ท่าเรือสีหนุวิลล์ กำหนดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ ในกัมพูชากลางปี 2022

โครงการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ของท่าเรืออิสระสีหนุวิลล์ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา ได้เลื่อนกำหนดการแผนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเป็นกลางปี 2022 โดยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ที่ก่อนหน้านี้กำหนดให้มีการก่อสร้างในช่วงกลางปี 2021 ซึ่งตามแผนที่วางไว้โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกจะมีความยาวอยู่ที่ 350 เมตร และความลึกของน้ำ 14.50 เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 218 ล้านดอลลาร์ มาจากความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) จากประเทศญี่ปุ่น โดยประธานสมาคมโลจิสติกส์กัมพูชากล่าวว่าการก่อรสร้างและปรับปรุงท่าเรือถือเป็นส่วนสำคัญในการตอบสนองความต้องการของภาคการขนส่งในกัมพูชา จากทั้งปริมาณการส่งออกสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องนุ่งห่มและสินค้าเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937980/deep-port-construction-rescheduled-for-mid-2022/

แนะรัฐให้ต่างชาติซื้อบ้านได้เฉพาะ กทม. อีอีซี ภูเก็ต ราคาเกิน 10 ล้านขึ้นไป

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า การขยายสิทธิให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองชุดบ้านจัดสรรได้เพิ่มขึ้น ควรกำหนดให้ซื้อได้เฉพาะบ้าน หรือคอนโดฯ ระดับหรูที่มีราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อไม่ให้มาแย่งซื้อที่อยู่อาศัยจากคนชั้นกลาง หรือคนทำงาน ซึ่งนิยมซื้อบ้านราคาปานกลาง 3-8 ล้านบาท เพราะอาจทำให้ที่อยู่อาศัยราคาแพงขึ้น นอกจากนี้ ควรกำหนดโซนถือครองบางพื้นที่ เฉพาะในเขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่น  กรุงเทพฯ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือภูเก็ต ไม่ควรเปิดให้เข้ามาถือครองได้อิสระ ส่วนการขยายกรรมสิทธิ์เกิน 30 ปี  ควรแบ่งเป็นช่วง ๆ ต่ออายุได้อีกครั้งละ 30 ปี อีก 2 ครั้ง รวมเป็น 90 ปี รวมถึงการถือครองคอนโดฯ แม้จะขยายสัดส่วนเข้าอยู่ได้เกิน 49% แต่ก็ควรจำกัดสิทธิการโหวตไม่เกินกึ่งหนึ่งเหมือนเดิม เพื่อให้คนไทยยังเป็นเสียงส่วนใหญ่อยู่

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/292995/

เกษตร ท่องเที่ยว กุญแจสู่ความก้าวหน้าเศรษฐกิจสปป.ลาว

รายงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผย การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเกษตรและการท่องเที่ยวจะช่วยฟื้นฟูหลังโควิด 19 และการเติบโตอย่างครอบคลุมในสปป.ลาว สปป. ลาวได้สนับสนุนประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศยังไม่ก้าวหน้า นางพรวันห์ อุทาวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่า  “การสร้างงานที่มีคุณภาพและประสิทธิผลเป็นหนึ่งในความสำคัญสูงสุดในวาระนโยบายของรัฐบาล การทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นตัวของเรา พร้อมกับกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการผนึกกำลังของภาคส่วนต่างๆ จะเป็นโอกาสในการเริ่มต้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความยากจนของสปป.ลาว” ทั้งนี้ในรายงานระบุว่าในปี 2562 การท่องเที่ยวในลาวสนับสนุนการเติบโตของปศุสัตว์และการประมง ธุรกิจการท่องเที่ยวอาจเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพืชผักและปศุสัตว์มีมูลค่ามากถึง 4.1 ล้านคนในปี 2561 คิดเป็น 12% ของจีดีพีของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_183_21.php

