยังประเทศเวียดนาม มาเลเซีย ไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเดินขบวนของรถไฟตามโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และแนะนำผลิตภัณฑ์จีนเพิ่มเติมให้กับประเทศสมาชิก RCEP โดยจะเดินทางระหว่างจีนและลาวสัปดาห์ละครั้ง

ที่มา:http://regional.chinadaily.com.cn/SuzhouNewDistrict/2022-01/14/c_699112.htm