โครงการท่าเรือคาลาดันเชื่อมเมียนมา – อินเดีย เสร็จสมบูรณ์

จากข้อมูลของสถานทูตอินเดียเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ณ เมืองย่างกุ้ง การก่อสร้างท่าเรือน้ำของซิตตเวและปะและวะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการขนส่งหลายรูปแบบระหว่างเมียนมากับรัฐบาลอินเดียในโครงการ Kaladan Multi-Modal โดยใช้งบลงทุน 484 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่จะเชื่อมโยงกัลกัตตาไปยังซิตตเวในรัฐยะไข่แล้วเชื่อมโยงซิตตเวผ่านเส้นแม่น้ำไปยังปะและของรัฐชินถึง เมือง Zorinpui ในรัฐมิโซรัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียได้แล้วเสร็จลง ทั้งนี้รัฐบาลอินเดียยังได้เชิญองค์กรหรือบริษัทที่สนในลงทุนด้านท่าเรือการซ่อมบำรุง ส่วนถนนของโครงการจากปะและวะ ถึงเมือง Zorinpui ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างซึ่งจะช่วยสนับสนุนการค้าทวิภาคีระหว่างเมียนมาและอินเดีย โครงการนี้เริ่มในปี 2551 จากการลงนามในข้อตกลงของทั้งสองประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/kaladan-projects-port-and-river-terminal-completed.html

เมียนมาอนุญาต 5 บริษัทลงทุนในประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและบริหารบริษัท (DICA) เปิดเผยว่าที่ผ่านมาอนุญาตให้องค์กรธรกิจ วิสาหกิจการลงทุนทั้งในและต่างประเทศจำนวนห้าแห่งเข้ามาลงทุนในประเทศ ประกอบด้วยในประเทศ 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่างประเทศที่มีทุนจดทะเบียน 93.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสามารถจ้างงานได้มากกว่า 530 ตำแหน่งในท้องถิ่นของภาคการผลิต การก่อสร้าง และการบริการอื่น ๆ จากตัวเลขของ DICA มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ 80.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 1,725 บริษัท นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 ถึงวันที่ 31 พ.ค.ของปีงบประมาณ 2561-2562 โดยน้ำมันและก๊าซสามารถดึงดูดการลงทุน 27.94% ของการลงทุนต่างประเทศทั้งหมดส่วนภาคพลังงาน 26.4% และภาคการผลิต 13.59% ด้านภูมิภาคอย่างย่างกุ้งดึงดูดเงินลงทุน 60% ตามด้วยมัณฑะเลย์ 30% และที่เหลือเป็นภูมิภาคอื่นๆ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-07/11/c_138218102.htm

ธุรกิจโรงแรมหวั่นถูกย้ายหลังพุกามขึ้นทะเบียนมรดกโลก

วันที่ 6 กรกฎาคม 62 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ยกให้พุกามเป็นมรดกโลกภายหลังได้มอบให้กับกลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู เมืองโบราณศรีเกษตร เมืองฮาลิน และเมืองเบกถาโน ในปี 57 ซึ่งเมืองโบราณมีเจดีย์ที่หลงเหลือกว่า 3,500 แห่งตอนนี้รัฐบาลและประชาชนต้องร่วมมือกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีและต้องย้ายโรงแรมไปยังโซนที่จัดไว้โดยเฉพาะภายในปี 71 หากล้มเหลวสถานะจะถูกเพิกถอน จากข้อมูลมีโรงแรมมากกว่า 300 แห่งในพุกามส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัวที่มีห้องพักเพียง 30 ถึง 50 ห้อง ซึ่งราคาของหลายโรงแรมมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์และเป็นที่ดินของตัวเองซึ่งเป็นการยากที่จะชดเชยสำหรับธุรกิจ ภายหลังพุกามถูกยกสถานะคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเห็นได้จากสายการบินอย่างบางกอกแอร์เวย์ที่สนใจเปิดเส้นทางบินไปยังพุกาม คาดว่าดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยเฉลี่ย 300,000 คนต่อปีตั้งแต่ปี 54 จนถึงปีนี้ มีจำนวน 200,000 คนที่มาเยี่ยมชมพุกาม ดังนั้นการจัดโซนโรงแรมขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลและยูเนสโก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/concerns-may-emerge-when-bagan-hotels-businesses-are-forced-move.html

จีนผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเมียนมา

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักไปยังจีน ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะจีนและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ นำเข้าข้าวคิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออกทั้งหมด มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกไปยัง 58 ประเทศและ 88.606 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวหักไปยัง 28 ประเทศของปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.61 – 14 มิ.ย.62) มีรายรับรวม 512.475 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีผู้นำเข้าหลัก 5 อันดับ ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ แคเมอรูน ไอวอรี่โคสต์ และกานา เมียนมาส่งออกข้าวหักมากกว่า 1.68 ล้านตันไปยัง 88 ประเทศ และส่งออกไปยังประเทศจีนมากกว่า 36% จากสถิติพบว่าปีงบประมาณนี้มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวมากกว่า 1.35 ล้านตันและข้าวหักไป 54 ประเทศ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 16.6 ล้านเอเคอร์ที่เก็บเกี่ยวได้ในปี 60 – 61 จากพื้นที่นาข้าวมากกว่า 17.6 ล้านไร่

