บริษัทต่างชาติลงทุน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจ CMP ในย่างกุ้ง

ตามรายงานของคณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้ง บริษัท ต่างๆ จะเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจผลิตเสื้อผ้าและกระเป๋าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ในเขตอุตสาหกรรมในเขตย่างกุ้งรวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า ด้วยการลงทุนเกือบ 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ไฟน์ไลน์ จำกัด จากฮ่องกง ลงทุน 2.087 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า บริษัท Genesis Myanmar Garment จำกัด จำนวน 4.285 ดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรมอีสต์ ดราก้อน South Frame Myanmar Limited จากเอสโตเนีย 0.852 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  Myanmar Journey Bags Co Ltd (ฮ่องกง) 1.622 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตอุตสาหกรรมวาตายา Kai Sheng (เมียนมา) ของไต้หวัน 0.911 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน ในเมืองชเวปยีธา บริษัท การ์เม้นท์ จำกัด จากจีน 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ศรีหยวน (เมียนมา) จำกัด จากฮ่องกง 0.906 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเมืองไล่ง์บแว่ บริษัท ซันไรส์ (เมียนมา) แฟชั่น จำกัด จากจีน 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรม Thadukan บริษัท ซีรานนอนวูฟเวน (เมียนมา) จำกัด จากฮ่องกง 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Allland Fashion Limited จากจีน 1.002 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเขตอุตสาหกรรมไลง์ตายา และมีบริษัททั้งจากจีน ไต้หวัน และอื่น ๆ ที่ลงทุนในธุรกิจเสื้อผ้าแบบ CMP ในหลายเขตอุตสาหกรรม การลงทุนในครั้งนี้สามารถสร้างงานในท้องถิ่นมากกว่า 8,920 ตำแหน่ง

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/companies-to-invest-24-m-in-cmp-garment-bag-making-in-yangon

กัมพูชามองถึงการเติบโตด้านการท่องเที่ยวหลังสิ้นสุดการระบาด Covid-19

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนกัมพูชาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหลังจากสิ้นสุดการระบาดของ COVID-19 โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกัมพูชาได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยรัฐบาลได้มีการแนะนำมาตรการและแผนงานเพื่อฟื้นฟูภาคต่างๆโดยเฉพาะในจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชา ซึ่งในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกัมพูชาลดลงถึง 15% เมื่อปีที่แล้วภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาเติบโตถึง 6.6% คิดเป็น 6.6 ล้านคน โดยมีรายรับจากภาคการท่องเที่ยวถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากลัวคือ COVID-19 จะลดจำนวนนักท่องเที่ยวลงในปีนี้ประมาณไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและรัฐมนตรีต่างประเทศของกระทรวงการท่องเที่ยวเรียกร้องให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นเพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698040/cambodia-optimistic-of-exponential-tourism-growth-and-foreign-arrivals-after-end-of-covid-19

ทางหลวงสู่สีหนุวิลล์แล้วเสร็จไปกว่า 20%

โครงการทางด่วนแห่งแรกในกัมพูชาเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลวงกรุงพนมเปญกับสีหนุวิลล์ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว 20% นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อปีที่แล้วตามรายงานจากกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) สร้างโดย China Road และ Bridge Corp (CRBC) ซึ่งเป็นของรัฐผ่านบริษัทย่อยของบริษัท PPSHV Expressway Co Ltd. โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายของโครงการจะมีมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระยะทางทอดยาว 190 กิโลเมตร ความกว้าง 24.5 เมตร ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการให้บริการอุตสาหกรรมที่ทันสมัยของประเทศและอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการขนส่งระหว่างประเทศ การก่อสร้างทางด่วนเป็นไปตามวัตถุประสงค์การรวมตัวของภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งในระดับภูมิภาคจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยทางหลวงใหม่นี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งของกัมพูชาควบคู่ไปกับการพัฒนาโลกาภิวัตน์ ซึ่งการพัฒนาทางพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Belt and Road” ของรัฐบาลจีนครอบคลุมเกาะเทียมในศรีลังกา สะพานในบังคลาเทศและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทั้งในเนปาลและอินโดนีเซีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50697727/billion-dollar-highway-to-sihanoukville-20pct-ready

ประภาศรี สุฉันทบุตรแนะรัฐบาลตั้งวอร์มรูมเศรษฐกิจออกมาตรการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยว

