ราคาไข่ในประเทศลดลงผลจากปัญหาโลจิสติกส์

ประธานสหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาเผยราคาไข่ลดลงมาอยู่ที่ 1400 จัต ต่อ viss (1.65 กิโลกรัม) จากระดับ 2600 จัต เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก่อนที่จะดีดตัวขึ้นมาที่ระดับ 2100 จัต ปัญหาอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุล ทำให้การขนส่งไข่ไปยังพื้นที่ชายแดนอย่างมูเซ และอากาศอบอุ่นในปีนี้ทำให้ผลผลิตลดลงและผลักดันราคาให้ลดลงอีก จากสถิติมีไก่อยู่ราว 20 ล้านตัวและ 75% เป็นไก่ไข่ ผลผลิตในท้องถิ่นกำลังเผชิญแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาใน เช่น จีน ไทย และอินเดียได้ ซึ่งการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ทำโดยเกษตรกรเพียงเล็กน้อยและยังใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม มีเกษตรกรเพียง 5 –10% ที่เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเป็นแบบสมัยใหม่ซึ่งต้นทุนจะสองกว่าแบบดั้งเดิมถึงสองเท่า ในปีนี้การลงทุนจากต่างประเทศจะมาจากอเมริกา อินเดีย และมาเลเซียมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรในท้องถิ่นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ตามปกติฟาร์มขนาดใหญ่จะมีความสามารถในการเลี้ยงไก่ไข่ 10,000-50,000 ตัว และที่ไก่เนื้อ 3,000 ตัว ขณะที่บริษัทต่างชาติคาดว่าจะเลี้ยงไก่หลายล้านตัวและสามารถขยายธุรกิจได้มากด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกและผลิตอาหารไก่ได้เองทำให้ต้นทุนต่ำลง ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสองข้อในการพัฒนาอุตสาหกรรมคือการจัดหาเงินทุนจากธนาคารและการเข้าถึงที่ดิน ผลผลิตที่ผ่านมาลดลงเนื่องจากความร้อนในเดือน มิ.ย.และราคาไก่สดสร้างสถิติสูงสุดเป็นเวลาสองสัปดาห์ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนธุรกิจจะต้องหันไปใช้เทคนิคการทำฟาร์มแบบเย็นที่ทันสมัยมากขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/local-egg-prices-drop-due-logistical-issues.html

โตโยต้าเมียนมาเริ่มผลิตไฮลักซ์

โตโยต้ามอเตอร์เมียนมา (TMY) จะเริ่มผลิตไฮลักซ์เมียนมาเป็นครั้งแรกและยังมีแผนที่จะผลิตแบรนด์รถยนต์อื่น ๆ หลังจากประเมินสถานการณ์ตลาด การก่อสร้างโรงงานรถยนต์ได้เริ่มขึ้นคาดจะเริ่มให้บริการใน ส.ค. 63 คาดว่าจะผลิตได้ในปี 64 กุมภาพันธ์ ผลิตได้ 2,500 คัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่นญี่ปุ่นวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงงานอัตโนมัติแห่งใหม่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่าในวันที่ 1 พ.ย.62 ที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่า 52.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแรงงาน 130 คน และเริ่มผลิตรถยนต์ในปี พ.ศ. 64 โดยตั้งเป้าผลิตโตโยต้าไฮลักซ์ 2,500 คันโดยใช้ระบบน็อคดาวน์ (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

ทศวรรษหน้า ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS ได้

การประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองของ บริษัท ขนส่งสาธารณะย่างกุ้งประจำเมือง (YUPT) การขนส่งสาธารณะในเขตย่างกุ้งสามารถพึ่งพา YBS (Yangon Bus Service) ได้ในทศวรรษหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการไฟฟ้าและการขนส่งทางถนนกล่าวระหว่างการ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟรอบเมืองสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณหมื่นคนในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินไม่สามารถดำเนินการได้ มีผู้โดยสารประมาณ 2.5 ล้านคนต้องพึ่งพา YBS แต่อาจจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคนเพราะต้องไปและกลับจากบ้านของพวกเขา ย่างกุ้งมีรถบัส 100 สาย พร้อมด้วยรถบัสที่จดทะเบียน 6,635 คัน รถโดยสารมากกว่า 4,500 คัน มีผู้โดยสารประมาณ 1.8 ล้านคนต่อวัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-public-transport-can-rely-on-ybs-for-next-decade-minister

