เวียดนามส่งออกพุ่ง 4.7% ในช่วง 4 เดือนแรก

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดส่งออกของเวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 คิดเป็นมูลค่า 82.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทในประเทศมีมูลค่าการส่งออก 26.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน บริษัทต่างชาติมีมูลค่าแตะ 56.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ทั้งนี้ กลุ่มสินค้า 15 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วนที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด ด้วยมูลค่า 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, เครื่องจักรและชิ้นส่วน และรองเท้า ตามลำดับ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 20.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน รองลงมาจีน สหภาพยุโรปและอาเซียน ในขณะที่ จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 22.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน นอกจากนี้ การเกินดุลการค้าของเวียดนามลดลงมาอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนม.ค.-เม.ย.

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-exports-surge-47-percent-in-four-months/172707.vnp

เวียดนาม เผยยอดจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ในฮานอย ม.ค.-เม.ย. ลดลง 13.1%

นายบุ่ย อั๊ญ ต๊วน ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดตั้งธุรกิจ เปิดเผยว่าผู้ประกอบการธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ในกรุงฮานอย ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.63 ลดลงร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 7,468 ราย แต่เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 มูลค่า 118 ล้านล้านด่ง (5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งจำนวนบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ลดลงนั้น สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผลต่อการผลิตและการดำเนินธุรกิจ ในทางกลับกัน ส่อให้เห็นว่าธุรกิจกำลังรอโอกาสหลังจากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม กล่าวว่าถึงแม้ตัวเลขดังกล่าวลดลงที่ตรงกับแนวโน้มของประเทศ แต่เงินทุนจดทะเบียนใหม่กลับพุ่งสูงขึ้น แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีขึ้นในกรุงฮานอย นอกจากนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและการลงทุน ระบุว่าเมืองฮานอยได้เตรียมความพร้อมในการคว้าโอกาสจากข้อตกลงการค้าเสรี และฮานอยจะยังคงรักษาระดับอัตราการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจไว้ที่ร้อยละ 100 รวมถึงอัตราการยื่นธุรกิจและชำระภาษีออนไลน์ไว้ที่มากกว่าร้อยละ 98

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/number-of-new-firms-in-hanoi-in-januaryapril-down-131-percent/172711.vnp

รัฐบาลเมียนมาประกาศธุรกิจที่ต้องเปิดในช่วง COVID-19

กระทรวงแรงงานตรวจคนเข้าเมืองและประชากรประกาศรายชื่อธุรกิจ 21 แห่งที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากให้เป็นบริการที่มีความจำเป็น ประกอบด้วย โรงงานและรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ, ธุรกิจที่จัดหาน้ำ, ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าการผลิตและส่งพลังงานเชื้อเพลิงม, ดับเพลิง, โรงพยาบาลเอกชนคลินิกและผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ข้อมูลและธุรกิจเทคโนโลยี, การขนส่ง, คลังสินค้าและขายส่ง, บริการท่าเรือ, โลจิสติกส์และการขนส่ง, ส่งออกและนำเข้า, เทศบาล, การธนาคารและการเงิน; ประกันภัย, ธุรกิจการพิมพ์และเผยแพร่ม, เหมืองแร่และทรัพยากร, บริษัทที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี, ธุรกิจก่อสร้าง และประมง เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้จะต้องดำเนินงานต่อไปและต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกัน COVID-19 รวมถึงการตรวจสอบสถานที่โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้โรงงานบางแห่งในเขตอุตสาหกรรม Hlaing Tharyar เริ่มเปิดโรงงานหลังจากผ่านการตรวจสอบแล้วจากเขตอุตสาหกรรม 29 แห่งในเขตย่างกุ้งและมีมากกว่า 6,000 โรงงาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-list-essential-businesses-myanmar.html

‘โควิด’ ฉุดเบิกจ่ายงบ 63 ต่ำกว่าเป้า นายกฯ เร่งทุกหน่วยเบิกงบ

“สมคิด” เผยนายกฯสั่งหัวหน้าส่วนราชการ เร่งเบิกจ่ายงบปี 63 ที่ต่ำกว่าเป้าไปมากหลังผลกระทบโควิด และซักซ้อมการทำโครงการเสนอใช้เงินกู้ 4 แสนล้านบาทเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ได้เร่งรัดส่วนราชการให้เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เนื่องจากขณะนี้การเบิกจ่ายตกเป้าและล่าช้าไปมากเพราะติดขัดปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความล่าช้าของการออก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2563

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878986?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

