งบประมาณย่อย 64-65 เมียนมาได้เปรียบดุลการค้า 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การค้าระหว่างประเทศของเมียนมาของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (ตุ.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565) มีมูลค่า 16.234 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 8.279 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 7.955 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินดุลการค้ามูลค่า 324 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 263 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด ถั่วและเมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์ประมง ปศุสัตว์ และเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป โดยมูลค่าการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นกว่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเมื่อรวมกับการค้าชายแดนพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วงงบประมาณมาณย่อย 2564-2565 เมียนมาได้ตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่กลับเพิ่มขึ้นถึง 101% และการนำเข้าที่ได้ตั้งเป้าไว้ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 90% ดังนั้นมูลค่าการค้ารวมจึงพุ่งสูงถึง 95 % จากเป้าที่ได้ตั้งไว้ 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

งบประมาณย่อย 64-65 ส่งออกข้าวผ่านชายแดนเมียนมาซบเซาหนัก

สหพันธ์ข้าวเมียนมา เผย ยอดการส่งออกข้าวและข้าวหักผ่านชายแดนลดลงอย่างมาก โดยในปีงบประมาณย่อย(เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือน มี.ค. 2565) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.4 ล้านตัน เป็นการส่งออกทางทะเลมีปริมาณกว่า 1.3 ล้านตัน ในขณะที่การส่งออกผ่านชายแดนมีเพียง 76,000 ตัน เนื่องจากมาตรการป้องกัน COVID-19 ที่เข้มงวดของจีน ที่จำกัดรถบรรทุกสินค้าบริเวณชายแดนมูเซ ซึ่งขณะนี้มีเพียงขนส่งระยะใกล้ผ่านชายแดนจินซันเฉาะ (Kyinsankyawt) เท่านั้น ทำให้ให้มีการส่งออกผ่านชายแดนเพียง 76,000 ตันเท่านั้น เมียนมาส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ 13 ประเทศ ส่วนใหญ่ไปจะส่งไปยังไอวอรี่โคสต์ด้วยปริมาณมากกว่า 400,000 ตัน รองลงมาคือจีน 220,000 ตัน และฟิลิปปินส์มากกว่า 130,000 ตัน ในทำนองเดียวกัน ข้าวหักถูกส่งออกไปยัง 10 ประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นจีน 210,000 ตัน ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ 160,000 ตัน และเบลเยียม 79,000 ตัน ปัจจุบันในปีงบประมาณ 2563-2564 มีการส่งออกข้าวไปตลาดต่างประเทศกว่า 2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-exports-through-border-show-big-slump-in-past-mini-budget-period/#article-title

มะม่วงเซ่งตะโลงขาดแคลนหนัก หนุนราคาพุ่ง!

นาย U Kyaw Soe Naing เลขาธิการสมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีเมียนมา (เมืองมัณฑะเลย์) เผย ราคามะม่วงมะม่วงเซ่งตะโลง (Seintalone) จำหน่ายอยู่ที่ 33,000-35,000 จัตต่อ 1 ตะกร้า (16 กิโลกรัม จำนวน 50-60 ผล) ส่วนมะม่วงมีคุณภาพต่ำราคาจะอยู่ที่ 300,000-500,000 จัตต่อตันเท่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 18 เม.ย.2565 ที่ผ่านมาเกิดลมแรงในพื้นที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อสวนมะม่วงในมัณฑะเลย์ อีกทั้งปีนี้มีแนวโน้มผลผลิตลดลง 30% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเนื่องจากลมแรงและแมลงศัตรูพืช และชายแดนจีนยังคงปิดตัวอยู่ ดังนั้นจึงพึ่งพาตลาดภายในประเทศเท่านั้น อีทั้งรี้ราคาถุงห่อผลมะม่วงในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นจาก 27 จัตเป็น 47 จัตต่อถุง ทำให้จ้าของสวนบางรายไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนนี้ได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/26-april-2022/#article-title

แนวโน้มราคาเกลือเมียนมา พุ่งขึ้น ! ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

เกษตรกรนาเกลือ คาดว่า ราคาเกลือจะยังคงอยู่ในระดับสูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เป็นผลมาจากฝนตกหนักในเดือนที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับนาเกลือ ส่งผลให้ราคาพุ่งขึ้น 320 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งสภาพอากาศที่แปรปรวนในเดือนมีนาคมมีผลต่อการผลิตเกลือในเดือนเมษยานและพฤษภาคม ทำให้การผลิตมีการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาพุ่งสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ ราคาปัจจุบันยังสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 4 เท่า ซึ่งเกษตรกรนาเกลือกล่าวว่าการขาดแคลนวัตถุดิบทำให้ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จึงคาดการณ์ว่าในอนาคตจะขาดแคลนเกลืออย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/salt-prices-likely-to-extend-rise-in-coming-months/#article-title

ตลาดถั่วมัณฑะเลย์ เริ่มกลับมาคึกคัก หลัง เทศกาล “ตินจาน”