MAB หนุนไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก

Myanmar Apex Bank (MAB) ได้จัดสรรเงิน 57,000 ล้านจัต เพื่อสนับสนุนบริษัทสินเชื่อรายย่อยที่ปล่อยกู้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขณะนี้ MAB ได้ให้การสนับสนุนกับ Fullerton Finance Myanmar, Proximity Finance Microfinance, Vision Fund Myanmar, Early Dawn Microfinance, and Pact Global Finance Microfinance Fund. บริษัท ไมโครไฟแนนซ์มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในเมียนมา โดยยินดีที่จะให้ธุรกิจขนาดเล็กได้กู้ยืมสินเชื่อเพราะธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสการจ้างงาน MAB ได้จัดตั้งขึ้นในปี 53 มีบทบาทในการสนัยสนุนทุนให้กับ บริษัทไมโครไฟแนนซ์เพื่อสนับสนุนลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก ในอนาคตได้วางแผนจะขยายการระดมทุนการเงินรายย่อยเพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ ธุรกิจขนาดเล็กมียอดกู้มากที่สุด 10 ล้านจัตและหากมีการเติบโตจะต้องการเงินทุนเพื่อขยายตัวของธุรกิจ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

KBZPay ขยายบริการทดแทนการใช้เงินสด

KBZPay คาดว่าผู้ใช้จะเพิ่มขึ้น 42% เป็น 5 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้และขยายเป็นหกเท่า 30 ล้านคนภายในปี 2571 ผู้ใช้จะสามารถจองตั๋วสำหรับการท่องเที่ยว ซื้อและขายสินค้า และบริการออนไลน์ จ่ายเงินเดือนและสนับสนุนแพลตฟอร์ม การชำระเงินทางธุรกิจด้วย KBZPay มั่นใจได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้จะได้รับการปกป้องและส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับความรู้ทางการเงินและดิจิทัลสำหรับประชาชน ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นมีผู้ใช้มากกว่า 3.5 ล้านคน – ราว 1.6 ล้านคนในย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และรัฐฉานและ 1.9 ล้านคนในพะโค, ซากะ, อิรวดี,มะกเว , มน, ยะไข่ รวมถึงเนปยีดอ แอพนี้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมไร้เงินสดได้จำนวน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก ปัจจุบันสามารถใช้สำหรับการฝากและถอนเงิน เติมเงินมือถือ การซื้อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การชำระเงิน QR code และการโอนเงินจากบัญชีออม KBZ ไปยัง KBZPay เป้าหมายของคือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุดและช่วยพัฒนาระบบการเงินดิจิทัลในเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/kbzpay-expand-cashless-service-offering.html

สองสายการบินจีนเปิดไฟท์บินตรงจากย่างกุ้ง

Yangon Aerodrome Co Ltd ผู้ให้บริการสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) ได้ประกาศเปิดตัวเที่ยวบินตรงของสายการบินชิงเต่าแอร์ไลน์ระหว่างย่างกุ้งและหนิงโปในเมืองเจ้อเจียงประเทศจีน โดยใช้เครื่องบินแอร์บัสเอ 320 ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 180 คน ให้บริการทุกวันจันทร์-วันศุกร์ระหว่างย่างกุ้งและหนิงโป ทำให้ YIA เชื่อมต่อกับจุดหมายปลายทางต่างประเทศ 35 แห่ 18 เมืองจากจีน ขณะนี้มีสายการบินจีนทั้งหมด 13 รายที่ให้บริการระหว่างจีนและ YIA เพียงหนึ่งวันก่อนผู้ให้บริการจีน หยุยลี่ แอร์ไลน์ (Ruili Arilines) ประกาศเที่ยวบินตรงเที่ยวจากย่างกุ้งและเต๋อหงจังหวัดยูนนาน เที่ยวบินตรงแรกเริ่มต้นระหว่างเมืองหลู่ซีไปยังมัณฑะเลย์ในวันที่ 31 ม.ค. 63 YIA มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 6% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากเส้นทางใหม่ไปและกลับจากจีน ผู้โดยสารที่ย่างกุ้งเพิ่มขึ้ 4.6 ล้านคนในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562 สูงกว่าปีที่ผ่านมา 6.5% โดยรัฐบาลได้อนุญาตให้มีการยกเว้นวีซ่าเดินทางมาสำหรับหกประเทศทางจากออสเตรเลีย เยอรมัน อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์และรัสเซีย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/two-chinese-airlines-start-direct-flights-yangon.html