นางประภาศรี สุฉันทบุตร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง วุฒิสภา เปิดเผยว่า รู้สึกเห็นใจ ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์หรือไกด์ที่ต้องตกงานไม่น้อยกว่า 30,000 คน จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนระงับการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเมื่อวันที่29ก.พ.ที่ผ่านมา สมาพันธ์มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย จัดประชุมมัคคุเทศก์ที่จังหวัดกระบี่ มีการสะท้อนปัญหาการยกเลิกทัวร์จากจีนเกือบทั้งหมดจะหวังพึ่งนักท่องเที่ยวจากยุโรปหรือเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว มาเลเซีย เวียดนามหรือกัมพูชาก็ไม่ผลเพราะได้รับผลจากโควิด-19เช่นกัน ส่งผลให้ มัคคุเทศก์ ไม่มีงานทำแนะรัฐบาลตั้งวอร์มรูมเศรษฐกิจออกมาตรการช่วยเหลือด่วนในช่วงที่เกิดวิกฤตแบบนี้

ที่มา : https://mgronline.com

ยอดส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นราว 145% ในช่วงครึ่งเดือนแรกกุมภาพันธ์

จากสถิติของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกกุมภาพันธ์ ปริมาณการส่งออกยางพารารวมของเวียดนามอยู่ที่ 42,690 ตัน คิดเป็นมูลค่า 62.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 144.9 ด้านปริมาณ และร้อยละ 139.3 ด้านมูลค่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ 15 วันก่อน ซึ่งตัวเลขข้างต้น ในด้านปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.3 และด้านมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 124.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 สำหรับราคาส่งออกพาราเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,462 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ 15 วันก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีนี้จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปริมาณการส่งออกพาราของเวียดนามไปยังต่างประเทศ อยู่ที่ 132,620 ตัน คิดเป็นมูลค่า 193.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.8 ในด้านปริมาณ และร้อยละ 15 ในด้านมูลค่า นอกจากนี้ ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าการส่งออกยาพาราของเวียดนามขึ้นอยู่กับการบริโภคยางพาราในตลาดจีน ดังนั้น ความผันผวนของความต้องการยางพาราจากจีนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมยางพาราในประเทศ สุดท้ายแล้วจากตัวเลขสถิติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561, 2562 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนการส่งออกยางพาราไปยังจีน อยู่ที่ร้อยละ 15-20 ของการส่งออกยางพาราไปยังต่างประเทศรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rubber-exports-skyrocket-nearly-145-per-cent-in-first-half-of-february-410851.vov

ธุรกิจที่จัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้น แต่เงินทุนกลับลดลง ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีธุรกิจจัดตั้งใหม่ 17,400 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 และธุรกิจที่กลับมาดำเนินกิจการ 11,900 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินทุนจดทะเบียนใหม่รวมอยู่ที่ 956 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวนคนงาน 157,500 คน ลดลงร้อยละ 11.1 และ 3.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ สำหรับธุรกิจที่หยุดดำเนินกิจการมีอยู่ประมาณ 16,200 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ 9,163 ราย คิดเป็นมูลค่าทุนจดทะเบียน 96.8 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว หากจำแนกภาคเศรษฐกิจ พบว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ของภาคเกษตรกรรม 265 ราย, ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 4,700 ราย และภาคบริการ 12,500 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3, 8.4 และ 9.2 ตามลำดับ นอกจากนี้ จากข้อมูลของ CIEM ระบุว่าภาครัฐจำเป็นต้องเร่งปฏิรูปและการให้บริการในการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่และทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโต

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/652980/newly-established-firms-up-but-capital-down-in-two-months.html

ภาคเกษตรคิดเป็น 0.49% ของการลงทุนโดยตรงทั้งหมดในเมียนมา

ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาการลงทุนจากต่างประเทศในภาคเกษตรท้องถิ่นอยู่ที่ 414.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 0.49% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด ในช่วงปี 2531-2532 ถึง 2553-2554 ภาคเกษตรกรรมมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศแตะ 9.650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2555-2556 มูลค่า 20.269 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2556-2557 มีมูลค่า 39.666 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2557-2558 มูลค่า 7.180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2558-2559 มูลค่า 124.485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2560-2561 ลงทุน 10.650 ล้านตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายนปี 61 ลงทุน 19.119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ของปีงบประมาณ  61-62 ส่วนปี 59-60 ไม่มีการลงทุน กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์แห่งสหภาพเมียนมากำลังพัฒนาภาคการผลิตทางการเกษตรด้วยการลงทุนและความร่วมมือทางเทคนิคจากต่างประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการแข่งขันในตลาดการพัฒนาโรงงานผลิตสินค้าเกษตรและเชิญชวนการลงทุนสำหรับเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและภาคเมล็ดพันธุ์จะส่งเสริมผลประโยชน์ของเกษตรกรและนำไปสู่การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร MIC)เตรียมข้อเสนอการลงทุนแก่ภาคการเกษตรโดยเร็วโดยเป็นลำดับความสำคัญของการส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ ปัญหาสำคัญสองประการในภาคการเกษตรคือการเข้าถึงที่ดินและผลตอบแทนและระยะเวลาคืนทุน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/agricultural-sector-accounts-for-049-pc-of-total-fdi