INFOGRAPHIC : การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ‘โด่ยเหมย’ เปิดตัวในปี พ.ศ. 2529 ทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจของเวียดนามอย่างก้าวกระโดดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายด้านด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นส่งผลให้เวียดนามที่เป็นประเทศยากจนที่สุดในโลกให้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower- middle-income Country)

  • เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ในปี 2563 ระดับ 6.8%
  • รายได้ต่อหัวประชากร (GDP Per Capita) ในปี 2562 อยู่ที่ 2,786 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี
  • การประหยัดจากขนาด (Scale Of Economy) ในปี 2562 มากกว่า 262 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สัดส่วนครัวเรือนที่ยากจน (Proportion Of Poor Households) ในปี 2562 ลดลง 4%

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economic-growth-over-years/172722.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนาม เผย CPI เดือน เม.ย.63 หดตัว 1.54% ต่ำสุดตั้งแต่ปี 2559-2563

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายน 2563 หดตัว 1.54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2563

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-down-154-lowest-in-20162020-period/172720.vnp

‘ดานัง’ ดึงดูดลงทุนต่างชาติพุ่งขึ้น แม้จะอยู่ท่ามกลางโควิด-19

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติประจำเมือง กล่าวว่าเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในนครดานัง อยู่ที่ 76.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับเม็ดเงินเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเมืองดานังทั้งหมด ประมาณ 7 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานของบริษัท ‘Universal Alloy Corporation Vietnam’ และโครงการญี่ปุ่นของ ‘Mikazuki Spa & Hotel’ ทั้งนี้ เมืองดานังมีโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ 844 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน เมืองดานังดึงดูด 4 โครงการรัฐวิสาหกิจ ด้วยเงินทุนกว่า 8.61 ล้านล้านด่ง ตั้งแต่ต้นปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-to-da-nang-surges-despite-covid19/172547.vnp

ดัชนีราคาผู้บริโภค ‘เวียดนาม’ เดือนเม.ย. ลดลง 1.54%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคากลุ่มอาหารลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.62 โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ 11 กลุ่มลดลง รวมถึงการขนส่ง (13.86%), วัสดุก่อสร้างและที่อยู่อาศัย (2.33%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.13%) ทั้งนี้ ราคาทองคำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69 เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (USD) ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมรายการที่มีการเคลื่อนไหว อาทิ อาหารสด พลังงาน บริการดูแลสุขภาพและการศึกษา) ลดลงร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.96

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/april-cpi-down-154-percent-monthonmonth/172557.vnp

รัฐบาลเมียนมาเล็งลงทุนผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Covid-19

เนื่องจากเมียนมาต้องซื้อยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากตลาดต่างประเทศจึงวางแผนซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และหน้ากากอนามัยจากผู้ผลิตในในประเทศแทน สำหรับการป้องกันการควบคุมและการรักษา Covid-19 ของเมียนมานั้นมีการดำเนินการโดยสร้างโรงพยาบาลและคลินิกให้มากขึ้นและจัดหาเครื่องมือวินิจฉัยและเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเติม สำหรับเครื่องวิเคราะห์ Cobas 6800 ที่ใช้ในการทดสอบ Covid-19 จะเริ่มดำเนินการในสัปดาห์นี้ และห้องปฏิบัติการในย่างกุ้งสามารถทดสอบได้มากกว่า 1,000 คนทุกวัน ทั้งนี้ยังมีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ขายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในราคาที่สูงในตลาดท้องถิ่นเพื่อการเก็งกำไรอีกด้วย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/govt-seeks-investment-to-manufacture-covid-19-medical-equipment-at-inoperative-factories

คณะรัฐมนตรีอาจมีแนวทางผ่อนคลายมาตรการบางอย่างในเดือนหน้า

เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือเกี่ยวกับการป้องกันการควบคุมการแพร่กระจายของโคลวิ – 19 รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID – 19 และพิจารณาการผ่อนคลายมาตราการบางอย่างเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชาชนสปป.ลาว คาดว่ารัฐบาลจะมีการปรับเปลี่ยนมาตราการต่าง ๆและเริ่มใช้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ทั้งนี้มติต่าง ๆที่ได้เสนอในที่ประชุมยังต้องมีการพิจารณาต่อไปสักระยะหนึ่งก่อนที่จะบังคับใช้เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรกและจะตามมาด้วยเศรษฐกิจ รัฐบาลยังคงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนต่อไปในการปฎิบัติตามมาตรการต่าง ๆในช่วงนี้เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสต่อไป

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/30/77273/