ตลาดค้าถั่วมัณฑะเลย์เริ่มกลับมาซื้อ-ขายกันคึกคักอีกครั้งหลัง เทศกาลตินจาน (สงกรานต์เมียนมา) พบว่าส่วนใหญ่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งนาย U Soe Win Myint เจ้าของคลังสินค้าในเมืองมัณฑะเลย์ เผยว่า ถั่วดำ ถั่วแระ ข้าวโพด งา ถั่วลิสง ถั่วแดง เนยถั่ว และถั่วลันเตานั้นเริ่มกลับมาขายดีกันมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการส่งออกถั่วดำและถั่วแระไปยังอินเดีย ส่วนถั่วเขียว งา ถั่วลิสง ถั่ว heirloom ถั่วแป๋ และเนยถั่ว ถูกส่งไปยังจีน ส่วนข้าวโพดส่วนใหญ่ส่งไปยังไทย ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันพืชสําหรับบริโภค ยังคงทรงตัวเช่น น้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันงา 8,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันจะอยู่ระหว่าง 5,500-6,000 จัตต่อ viss  และราคาน้ำมันถั่วเหลืองจะอยู่ระหว่าง 6,500-7,000 จัตต่อ viss

ทีมา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-bean-market-bustling-in-post-thingyan-period/#article-title

เมียนมาส่งออก “หมาก” ไปอินเดีย ลดฮวบ

ผู้ค้าหมากชาวเมียนมา เผย การส่งออกหมากของเมียนมาไปยังอินเดียลดลงอย่างมากในปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหมากจะถูกส่งออกผ่านเขตย่างกุ้ง พะโค และมัณฑะเลย์ไปยังอินเดีย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและผลกระทบของโควิด-19 โดยในปีก่อนสามารถส่งออกได้ประมาณ 400-500 ถุง แต่ตอนนี้ลดลงเหลือ 300 ถุง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 3,600 จัต เป็น 4,500 จัตต่อถุง ปัจจุบันราคาหมากโดยทั่วไปอยู่ที่ 4,300-4,900 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ลดลงเมื่อเทียบกับราคาของปีก่อนที่สูงถึง 5,000-6,000 จัตต่อ viss ขณะเดียวกัน การนำเข้าหมากจากไทยเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ราคาลดต่ำลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-areca-nuts-exports-to-india-plummet/

ปีงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมานำเข้าสินค้าทุนลดลง

6 เดือนแรกของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 เมียนมามีการนำเข้าสินค้าทุน เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร และเหล็กกล้า เป็นมูลค่าประมาณ 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า2.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 จากผลกระทบของ COVID-19 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ กระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่พึ่งพาชาวต่างชาติเป็นหลัก ที่ลดลงถึง 70% ผู้ประกอบการต้องลดค่าเช่า ตามยอดดารเข้าพักที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ที่เงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ซีเมนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร สูงขึ้น ในทางกลับกัน วัตถุดิบที่ใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้าประเภท Cut-Make-Pack (CMP) มีมูลค่านำเข้า  1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับเพิ่มขึ้นถึง 329 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว โดย 10 ประเทศหลักที่เมียนมานำเข้าสินค้าทุน ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-records-import-plunge-in-capital-goods-in-past-mini-budget-period/

6 เดือนแรกของงบประมาณย่อย 64-65 การค้าชายแดนเกาะสอง แตะ 170 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ปีงบประมาณย่อย 2564-2565 การส่งออกจากชายแดนเกาะสองกับประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกอยู่ที่ 161.695 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 21.249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 163.564 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการค้าระหว่างเมียนมาและไทยในปีงบประมาณ 2562-2563 มีมูลค่าเพียง 5,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2561-2562 โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 5,117.913 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/229173

โครงการพัฒนาชนบทครอบคลุม 126 หมู่บ้าน ของเมืองมะริด เขตตะนาวศรี

ปีงบประมาณ 2565-2566 กรมพัฒนาชนบท เมืองมะริด เขตตะนาวศรี กำลังเร่งดำเนินโครงการพัฒนาชนบทใน 126 หมู่บ้าน โดยจะเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างถนนและสะพาน การประปาและไฟฟ้า โครงการหมู่บ้าน emerald green โครงการกองทุนหมุนเวียน โครงการพัฒนาชนบทและหลักสูตรวิชาชีพด้านอาชีวศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจสังคมของชุมชน ซึ่งในช่วงปีงบประมาณปัจจุบัน มีการเร่งพัฒนาโครงการ ได้แก่ ถนน 5 สาย, สะพาน 13 แห่ง, โครงการประปา 37 โครงการ, หมู่บ้าน emerald green 4 แห่ง, โครงการพัฒนาชนบทใน 72 หมู่บ้าน, และหลักสูตรการฝึกวิชาชีพ ที่จะใช้งบประมาณกว่า 1.977 พันล้านจัต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ชายแดนเกาะสอง-ระนอง ส่งออกประมงมากที่สุดของเขตตะนาวศรี

รายงานของกรมประมงเมืองเกาะสอง เผย ด่านชายแดนเกาะสอง-ระนอง มีการส่งออกสินค้าประมงมากที่สุด ของเขตตะนาวศรี โดย 6 เดือนที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 มีการส่งออกสินค้าประมงจากเกาะสองไปยังประเทศไทย คิดมูลค่ากว่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณสินค้าประมงประมาณ 161,283 ตัน แม้ชายแดนเกาะสองจะมีความต้องการสินค้าประมงในปริมาณมาก แต่พบว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาลดลงกว่า 18,000 ตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลง 1.245 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกปลามีแนวโน้มลดลงในฤดูสัตว์น้ำวางไข่ (เมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน) ซึ่งธุรกิจประมงชายฝั่งถือเป็นหัวใจหลักทางเศรษฐกิจของเกาะสอง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/kawthoung-ranong-border-post-sees-highest-fishery-exports-in-taninthayi-region/#article-title