Wilmar Myanmar สร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในติลาว่า

ย่างกุ้ง-วิลมาร์เมียนมาร์ซึ่งเป็น บริษัทลูกของวิลมาร์อินเตอร์เนชั่นแนลซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียของสิงคโปร์กำลังจะสร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ซึ่งสามารถผลิตข้าวได้ถึง 1,200 ตันต่อวัน ผลิตข้าวสาลี 530 ตันต่อวันส่วนโรงงานแปรรูปจะผลิตน้ำมันเพื่อบริโภคได้ 460 ตันต่อวัน โดยการส่งออกต้องผ่านท่าเทียบเรือติวาลา ซีอีโอของ Wilmar International Limited กล่าวว่าเมียนมามีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียน ดินอุดมสมบูรณ์ ฝนตกชุกและมีประชากร 54 ล้านคน เชื่อว่าภาคธุรกิจการเกษตรต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน วิลมาร์เมียนมาเปิดท่าเรือไปเมื่อปี 61 คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (DICA) อนุญาตให้สร้างท่าเทียบเรือวิลมาร์ – เมียนมา (ติลาว่า) ภายใต้ข้อตกลงการสร้างและถ่ายโอน 50 ปีกับรัฐบาล ถือเป็นท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปลำดับที่ 3 ของประเทศ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/singapores-wilmar-myanmar-will-build-largest-rice-mill-in-thilawa-sez

หยุยลี่ แอร์ไลเริ่มบินตรงย่างกุ้งและเต๋อหง

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาสายการบินหยุยลี่ (Ruili Airlines) ของจีนได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินตรงเชื่อมต่อย่างกุ้งและเต๋อหยูนจังหวัดยูนนาน จะทำการบินสี่ครั้งต่อสัปดาห์ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และวันอาทิตย์จากสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) ไปเต๋อหง โดยจะทำการบินเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 144 คน เที่ยวบินตรงแรกเริ่มต้นระหว่างหมางซื่อไปยัง มัณฑะเลย์ ขณะนี้ YIA ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ 34 แห่งจากสายการบินต่างประเทศ 36 แห่ง มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากกว่า 6% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากเส้นทางใหม่ส่วนใหญ่มาจากจีน ปริมาณผู้โดยสารของย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 ล้านคนในเก้าเดือนแรกของปี 62 ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา 6.5% เนื่องจากการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตยะไข่รัฐบาลจึงได้อนุญาตวีซ่าเดินทางสำหรับหกประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมัน อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซียโดยมีค่าธรรมเนียม 50 เหรียญสหรัฐที่สนามบินย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์โดยเริ่มตั้งแต่เดือนนี้ ตุลาคมที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเก๊าได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าในขณะที่อินเดียและชาวจีนจะได้รับการต่อวีซ่าในปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ruili-airlines-starts-direct-flight-between-yangon-and-yunnans-dehong.html

ฉาน สันติภาพและใบชา

ในบรรดาสินค้าเกษตรมากมายของเมียนมาใบชามีศักยภาพสูงในตลาดส่งออกเพราะเป็นพืชอินทรีย์ที่ปลูกได้เองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการเชื่อมโยงกับความขัดแย้งในรัฐฉานซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ปลูกหลักสำหรับการเพาะปลูก หากหยุดการสู้รบการส่งออกชาจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะการไม่ต้องใช้สารเคมีดังนั้นจึงมีข้อได้เปรียบมากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถขอใบรับรองได้ ตลาดส่งออกสำคัญคือจีน ซึ่งสวนชา 80 แห่งในตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มั่นคงทำให้ต้นทุนการผลิตจึงสูงกว่าในประเทศอื่น ๆ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 8900 เฮคเตอร์ทั่วประเทศ  52 ตันถูกส่งออกไปจีน ไม่นานมานี้ผู้ปลูกชาเข้าร่วมในงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 16 ซึ่งใบชาแห้งและเปียกได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ทั้งจีนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรับรองคุณภาพและถือเป็นข้อได้เปรียบของเมียนมา ปัจจุบันมีการส่งออกไปยังไต้หวัน ไทย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ แต่ตลาดที่ใหญ่ที่สุดยังคงเป็นจีน ดังนั้นสันติภาพในรัฐฉานเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับภาคการผลิตชา เมียนมาจึงต้องการความสงบสุขอย่างเร็วที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-states-peace-and-tea-leaves.html

2 สัปดาห์การค้าทางทะเลเมียนมาพุ่ง 880 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายรับจากการส่งออกทางทะเลสูงถึง 880 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปีงบประมาณ 62-63 สูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ 17 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 11 ต.ค. ปีนี้มีรายรับ 877.283 ล้านเหรียญสหรัฐจากการค้าทางทะเลสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 859.598 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์แร่ แร่ สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป (CMP) และอื่น ๆ เพื่อลดการขาดดุลการค้ากระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การนำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ มาตรการผ่อนคลาย การสนับสนุนภาคเอกชน รับ GSP และขยายตลาดส่งออก ในปี 61-62 คาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งหมดจะสูงถึง 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อสิ้นปีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 17 พันล้านเหรียญสหรัฐมากกว่า 473.218 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/about-880m-earned-from-maritime-trade-in-two-week-this-fy