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/china-and-regional-countries-top-rice-and-broken-rice-buyers-list

ผู้ค้าข้าวเมียนมาวอนรัฐบาลเจรจากับจีน

พ่อค้าข้าวจากพม่าขอให้รัฐบาลเจรจากับรัฐบาลยูนนาน เนื่องจากข้าวประมาณ 50,000 ตันที่ยังติดค้างรอการส่งออกไปยังจีนเนื่องจากตอนนี้รัฐบาลจีนจะไม่ออกใบอนุญาตสำหรับข้าวหักและข้าวเมล็ดยาวให้กับเมียนมา และอยากให้รัฐบาลเจรจาราคาที่เหมาะสม โควต้าส่งออกข้าวและและลงนาม MoU เพื่อส่งออก การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนนั้นมีแค่พืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มะม่วง แตงโม แตงกวา และพลัม เท่านั้นเพราะถ้านอกเหนือจากนี้ถือว่าผิดกฎหมายไม่สามารถนำเข้าจีนได้

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/rice-traders-ask-govt-to-negotiate-with-chinese-traders

26/3/2562

Sea Lion เปิดตัวคลังสินค้ามูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

Sea Lion ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์ การศึกษาด้านเทคนิคและระบบอัตโนมัติทางได้เปิดศูนย์กระจายสินค้ามูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพและเพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปใน Kyan เขตอุตสาหกรรม Sitt Thar เมือง South Dagon ของย่างกุ้ง โดยมีพื้นที่มากกว่า 6,870 ตารางเมตรบนพื้นที่ทั้งหมด 8.7 เอเคอร์ ซึ่งออกแบบโดย Civil Tech International Co Ltd จากประเทศไทย ใช้เวลาออกแบบ 13 เดือน ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโรงงานผลิตและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพราคาไม่แพงในเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sea-lion-launches-us10-million-storage-logistics-facility.html

26/3/2562

พาณิชย์ไทย เผยการค้าชายแดน-ผ่านแดน 2 เดือน มูลค่ากว่า 2 แสนล้าน เพิ่มขึ้น 0.92%

การค้าชายแดน-ผ่านแดนไทย 2 เดือนปี 62 มูลค่าทะลุ 2 แสนล้าน เพิ่ม 0.92% มาเลเซียนำโด่งเป็นคู่ค้าชายแดน ส่วนจีนตอนใต้ที่หนึ่งด้านการค้าผ่านแดน คาดแนวโน้มการค้าโตต่อเนื่อง หลังสปป.ลาว เลิกใช้ใบอนุญาตนำเข้าวัสดุก่อสร้าง มาเลย์เปิดด่าน 24 ชั่วโมง ตั้งกรรมการร่วมแก้อุปสรรคการค้ากับกัมพูชา และเมียนมาเปิดสะพานมิตรภาพ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกจากการที่กรมฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเปิดตัวโครงการ YEN-D Season V อย่างเป็นทางการ โดยคาดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจตามเมืองชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กรมฯ เชื่อมั่นว่าในปี 2562 จะสามารถขยายมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 1.6 ล้านล้านบาท หรือขยายตัว 15% อย่างแน่นอน

ที่มา: https://mgronline.com

26/3/2562

เมียนมาดึงนักลงทุนร่วมสำรวจก๊าซรวมถึงธุรกิจ LPG และ CNG

กระทรวงพลังงานและไฟฟ้าได้เชิญนักลงทุนที่สนใจในการสำรวจก๊าซธรรมชาติและลงทุนในธุรกิจ LPG และ CNG โดยจะมีการเปิดประมูลเพื่อเปิดให้บริการน้ำมันและก๊าซ 33 แห่ง โดยมี 15 แห่งในต่างประเทศและอีก 18 แห่งบนฝั่ง ซึ่งแผนกำลังดำเนินการจะมีประโยช์กับภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน และว่าจะสามารถจำหน่ายก๊าซแอลพีจีกระจายไปยัง 1 ล้านครัวเรือนในปี 2020

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/investors-to-be-invited-to-boost-lpg-cng-businesses

25/3/2562

เมียนมาหนุนปลูกกาแฟส่งออกทดแทนฝิ่น

สัปดาห์ที่แล้วสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และ Malongo บริษัท กาแฟจากฝรั่งเศสได้เปิดตัวกาแฟ Shan Mountain Coffee คุณภาพสูงจากเมียนมา ซึ่งทำการปลูกในรัฐฉานภายใต้การสนับสนุนของ UNODC เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นที่เคยปลูกสูงถึง 90% ที่ผ่านมาเป็นผู้ส่งออกฝิ่นรายใหญ่ของโลกรองจากอัฟกานิสถาน UNODC ได้ร่วมมือกับ Malongo ในการส่งเสริมเกษตรกรปลูกกาแฟเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน โดยการรับซื้อ 600 ตันต่อปี ในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ปี 2561 พบว่าพื้นที่ปลูกฝิ่นลดลงลง 12% และสามารถผลิตกาแฟมากกว่า 8000 ตันในแต่ละปี

ที่มา:
https://www.mmtimes.com/news/myanmar-try-growing-exporting-more-coffee-alternative-opium.html

26/3/2562