กัมพูชารายงานถึงการส่งออกมะม่วงที่เพิ่มขึ้น

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) รายงานเกี่ยวกับการส่งออกผลไม้ระหว่างประเทศ และแสดงให้เห็นว่ามะม่วงมีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 251 หรือคิดเป็นจำนวน 163,828 ตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี โดยกัมพูชาส่งออกแยมมะม่วงรวม 14,087 ตัน และน้ำเชื่อมจากมะม่วงอีกกว่า 4,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 195 และร้อยละ 79 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตลาดที่ทำการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ เวียดนาม ไทย จีน เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ คูเวต ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา คาซัคสถาน และรัสเซีย โดยจีนเป็นผู้นำเข้ามะม่วงรายใหญ่ที่สุดจากกัมพูชา เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการลงนามระหว่างกันในข้อตกลงการค้าเสรีในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้กำหนดให้เกษตรกรชาวกัมพูชาจำนวน 37 ราย สามารถส่งออกมะม่วงไปยังจีนได้ และคาดว่าจะนำเข้ามะม่วงจากกัมพูชาราว 500,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937256/international-mango-exportation-on-the-rise/

MFIs อนุมัติเงินกู้รวมกว่า 7.73 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี

สมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) รายงานถึงการอนุมัติเงินกู้รวม 7.730 พันล้านดอลลาร์ ให้กับลูกค้าเกือบ 2 ล้านราย ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยสมาคมยังได้รายงานเพิ่มเติมว่ามีลูกค้าประมาณ 2.8 ล้านราย ฝากเงินเข้า MFI มูลค่ารวม 3.883 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในปี 2020 ที่ผ่านมาเงินให้สินเชื่อส่วนใหญ่ร้อยละ 21 ถูกเบิกจ่ายให้กับลูกค้าที่มีวัตถุประสงค์ในการขยายธุรกิจและการค้า โดยในช่วงของการแพร่ระบาดธนาคารและสถาบันการเงินในกัมพูชาทราบดีถึงปัญหาของภาคประชาชนและภาคธุรกิจภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้ออกมาตรการในการช่วยเหลือลูกค้า รวมถึงปรับโครงสร้างเงินกู้ไปแล้วจำนวน 577,673 ราย หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.6 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนกรกฎาคม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936570/mfis-disburse-7-73-billion-in-first-semester-in-cambodia/

คลังชงเพิ่มกรอบเพดานก่อหนี้สาธารณะ70%

วันจันทร์นี้ (20ก.ย.)จะมีการประชุมคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีคณะกรรมการที่มาจากผู้บริหารระดับสูงของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และสำนักงบประมาณ โดยมีวาระสำคัญคือ การขยายกรอบการก่อหนี้สาธารณะ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือสศค.ได้เสนอทางเลือก คือ การขยายกรอบเพดานการก่อหนี้ให้ไม่เกิน 70% ของจีดีพี จากปัจจุบันที่อยู่ไม่เกิน 60% ของจีดีพี ขณะที่กรอบเพดานการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นมา 10% นั้น จะทำให้รัฐบาลมีช่องทางการกู้เงินได้เพิ่มอีกราว 2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ไทยเคยมีระดับหนี้เฉียดเข้าใกล้ 60% ต่อจีดีพีแต่ไม่เคยทะลุ 60% ต่อจีดีพี

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/961051

ส่งออกข้าวเมียนมาสร้างรายได้กว่า 642 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ ปัจจุบัน

ข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา เผย รายได้จากการส่งออกข้าวและข้าวหักในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มุมูลค่าถึง 642.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณการส่งออก 1.2 ล้านตัน แม้การค้าชายแดนจะซบเซา แต่ราคายังคงที่ในตลาดส่งออกชายแดน จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า ราคาข้าวขาวอยู่ในช่วง 375-405 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวเหนียวราคา 600-610 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และข้าวหักอยู่ที่ 300-335 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน  ในปีนี้ การส่งออกไปยุโรปลดลง อย่างไรก็ตาม ยังสามารถที่จะส่งออกไปจีนและบังคลาเทศได้ ราคาข้าวหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค. นอกจากนี้ มาตรการป้องกันแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา แต่คาดว่าจะยังคงทรงตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนข้าวคุณภาพสูงยังเป็นที่ต้องการในประเทศ ราคาจะอยู่ระหว่าง 36,000-68,000 จัตต่อถุง ส่วนข้าวคุณภาพต่ำมีราคาอยู่ระหว่าง 23,000 ถึง 28,800 จัตต่อถุง เมียนมากำหนดเป้าการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้ทรัพยากรน้ำในภาคการเกษตร ทั้งนี้เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 30 ก.ย.64 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-registers-642-mln-this-fy/#article-title

