‘จีน-ไทย’ เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา ป้องกันการแพร่ระบาด

“จีน-ไทย” เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา วางกลไกเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีจีนร่วมการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) วาระพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบทางไกล เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 14 เม.ย.63 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 1.นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวถึงการเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในอนาคต โดยต้องดำเนินการเพื่อเอาชนะโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ซึ่งนอกจากจะคุกคามต่อสุขภาพและชีวิตของผู้คนแล้ว ยังทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการหดตัวของอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงเกิดความผันผวนในตลาดการเงินและการค้า ตลอดจนการลงทุนที่ซบเซา ดังนั้น อาเซียนและประเทศคู่เจรจาบวกสามจึงควรแก้ไขปัญหาวิกฤติร่วมกัน โดยวางกลไกการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินสำหรับต่อสู้กับโรคระบาด และเพิ่มบทบาทในเชิงบวกของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อสู้กับการแพร่ระบาดร่วมกัน และช่วยเหลือกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นในภูมิภาค

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876140

สศช.ขอเอกชนเคาะข้อเสนอเร่งด่วนใน 1 สัปดาห์

สศช. ประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนนัดแรก ให้แบ่ง 5 กลุ่มกลับไปจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอมาคุยอีกครั้ง 20 เม.ย.นี้ ก่อนรวบรวมเสนอรัฐบาล นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นัดแรก ว่า ที่ประชุมฯ ได้รับทราบข้อเสนอของภาคเอกชนทั้งหมดทุกกลุ่มที่เสนอมาในการประชุมครั้งนี้ แต่เนื่องจากข้อเสนอมีหลายเรื่อง จึงจัดกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้นต่างๆ กลับไปกลั่นกรอง และจัดลำดับความสำคัญว่าข้อเสนอนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะทำหรือไม่ หรือมีความคุ้มค่ามากเพียงใด จากนั้นจึงให้รวบรวมข้อเสนอมาหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 เม.ย.นี้ จากนั้น สศช.จะพิจารณาอีกครั้งว่า ข้อเสนอที่เสนอมานั้นเรื่องใดทำได้ทันที หรือเรื่องให้ต้องนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน หากข้อเสนอใดมีความพร้อมจะเสนอให้ครม.พิจารณา พร้อมทั้งยังเปิดพื้นที่สาธารณะในการรับฟังความคิดเห็นผ่าน Facebook “ร่วมด้วยช่วยคิด” ซึ่งจะได้รวบรวมประมวลและนำเสนอครม.ต่อไปด้วย. สำหรับการทำงานทั้ง 5 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ,กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ,กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ,กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร และกลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/768722

ข้าวถุงปรับขึ้นราคา 20% มากสุดรอบ 10 ปี

ราคาข้าวเปลือก-ข้าวสารพุ่ง ข้าวถุงรั้งไม่อยู่ แห่ปรับราคาขึ้น 20% สูงสุดรอบเกือบ 10 ปี นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า จากราคาข้าวเปลือกที่ขยับสูงขึ้นมากในเวลานี้ (ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 9,000-10,900 บาท ขึ้นกับคุณภาพและความชื้น สูงสุดในรอบ 7 ปี) ส่งผลถึงต้นทุนข้าวสารที่ใช้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวสูงขึ้น และมีผลให้ราคาข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวจากเดิมแล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาประมาณ 20% ถือเป็นการปรับราคาสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี สำหรับราคาข้าวสารบรรจุถุงนี้ถือว่ามีการปรับราคาช้ากว่าราคาข้าวที่ขายตามร้านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือร้านที่ตักข้าวชั่งกิโลขายทั่วไป ที่เมื่อราคาข้าวจากโรงสีปรับตัวสูงขึ้น เมื่อซื้อมาขายก็สามารถปรับราคาขึ้นได้เลย ขณะที่ผู้ประกอบการข้าวถุงต้องผูกสัญญาไว้กับห้างโมเดิร์นเทรดต้องแจ้งทางห้างฯ ล่วงหน้า 10-15 วันจึงจะปรับราคาได้ เวลานี้มีหลายแบรนด์ที่แจ้งทางห้างฯ เพื่อขอปรับราคาแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้จะมีข้าวนาปรังเก็บเกี่ยวรอบสองออกสู่ตลาด คาดจะทำให้ราคาข้าวถุงอ่อนตัวลง จากนี้ไปราคาข้าวถุงคงปรับขึ้นอีกไม่มาก ขอให้เห็นใจผู้ประกอบการด้วยเพราะเป็นการปรับขึ้นตามกลไกตลาด ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่มีการปรับเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง และการที่ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นทุกฝ่ายควรที่จะยินดีกับชาวนา

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/429431?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

