สปป.ลาว เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่

กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว ประกาศเปลี่ยนแปลงผู้นำระดับสูงของกระทรวง เพื่อเสริมสร้างการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวงพลังงานฯ โดยได้แต่งตั้งนายสินาวา สุภานุวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ขึ้นเป็นรัฐมนตรี และให้นายจันทบูน สุขะลุน อดีตผู้อำนวยการการไฟฟ้าลาว (EDL) และนายชาญสะแวง บุ่งนอง ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบองค์กรของกระทรวง รวมถึงการจัดสรรบุคลากรระดับสูงอย่างเหมาะสม ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากคำแนะนำของพรรค “การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเกิดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการตัดสินใจในระหว่างการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 9 ของพรรคปฏิวัติประชาชนลาว” นายโพไซ สายะสอน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่กล่าวในพิธีส่งมอบตำแหน่งครั้งนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_34_Energy_y24.php

ผลวิจัยชี้อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สปป.ลาว สูงที่สุดในอาเซียน

ผลการวิจัยล่าสุดยืนยันว่า สปป.ลาว มีอัตราการตั้งครรภ์ในประชากรกลุ่มวัยรุ่นสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน การศึกษาที่ดำเนินการโดย Marie Habito เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโสของสถาบัน Burnet ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยทางการแพทย์ในออสเตรเลีย ในหัวข้อการทำความเข้าใจเส้นทางที่หลากหลายในการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เผยให้เห็นปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดข้อมูลที่น่าตกใจนี้ โดยสรุปแล้ว ผลการวิจัยบ่งชี้เห็นได้ชัดว่า สปป.ลาว ยังคงต่อสู้กับอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่สูงที่สุดในภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศที่จำกัด ไปจนถึงแรงกดดันทางสังคม ความท้าทายที่เด็กสาวชาวลาวต้องเผชิญนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับมือ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความยากลำบากเหล่านี้ ศูนย์และองค์กรท้องถิ่นต่างมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความพยายามร่วมกันเพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนลาวเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ และผลักดันนโยบายที่ครอบคลุมเพื่อจัดการกับต้นตอของปัญหา ตลอดจนสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กสาวทั่วประเทศ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/15/laos-teen-pregnancy-rates-highest-in-southeast-asia-study-reveals-key-factors/

รัฐบาล สปป.ลาว ให้คำมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามแผนที่วางไว้

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล สปป.ลาว พยายามบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และก้าวขึ้นเหนือสถานะประเทศด้อยพัฒนาตามที่วางแผนไว้ในปี 2569 การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อ “เร่งดำเนินการตามผลการทบทวนระยะกลางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เพื่อบรรลุ SDGs และ LDC Graduation” การประชุมดังกล่าวนี้มีนายคัมเจน วงศ์โพซี รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เป็นประธาน และนายบาโคดีร์ เบอร์คานอฟ ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติ และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คนจากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ กระทรวง องค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานอื่นๆ นายคำเจน ได้กล่าวในงานประชุมว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจะมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ควบคุมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเข้มงวดมากขึ้น และลดความแตกต่างในการพัฒนา ระหว่างเขตเมืองกับชนบท

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_33_Govt_y24.php

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล สปป.ลาว แนะนำทุกภาคส่วนร่วมกันปรับปรุงการท่องเที่ยว

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล สปป.ลาว ได้แนะนำให้ภาครัฐและเอกชนสร้างการเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว และบริการที่โรงแรม รวมถึงร้านอาหาร  ศาสตราจารย์ ดร.กิแก้ว เคยคำพิทูน รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมเพื่อรายงานผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ประจำปี 2566 ว่า ควรมีการปรับปรุงเพื่อให้มั่นใจในการบริการที่มีคุณภาพ พัฒนากิจกรรมและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ของประเทศ ตลอดจนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยรัฐบาลและภาคธุรกิจควรร่วมมือกันในการโฆษณา พัฒนา และจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การเกษตร และความยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น สิ่งนี้จะกระตุ้นให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว และใช้ผลิตภัณฑ์ของลาว รวมถึงช่วยให้แน่ใจว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดได้รับการควบคุมที่ดีขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_32_DPM_y24.php

สปป.ลาว เปิดตัวระบบการเงินใหม่ เพื่อส่งเสริมการจัดการเงินตราต่างประเทศ

กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ และธนาคารแห่ง สปป. ลาว จะร่วมกันใช้ระบบทางการเงินใหม่ เพื่อช่วยติดตามและจัดการการไหลของเงินตราต่างประเทศในประเทศลาว ระบบนี้เรียกว่า Capital Flow Management System (CMS) ซึ่งจะเชื่อมโยงการจดทะเบียนธุรกิจ รหัส Asycuda และธุรกรรมของผู้ส่งออกและนักลงทุนกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางของ สปป.ลาว ระบบนี้ยังจัดให้มีแดชบอร์ดสำหรับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามมูลค่าและผลิตภัณฑ์ของกิจกรรมการส่งออกและนำเข้า นอกจากนี้ ระบบจะมอบสิทธิประโยชน์หลายประการให้กับภาครัฐ ผู้ประกอบการ และธนาคาร ให้ได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการชำระเงินจากปลายทางที่เฉพาะเจาะจง วางแผนรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ลดเวลาในการโต้ตอบกับธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสินค้าและเวลาที่มาถึง สรุปบัญชีการลงทุนต่างประเทศในรูปแบบวัสดุและเงินสด และตรวจสอบข้อมูลกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องแบบเรียลไทม์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_32_New_y24.php