ปีงบประมาณ 63-64 ไทยขึ้นแท่นคู่ค้าหลักของเมียนมา

จากข้อมูลขององค์การสถิติกลาง (Central Statistical Organization – CSO)  10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมา มีมูลค่า 4.117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยคู่ค้าสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนี้ การส่งออกส่วนใหญ่นอกจากไทยแล้วจีนถือเป็นคู่ค้านอกภูมิภาคที่สำคัญของเมียนมา ซึ่งการค้าระหว่างเมียนมาและไทยแบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่ากว่า 2.548 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามีมูลค่ากว่า 1.569 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีส่งผลให้การค้าชายแดนกับไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา และสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประมง ถ่านหิน ดีบุกเข้มข้น (SN 71.58 เปอร์เซ็นต์) มะพร้าว (สดและแห้ง) ถั่ว ข้าวโพด หน่อไม้ งา เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร สินค้าอุตสาหกรรมดิบ เช่น ซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องสำอาง น้ำมันพืชที่รับประทานได้ และผลิตภัณฑ์อาหาร เมียนมามีการค้าขายชายแดนกับไทยผ่านพื้นที่ชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี มะริด มอตอง ตีกี คอทุ่ง และเมเซ ตามลำดับ โดยเมียวดีเป็นชายแดนที่มูลค่าการค้าที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ ตีกี อย่างไรก็ตาม การค้าผ่านชายแดนซบเซาจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การค้าทางบกลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/thailand-tops-among-trading-partners-in-regional-countries-this-fy/#article-title

‘นครโฮจิมินห์’ อยู่ภายใต้แรงกดดันให้เปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง

นายเหวียน วัน เน็น เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวว่าเมืองโฮจิมินห์อยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาลต่อการเปิดเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งระดับความเลวร้ายของเศรษฐกิจและความทุกข์ยากของประชาชนถึงขีดจำกัดแล้ว เป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ยืดเยื้อ ทำให้เมืองต้องปรับแผนที่จะเปิดเมืองอีกครั้งและใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส ทั้งนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนการนโยบายสาธารณะและการจัดการ กล่าวว่าการเปิดเมือง เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคงทางสังคมกลายมาเป็นเรื่องเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากภาคธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะผู้คนยากจนต้องแสวงหาทางรอด ท่ามกลางการล็อกดาวน์

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/hcm-city-under-pressure-to-reopen-economy-municipal-leader-891877.vov

 

คนเวียดนามซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19

จากการศึกษาของ iPrice เปิดเผยว่าผลการจัดอันดับธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ด้วยจำนวนการค้นหาร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มอย่าง ‘Google’ ที่พุ่งสูงขึ้น ผลการศึกษาดังกล่าว พบว่าร้านค้าปลีกออนไลน์ถือเป็นหมวดหมู่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นของร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าจำเป็นในช่วงการเว้นระยะทางสังคม ทั้งนี้ จำนวนการค้นหาบนบนแพลตฟอร์ม ‘Google’ ที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าปลีกออนไลน์ พุ่งทะยาน 223% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 จำนวนการค้นหาในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 11 เท่า เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. นอกจากนี้ iPrice พบว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในเวียดนามถูกที่สุดในอาเซียน โดยผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับอาหารสด เครื่องดื่ม สินค้าที่บรรจุเสร็จ ผลไม้และผัก เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-consumers-demand-for-shopping-groceries-online-soars-amid-covid19/208202.vnp