ไวรัส มรณะ ฉุดส่งออกไทยติดลบ 5.5 % สูญ 13,480 ล้านเหรียญสหรัฐ

ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินโลกน็อคดาวน์ทำส่งออกไทยติดลบ 7.1%  ต่ำสุดรอบ 1 ปี เสียหายยับเยิน 5.5 แสนล้านบาท เฉพาะโควิด-19 ทำส่งออกไทยหาย 13,480 ล้านเหรียญสหรัฐ  ชี้อาเซียน-ฮ่องกงหนัก โดยผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ส่งออกไทยในปี 63 คาดว่าจะมีมูลค่า 228,816 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากปีก่อน 7.1%   หรือลดลง 17,429 ล้านเหรียญสหรัฐ (557,728 ล้านบาท) ถือเป็นอัตราที่ต่ำสุดรอบ 10 ปี แบ่งเป็นได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำจากการระบาดไวรัส โควิด-19 ถึง 80%  ,ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน 10%, สงครามการค้าสหรัฐ-ประเทศคู่ค้า 5% และความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-อิหร่าน 5% เบื้องต้นคาดการณ์ว่าการส่งออกไทยไปยังอาเซียนจะเสียหายมากสุดหรือลดลง  5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงส่งออกไปฮ่องกงลดลง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ,ญี่ปุ่นลดลง  3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จีนเสียลดลง  2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และสหภาพยุโรป ลดลง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น โดยหากประเมินเฉพาะผลกระทบจากการระบาด โควิด-19 อย่างเดียว ไม่รวมปัจจัยอื่น พบว่าจะมีผลต่อการส่งออกในปีนี้ติดลบ 5.5% หรือคิดเป็นมูลค่า 13,480 ล้านเหรียญสหรัฐ (431,360 ล้านบาท)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873679

เศรษฐกิจเดือนก.พ.ทรุด ท่องเที่ยว-เกษตร-อุตฯพัง

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ.63 มีสัญญาณชะลอตัวชัดเจนจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ส่งผลให้การท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก โดยมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยที่ 2.06 ล้านคน ลดลงไป 42.8% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนติดลบหนัก 84.9% นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ลบ 72.6% นักท่องเที่ยวฮ่องกงลบ 54.8% นักท่องเที่ยวมาเลเซียติดลบ 39.6% เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวลงติดลบ 4.5% ต่อปี จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมคิดลบ 5.2% ต่อปี หลังการผลิตในหมวดยานยนต์ น้ำตาล และเม็ดพลาสติกปรับลดลง ด้านการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว แม้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกลับมาขยายตัว 4.6% ต่อปี แต่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งติดลบ 15.4% และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลง 3.7 ต่อปี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนติดลบ 10.2% และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ติดลบ 18.1% ต่อปี สำหรับการส่งออกในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา การส่งออกติดลบ 4.5% ต่อปี จากก่อนหน้าขยายตัว 3.3% ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/765965