บริษัทประกันต่างประเทศเพิ่มเงินลงทุนกว่า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเมียนมา

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ระบุว่าตั้งแต่ปีที่แล้วมีนักลงทุนได้ลงทุนในธุรกิจประกันภัยเมียนมาเป็นจำนวน 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 60 พันล้านจัต ปี 2562 กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรมได้รับอนุญาตให้บริษัท ประกันชีวิตต่างประเทศห้าแห่ง บริษัทประกันชีวิตร่วมทุนหกบริษัท และบริษัทประกันวินาศภัยเพื่อดำเนินงานในตลาดประกันภัยในประเทศ ได้แก่ AIA, Chubb, Dai-ichi, Manulife และ Prudential ได้ลงทุนรวม 65 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัท ประกันชีวิตร่วมทุนสามแห่ง ได้แก่ Capital Taiyo Life, CB Life และ GGI Nippon Life- ลงทุน 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐและประมาณ 10 พันล้านจัต ในขณะเดียวกัน บริษัท ประกันวินาศภัยที่ร่วมลงทุนทั้งสามแห่ง ได้แก่ AYA Sompo, GGI Tokio Marine และ KBZ MS ได้ลงทุน 26 ล้านเหรียญสหรัฐและ 56 พันล้านจัต MIC ชี้ภาคประกันภัยมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาคาดจะมี FDI ทั้งสิ้น 5.8 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/foreign-insurers-added-more-us120m-industry.html

บ่อแก้วพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อการส่งออกไปยังจีน

การส่งออกปศุสัตว์เป็นสินค้ากลุ่มที่สร้างมูลค่าการส่งออกสูงสุดในปี 2562 โดยโคสร้างรายรับประมาณ 227.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 61 เส้นทางการส่งออกจะส่งผ่านทางแขวงบ่อแก้ว เป็นแขวงที่เหมาะแก่การเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อขายในประเทศจีนเนื่องจากมีสภาพอากาศที่เหมาะสมและตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนจีน อย่างไรก็ตามโคกระบือที่ส่งออกไปส่วนใหญ่สปป.ลาวนำเข้ามาจากไทยอีกทีและค่อยส่งออกไปยังจีนเนื่องจากโคกระบือไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่จีนกำหนดทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณทำให้สปป.ลาวยังต้องพึ่งพาโคกระบือจากไทยอยู่ จุดนี้เองเป็นสิ่งที่สปป.ลาวต้องหันมาพัฒนาการเพาะเลี้นยงโคกระบือให้ประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการลงทุนในเทคโนโลยี รวมถึงการนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้การเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ของสปป.ลาวให้พัฒนาขึ้น และในอนาคตจะทำให้ผลิตโคกระบือมีประสิทธิภาพขึ้นจนสามารถส่งออกไปยังจีนได้เอง

ที่มา :  http://annx.asianews.network/content/bokeo-eyes-cattle-exports-china-114924

รัฐบาลนำระบบ TaxRIS เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ

รัฐบาลจะนำระบบข้อมูลการจัดการรายได้จากภาษี (TaxRIS) เพื่อจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยได้มีการ จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาษีจากทั่วประเทศเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีของธุรกิจและปัญหาด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบ TaxRIS เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่ดีทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น โดยในปีนี้กระทรวงการคลังคาดว่าจะมีรายรับ 28,997 พันล้านกีบหรือ 16.31% ของ GDP เพิ่มขึ้น 9.4% จากแผนปี 2562 ดังนั้นการนำระบบ TaxRIS เข้ามาจะทำให้รัฐบาลได้รับรายได้ตามเป้านั้นเอง TaxRIS มีเป้าหมายที่จะทำให้การจัดการรายได้ทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดตามแบบระดับสากล

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/govt-goes-hi-tech-boost-revenue-collection-114923