อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนาม ดิ่งลงอย่างมาก

จากข้อมูลของสมาคมอ้อยและน้ำตาลเวียดนาม (VSSA) เปิดเผยว่าปัจจุบันเวียดนามมีจำนวนธุรกิจน้ำตาลกว่า 40 แห่ง และในช่วงปี 2560-2561 มีโรงงานผลิตน้ำตาลทั้งประเทศจำนวน 37 โรงงาน ผลผลิตน้ำตาลรวมทั้งสิ้น 1.47 ล้านตัน ขณะเดียวกัน ในปี 2561-2562 มีผลผลิตน้ำตาล 1.17 ล้านตัน สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อมในประเทศลดลงร้อยละ 30-60 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการป้อนเข้าสู่โรงงาน ประกอบกับเกษตรกรเลิกปลูกอ้อย เพราะว่ายิ่งเกษตรกรเพาะปลูกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งขาดทุนมากเท่านั้น จึงหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนามได้รับความกดดันจากการฉ้อโกงทางการค้าและการลักลอบนำเข้าจากประเทศไทย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนามอย่างมาก และเป็นเวลายาวนาน โดย 1 ใน 3 ของโรงงานได้ปิดตัวลง และพื้นที่ไร่อ้อยหลายแห่งถูกทิ้งไว้ ซึ่งผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐบาลมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบสินค้า และการปลอมแปลง เพื่อที่ว่าเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสินค้าต่างประเทศในตลาดเวียดนามได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-sugar-industry-in-serious-decline-406612.vov

เนื้อหมูขึ้นราคา ทำให้ต้นทุนอาหารพุ่งสูงขึ้น

ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา ส่งผลให้แนวโน้มราคาอาหารขยับเพิ่มขึ้นในซูเปอร์มาร์เก็ตและภัตตาคาร โดยจากแหล่งสำรวจของสำนักข่าวเวียดนาม “VnExpress” เปิดเผยว่าราคาผลิตภัณฑ์เนื้อหมูซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารในนครโฮจิมินห์ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5-25 ตัวอย่างเช่น ราคาไส้กรอกเนื้อหมูเพิ่มขึ้นจาก 120,000 ด่องต่อกิโลกรัม (5.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ขยับมาเป็น 150,000 ด่องต่อกิโลกรัม (6.5 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็นต้น ประกอบกับราคาข้าวและก๋วยเตี๋ยวที่มีส่วนประกอบจากเนื้อหมูก็มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 ด่อง ซึ่งทางเจ้าของร้านอาหารในนครโฮจิมินห์ กล่าวว่าไม่สามารถขึ้นราคาได้อีกแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสรรหาเนื้อหมูที่มีขนาดเล็กลง และหาซัพพลายเออร์ที่ราคาถูกลง ทั้งนี้ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ระบุว่าราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 19 ในช่วงตั้งแต่เดือนพ.ย. ปีที่แล้ว และอาจเพิ่มขึ้นอีกในสิ้นปีนี้ รวมถึงคาดว่าจะขาดแคลนเนื้อหมูกว่า 200,000 ตัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/pork-price-hikes-drive-up-related-food-costs-406471.vov

บริษัทอีคอมเมิร์ซ “เซนโด” ระดมทุนไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ

เซนโด (Sendo) เป็นผู้ให้บริการด้านไอทีใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยการมุ่งเน้นไปยังเมืองใหญ่ในระดับ “Tier 2” ประกอบกับเป็นแหล่งตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีผู้เยี่ยมชนมากที่สุดในอันดับที่ 2 ของอีคอมเมิรซ์ในเวียดนาม ด้วยการระดมแหล่งเงินทุนในระดับ “Series C” ไปกว่า 61 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากการแถลงข่าวของบริษัทเซนโด ในวันพุธที่ผ่านมา เปิดเผยว่าการลงทุนดังกล่าว มาจากผู้ถือหุ้นรายเดิมและนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงกองทุนอินโดนีเซีย EV Growth และกลุ่มเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งการระดมทุนในครั้งนี้ จะนำมาขยายแพลตฟอร์มแบบบูรณาการ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 3/2562 เซนโดแซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tiki ที่อยู่ในอันดับที่ 2 ของตลาดอีคอมเมิรซ์เวียดนามที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุด ขณะที่ ช้อปปี้ (Shopee) ยังคงขึ้นแท่นผู้นำในประเทศอยู่

https://english.vov.vn/economy/ecommerce-firm-sendo-nets-61-mln-in-latest-funding-round-406468.vovที่มา :

นักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตเข้าถือหุ้นสายการบินเวียดนาม 34%

เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามเกี่ยวกับการเข้าถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนและเจ้าของกิจการสายการบิน จากเดิมอยู่ในอัตราร้อยละ 30  แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราร้อยละ 34 ด้วยพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 89/2019/ND-CP แก้ไขปรับปรุงจากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 92/2559 ประกอบกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสายการดำเนินธุรกิจสายการบิน และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ซึ่งการร่างพระราชกฤษฎีกาของกระทรวงคมนาคม ในหัวข้อความเป็นเจ้าของใหม่ของนักลงทุนต่างชาติ ไม่เพียงแต่จะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนในประเทศอีกด้วย โดยการลดเงื่อนไขของธุรกิจให้ง่ายขึ้นและเอื้ออำนวยแก่นักลงทุนที่เข้ามาทำธุรกิจสายการบิน ซึ่งในแง่ของการบริหารการบิน จะต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำ 100 พันล้านด่อง ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม   พ.ศ.2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/foreign-investors-permitted-to-hold-34-percent-stake-at-vietnamese-airlines-406400.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาหมึกพุ่งสูงขึ้นไปยังตลาดสหรัฐฯ ในปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกปลาหมึกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จะสูงถึง 11.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 63.7 ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ปลาหมึกแห่ง ปลาหมึกหมัก ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง และปลาหมึกแปรรูป เป็นต้น ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าปลาหมึกรายใหญ่ อยู่อันดับที่ 6 ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.7 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อเกิดสถานการณ์กดดันทางการค้าสหรัฐฯ และจีน  ทำให้สหรัฐฯ ต้องเพิ่มอัตราภาษีในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาหมึกที่มาจากจีน ขณะเดียวกัน นับว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะสร้างโอกาสทางการค้าแก่เวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-export-of-squid-octopus-to-us-surges-in-2019-406397.vov

สายการบินเข้าตลาดพุ่งสูงขึ้น สร้างภาวะ “คอขวดโครงสร้างพื้นฐาน”

จากข้อมูลของกรมการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าสายการบินได้ตั้งเป้าในการขยายฝูงการบิน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง สายการบินเวียตเจ็ท (Vietjet Air) ที่ได้รับเครื่องบินใหม่ 100 ลำ ของแอร์บัส (Airbus) และโบอิ้ง (Boeing) ด้วยเหตุนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีต่อผู้โดยสารให้สามารถเลือกสายการบินได้หลากหลาย สำหรับเที่ยวบินราคาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านการบิน ทำให้สร้างความกังวลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าโครงสร้างพื้นฐานในด้านการบินยังคงอยู่ในระดับต่ำ และด้วยจำนวนหลุมจอดเครื่องบินที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้หน่วยงานรัฐฯ ต้องหาวิธีในการจัดสรรอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ จากคำแถลงการณ์ของกระทรวงคมนาคม (MOT) ระบุว่าในไตรมาสที่ 3 ทางกระทรวงฯ จะเป็นผู้นำในการสนับสนุนก่อสร้างสายการบินใหม่ แต่ยอมรับว่าโครงสร้างพื้นฐานยังมีปัญหาอยู่ ประกอบกับอัตราการเติบโตของสายการบินที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/more-airlines-join-market-create-infrastructure-bottlenecks-406361.vov

เวียดนามส่งออกลำไยไปยังตลาดออสเตรเลีย

จากข้อมูลของผู้ก่อตั้งบริษัท Aus Asia Produce ประกอบธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายผลไม้ในรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่าในงานเทศกาลลำไยเวียดนาม มีการขายลำไยกว่า 500 กิโลกรัม ภายในไม่กี่ชั่วโมง ประกอบกับข้อมูลของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำออสเตรเลีย เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมเวียดนามมีศักยภาพที่จะสร้างมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯจากการส่งออก และด้วยข้อตกลงการค้าระหว่างเวียดนามกับออสเตรเลีย จะเปิดโอกาสด้านการลงทุนและการค้าทั้ง 3 ประเทศอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รายได้ในการส่งออกผลไม้ของเวียดนามไปยังออสเตรเลีย ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจากข้อมูลของสถิติกรมศุลกากรเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศอยู่ที่ 5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีเพียงน้ำมันดิบเท่านั้นที่มีมูลค่ามากกว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ แนะนำให้หน่วยงานของทั้งสองประเทศร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อจัดการในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/548635/vietnamese-longan-to-go-to-australia.html#jB4xDBbQrr6CzmqB.97

การแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้า “อีคอมเมิร์ซเวียดนาม” มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ‘ช้อปปี้’ (Shopee) ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแพ็กเกจการให้บริการชุดใหญ่ อย่างไม่คาดถึง ด้วยลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าผ่านบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ และเลือกบริการขนส่งสินค้าแกร็บ (Grab) ซึ่งจะได้รับการบริการจัดส่งฟรี และได้รับสิทธิพิเศษของมูลค่าสินค้าสูงถึง 200,000 ด่อง ทั้งนี้ แพ็กเกจและโปรโมชั่นดังกล่าว จะสามารถใช้เฉพาะในเขตของนครโฮจิมินห์และฮานอยเท่านั้น และระยะเวลาในการส่งมอบภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในปี 2561 จากรายงานของบริษัท Google และ Temasek ระบุว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีอัตราการเติบโต (CAGR) ร้อยละ 35 ต่อปี ในช่วงปี 2558-2561 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คำนวณเฉพาะมูลค่าของ B2C เท่านั้น) ประกอบกับคนเวียดนามมีความต้องการสินค้าและความใจร้อนสูงมาก โดยทาง MoIT คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะมีมูลค่าราว 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ecommerce-delivery-battle-in-vietnam-becomes-more-costly-406314.vov

ผลผลิตเนื้อหมู ตอบสนองต่อความต้องการตลาดในประเทศ ในช่วงเดือนหน้า

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ผลผลิตเนื้อหมูจะอยู่ในทิศทางแจ่มใส ขณะที่ ความต้องการเริ่มเพิ่มระดับสูงขึ้นในช่วงปลายปีนี้ จากนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 25 ในช่วงเทศกาลตรุษจีนเร็วๆนี้ ทางด้านผู้รักษาการอำนวยการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าต้องมีการร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งราคาเฉลี่ยเนื้อหมูในภาคเหนือยังอยู่ในระดับเสถียรภาพอยู่ที่ 65,000-66,000 ด่องต่อกิโลกรัม ส่วนภาคใต้อยู่ที่ 60,000-61,000 ด่องต่อกิโลกรัม แต่เมื่อเร็วนี้ๆ ราคาพุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 75,000 ด่องต่อกิโลกรัม เป็นผลมาจากการสื่อสารที่ผิดพลาด และข้อผิดพลาดในการจำหน่ายสินค้า ทั้งนี้ จากรายงานของกรมอนามัยสัตว์ ระบุว่าโรคไข้หวัดหมูแอฟริกาได้แพร่กระจายไปยังกว่า 63 จังหวัดและทุกเมืองเวียดนาม โดยมีสุกรมากกว่า 5 ล้านตัว ได้ถูกการคัดแยกแล้ว เพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ผลิตเนื้อหมูควรใช้มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและควบคุมปริมาณสุกรอย่างเข็มงวด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/538566/pork-supply-to-meet-demand-on-domestic-market-next-months.html#0wkhBBOzr7y0VjeY.97

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกข้าว 6.5 ล้านตัน ภายในปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) คาดว่าจะส่งออกได้ 6.5 ล้านตัน ในปี 2562 โดยประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ประกอบกับเวียดนามส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เฉลี่ยอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกข้าวรวมทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเวียดนามจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงและมีขนาดตลาดใหญ่ แต่ในช่วงตั้งแต่ปี 2561 มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องมาจากกฎระเบียบทางด้านคุณภาพสินค้า และข้อกำหนดทางด้านเทคนิคที่เข็มงวด ด้วยเหตุนี้ จึงต้องหันมาส่งออกไปยังตลาดอื่น ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน ลดลงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวลดลงก็ตาม แต่คาดว่าในปีนี้ จะสามารถส่งออกข้าวรวมตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rice-exports-set-to-reach-65-million-tonnes-during-2019-406267.vov