เวียดนามปลดล็อกกฎระเบียบนำเข้า “รถยนต์” กรุยทางสู่ MRA อาเซียน ส.ค.นี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผย ‘เวียดนาม’ ปรับปรุงเงื่อนไขนำเข้ารถยนต์ ผ่อนปรนให้ตรวจสอบคุณภาพเฉพาะล็อตแรกที่นำเข้า ยกเลิกการใช้หนังสือรับรองคุณภาพที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก ให้เวียดนามประเมินโรงงานการผลิตของประเทศผู้ส่งออกแทน ชี้ช่วยอำนวยความสะดวกผู้ส่งออกไทยมากขึ้น ด้านอาเซียนเตรียมดันลงนาม MRA ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 สิงหาคมนี้ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เวียดนามได้ออกและบังคับใช้กฤษฎีกา ฉบับที่ 17 (Decree 17/2020) ปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้ารถยนต์ที่เคยกำหนดไว้ในกฤษฎีกา ฉบับที่ 116 (Decree 116/2017) จากเดิมกำหนดให้รถยนต์นำเข้าต้องถูกตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยในทุกล็อตที่นำเข้า ปรับเป็นตรวจสอบเฉพาะรถยนต์ล็อตแรกที่นำเข้า รวมทั้งยกเลิกการใช้หนังสือรับรองคุณภาพรถยนต์นำเข้า (Vehicle Type Approval Certificate: VTA) ที่ออกโดยหน่วยงานในประเทศผู้ส่งออก ปรับเป็นกำหนดให้โรงงานผลิตหรือประกอบรถยนต์ของประเทศผู้ส่งออก ต้องได้รับการประเมินโรงงานการผลิต (Conformity of Production: COP) โดยหน่วยงานตรวจสอบของเวียดนาม (Vietnam Register) ซึ่งผลการตรวจสอบและผลการตรวจประเมินจะมีอายุ 36 เดือน ทั้งนี้ การผ่อนปรนกฎระเบียบการตรวจสอบรถยนต์นำเข้าของเวียดนาม จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกรถยนต์ของไทยมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องขอเอกสาร VTA รวมทั้งไม่ต้องถูกตรวจรถยนต์ที่ส่งออกไปเวียดนามทุกล็อต ซึ่งตั้งแต่ปี 2561 กระทรวงพาณิชย์ได้พยายามเรียกร้องและผลักดันเวียดนามเรื่องนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงคมนาคมของเวียดนามได้ออก Circular 05/2020 ซึ่งกำหนดแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยด้านเทคนิค และป้องกันสิ่งแวดล้อมสำหรับรถยนต์ที่ผลิต/ประกอบในประเทศ และรถยนต์นำเข้าตามกฤษฎีกาฉบับใหม่ โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 15 เมษายน 2563 ทั้งนี้ Circular 05/2020 ยังเปิดโอกาสให้หน่วยงานตรวจสอบของเวียดนาม ยอมรับผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานรถยนต์จากหน่วยงานของประเทศที่เวียดนามมีข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้วย ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากขณะนี้อาเซียนอยู่ระหว่างเตรียมลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ระหว่างกัน โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 ได้ขอให้เวียดนามเร่งรัดกระบวนการภายในให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถลงนามข้อตกลงฯ ได้ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 ในเดือนสิงหาคมนี้ ที่เวียดนาม โดยขณะนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศยกเว้นเวียดนาม ได้แสดงความพร้อมที่จะลงนามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ข้อตกลง MRA จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องยอมรับผลการทดสอบ ที่ออกโดยหน่วยงานตรวจสอบที่ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศผู้ส่งออก โดยไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคในการนำเข้าและส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนสร้างตลาดและฐานการผลิตร่วมในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ในปี 2562 เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทย จำนวน 74,993 คัน มูลค่า 1,527 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีปริมาณการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากปี 2561 โดยคาดว่าภายหลัง Decree 17 บังคับใช้ ประกอบกับการทำข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน จะทำให้ไทยสามารถส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามได้มากขึ้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-440168

บริษัทขนส่งไทยระงับเส้นทางมายังสปป.ลาว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท ขนส่ง จำกัดประเทศไทย (บขส.) ระงับการให้บริการรถบัสระหว่างประเทศหนึ่งในนั้นคือเส้นทางจากไทยไปยังเขตรอยต่อสปป.ลาว-ไทย การระงับการเดินทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตราการลดความเสี่ยงในแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้แรงงานสปป.ลาวหลายรายต้องตกงาน จึงมีการหลั่งไหลกับสปป.จำนวนมากในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยมีข้อกำหนดวันที่จะปิดพรหมแดนทำให้แรงงานสปป.ลาว มีความต้องการกลับยังประเทศในสถานการณ์แบบนี้แต่ก็มีบางส่วนไม่ได้กลับไปเพราะคิดว่าตัวเองอาจมาจากกลุ่มเสี่ยงการกลับบ้านไปอาจทำให้ไปแพร่ระบาดเชื้อไวรัสในสปป.ลาวได้  ซึ่งจากมาตราการดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อแรงงานสปป.ลาวในไทยแต่ยังส่งผลต่อผลประกอบของุรกิจโดยตรง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านที่ได้รับผลกระทบจากการที่นักท่องเที่ยวลดลงจนถึงปัจจุบันที่มีมาตราการดังกล่าวออกจึงตอกย้ำความย่ำแย่ของบริษัท แต่ถึงอย่างไรในช่วงสถานการณ์แบบนี้บริษัทน้อมรับทำตามมาตราการของนโยบาย

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1886425/buses-to-laos-cambodia-suspended

แรงงานเมียนมาเดินทางกลับจากไทยต้องถูกกักที่โรงพยาบาลโมนยวา

ในวันที่ 23 มีนาคม กรมอนามัยเขตเมืองสกายออกประกาศ คนงานที่เดินทางกลับจากประเทศไทยถูกกักกันที่โรงพยาบาลโมนยวา สมาคมสุขภาพและสมาคมสวัสดิการสังคมกำลังร่วมมือกันตรวจสุขภาพของแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับจากประเทศไทย พบว่าหนึ่งในแรงงานมีอุณหภูมิร่างกายสูงและถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล ส่วนคนงานอื่น ๆ ถูกกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน แรงงานอพยพทั้งหมด 15 คนยังโมนยวาทั้งที่มาจากประเทศไทย เมืองอะยาดอ เมืองกะนี เมืองซ่าลี่นจี้ เมืองดีแบ้ยี่น และเมืองโมนยวา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/a-worker-returned-from-thailand-keeps-in-quarantine-at-monywa-hospital