‘สปป.ลาว เตรียมจัดทำสำมะโนดิจิทัลครั้งแรก’ ในปี 2568

รัฐบาล สปป.ลาว และองค์กรระหว่างประเทศ กำลังเตรียมการสำหรับสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ (PHC) ครั้งที่ 5 ในปี 2568 ซึ่งจะเป็นการสำรวจสำมะโนดิจิทัลครั้งแรกในประเทศลาว จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งก่อนในปี 2558 สปป.ลาว มีประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน โดยการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งใหม่นี้ มีเป้าหมายที่จะรวบรวมข้อมูลคุณภาพสูงที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการพัฒนาประเทศ โดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) ของ สปป.ลาว ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ได้จัดการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อระดมการสนับสนุนและทรัพยากรสำหรับการดำเนินการตามการสำรวจสำมะโนประชากร ทั้งนี้ การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งที่ 5 วางแผนที่จะครอบคลุมประชากรประมาณ 1.4 ล้านครัวเรือนใน 18 แขวง ให้แล้วเสร็จภายในสามสัปดาห์ โดยใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์พกพา เช่น สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต การสัมภาษณ์บุคคลโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAPI) ซึ่งผู้สัมภาษณ์ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการรวบรวมข้อมูลแบบเห็นหน้ากัน และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เทคโนโลยี (GIS) สำหรับการจัดเก็บ การแสดงภาพ การวิเคราะห์ และการตีความข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/13/71134/

รัฐบาล สปป.ลาว จับตานักท่องเที่ยว 6.2 ล้านคน ใช้จ่ายมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2567

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว​ กล่าวในระหว่างการประชุมเพื่อรายงานสรุปงานประจำปี 2566 ของกระทรวง และแผนปี 2567 โดยรับบาล สปป.ลาว คาดหวังว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติมากกว่า 6.2 ล้านคน เดินทางท่องเที่ยวในประเทศลาวตลอดทั้งปี 2567 โดยคาดการณ์รายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ใช้จ่ายเป็นค่าทัวร์ ที่พักแรม อาหาร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ในจำนวนนี้คาดว่านักท่องเที่ยวจะเป็นชาวลาวมากกว่า 2.2 ล้านคน ใช้จ่ายประมาณ 368 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่นักท่องเที่ยวเกือบ 4 ล้านคน จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและจะใช้จ่ายเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_31_Govt_eyes_y24.php

สปป.ลาว-ลักเซมเบิร์ก เสริมสร้างความร่วมมือในหลายมิติ

รัฐบาล สปป.ลาว และลักเซมเบิร์ก ย้ำความสัมพันธ์ในการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านมิติที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เช่น สุขภาพและโภชนาการ การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาทักษะและการจ้างงาน หลักธรรมาภิบาล การเข้าถึงความยุติธรรม และหลักนิติธรรม โดยทั้งสองประเทศร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการหุ้นส่วนทวิภาคี ครั้งที่ 15 ที่เวียงจันทน์ การประชุมดังกล่าวมีรัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของ สปป.ลาว นายคำเจน วงศ์โพซี เป็นประธานในการประชุม และ Xavier Bettel รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าต่างประเทศของลักเซมเบิร์ก คณะผู้แทนทั้งสองประเทศได้ทบทวนความคืบหน้าของการดำเนินโครงการภายใต้โครงการความร่วมมือฉบับที่ 5 ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2566-2570 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือระดับทวิภาคี พหุภาคี และภาคประชาสังคมของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_30_LaosLuxembourg_y24.php

ศรีลังกา-สปป.ลาว ย้ำเส้นทางความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ศาสนา และเทคโนโลยี

Damith Aluge ในฐานะผู้แทนของรัฐบาลศรีลังกาในประเทศลาว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความร่วมมือในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ในขณะที่ศรีลังกาและลาวทำงานเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ตลอด 16 ปี ในการสร้างความสามัคคีและความก้าวหน้าได้มอบความหวังสำหรับอนาคตที่สดใสด้วยการเสริมสร้างวัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีร่วมกัน ผลงานที่โดดเด่นอย่างหนึ่งที่ Damith Aluge ทำระหว่างดำรงตำแหน่ง คือ การช่วยเหลือชาวศรีลังกาที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อแก้ว เขาเปิดเผยว่าการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จนั้นเป็นความพยายามร่วมกันระหว่างรัฐบาลลาวและศรีลังกา รวมถึงองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานแห่งสหประชาชาติ (IOM) ที่ช่วยเหลือชาวศรีลังกากว่า 70 คน ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างราบรื่น

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/09/sri-lanka-in-laos-16-years-of-building-bridges-in-tourism-religion-and-tech/

รถไฟลาว-จีน จำนวนผู้โดยสารและสินค้าเติบโตต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2567

โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ของการรถไฟจีน-ลาว ได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร 27.87 ล้านคน และสินค้า 32.56 ล้านตัน นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 สะท้อนให้เห็นถึงแรงผลักดันที่แข็งแกร่งในด้านการค้าและธุรกิจระหว่างจีนและลาว จนถึงต้นปี 2567 รถไฟสายนี้ได้ขนส่งสินค้าไปแล้ว 2.01 ล้านตัน โดยเป็นสินค้าข้ามพรมแดน 55,000 ตัน เพิ่มขึ้น 29.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน การขนส่งสินค้าทางรถไฟกับประเทศในกลุ่มอาเซียนมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกรถไฟสายนี้ ปัจจุบันเส้นทางรถไฟลาว-จีนเส้นทางในการนำเข้าผลไม้เมืองร้อนจากไทยและ สปป.ลาว เพื่อนำไปจำหน่ายในมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน นอกจากนี้ ผัก ผลไม้ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และเครื่องใช้ในบ้านของจีน ยังถูกส่งไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางทางรถไฟอีกด้วย

ที่มา : https://www.globaltimes.cn/page/202402/1306924.shtml