ทรู ดิจิทัล พาร์ค จัด Live งาน TDPK Pitching Day 2020 ครั้งแรก หนุนสตาร์ทอัพป้อนอุตสาหกรรม S-Curve ชิงรางวัลรวมมูลค่า 1.5 ล้านบาท

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพส่งไอเดียและผลงานธุรกิจในหัวข้อ “10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ 10 S-Curve” ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ชิงรางวัลรวมมูลค่า 1.5 ล้านบาท พร้อมการสนับสนุนด้านต่างๆ จากทรู ดิจิทัล พาร์ค ที่จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวของธุรกิจ อาทิ พื้นที่นั่งทำงานฟรี (Co-Working Space) และ ช่องทางสื่อสารโปรโมตธุรกิจ เป็นต้น โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพร่วมตัดสินผลงาน และมอบรางวัลแก่สตาร์ทอัพ ทั้งนี้ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังคงเดินหน้าสร้างระบบนิเวศสมบูรณ์แบบครบวงจรสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้านเทคโนโลยี พร้อมสร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง โดยในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทรู ดิจิทัล พาร์ค ได้ปรับรูปแบบการจัดงาน Pitching Day ตามมาตรการ Social Distancing ใช้เทคโนโลยีถ่ายทอดสดกิจกรรม Pitching ผ่านระบบออนไลน์ ออกทางช่อง Facebook ของทรู ดิจิทัล พาร์ค และ แพล็ตฟอร์ม ของ ทรู ไอดี ให้ทั้งสตาร์ทอัพและบุคคลทั่วไป สามารถชมการนำเสนอผลงานได้ในพื้นที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องรวมตัวในที่เดียวกันเพื่อลดความหนาแน่นของผู้เข้าร่วมงาน พร้อมมีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เข้ามาทำงานและประชุมภายในโครงการ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3108360

น้ำมันดิ่ง-โควิด ทุบยอดส่งออก ก.พ.2563 พลิกเป็นลบ 4.47% จากเดือนก่อนบวก 3.35%

ส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลง 4.47% ผลจากราคาน้ำมันลดลง แต่ทั้งนี้ ยังเชื่อมั่นทั้งปี 2563 ว่าการส่งออกไทยยังมีโอกาสขยายตัวเป็นบวกได้ รับปัญหาโควิด-19 ยังประเมินทิศทางผลกระทบส่งออกเร็วไปรอติดตามสถานการณ์สักระยะ การส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลง 4.47% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าอยู่ที่ 20,641 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และฐานการส่งออกอาวธในช่วงซ้อมรบในปีก่อน แต่หากดูเฉพาะมูลค่าการส่งออกถือว่ามูลค่าการส่งออกของไทยยังทรงตัวดีมีมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 19,871 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างปี 2558-2562 อย่างไรก็ดี หากหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกของไทยในเดือนนี้ยังขยายตัวอยู่ที่ 1.51% ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 16,745 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.30% ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุล 3,897 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี การส่งออก 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2563 ไทยส่งออกส่งออกลดลง 0.81% มีมูลค่าอยู่ที่ 40,267 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุลอยู่ที่ 2,341 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 3.0% สินค้าที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ส่วนสินค้าที่หดตัว เช่น ข้าว ผลจากตลาดสหรัฐและจีน ผัก ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป หกตัวจากตลาดจีน น้ำตายทราย เป็นต้น ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 5.2% สินค้าที่ยังขยายตัวดี เช่น ทองคำ ขยายตัวทุกตลาด เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภันฑ์ยาง สินค้าที่ส่งออกหดตัว เช่น อาวุธ กระสุน รวมทั้งส่วนประกอบ ซึ่งหดตัวจากตลาดสำหรับ สิงคโปร์ อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน โดยจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันโลกผันผวนปรับตัวลดลง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภันฑ์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับการส่งออกไปในตลาดสำคัญในช่วงปัญหาโควิด-19 นั้น หดตัวไปในหลายตลาด เช่น สหรัฐ เนื่องจากปีที่ผ่านมาฐานการส่งออกอาวุธสูง แต่ในปี 2563 ลดลง ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับทิศทางการส่งออกในเดือนมีนาคม 2563 แม้อาจจะลอตัวอยู่บ้างแต่เชื่อว่าการส่งออกในครึ่งปีแรก 2563 จะกลับมาขยายตัวดี จากสถารการณ์ของจีนดีขึ้นจะมีผลต่อการเร่งนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรและอาหาร และชดเชยจากการส่งออกในตลาดสหรัฐและยุโรป เริ่มชะลอตัวลงจากปัจจัยเรื่องของโควิด-19 ทั้งนี้ หากจะให้การส่งออกของไทยทั้งปี 2563 ต้องการให้ขยายตัวอยู่ที่ 0% ไทยต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือน 20,598 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหากต้องการให้โต 2% ไทยต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-436313