ความต้องการถั่วหัวช้างยังโตต่อเนื่อง หนุนราคาพุ่ง

ราคาถั่วหัวช้างอยู่ในช่วงขาขึ้นเพราะความต้องการในประเทศเพิ่มอย่างต่อเนื่องในเดือนก.ค. เพิ่มเป็น 100,000 จัตต่อถุง จากผลลิตที่ลดลงในปีนี้ ปัจจุบันราคาขยับอยู่ในช่วง 92,000-100,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับพันธุ์ ขณะที่เดือนก่อนราคาจะอยู่ที่ 93,000 จัตต่อถุง ราคามักจะผันผวนขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน เมื่อทำการขนขึ้นเรือ ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย ปีที่ผ่านมาเมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างไปยังอินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และตลาดอื่นๆ ส่วนการเพาปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซากาย และอิรวดี และเนปิดอว์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศประมาณ 890,000 เอเคอร์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 25 มิ.ย.64 ของปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างมากกว่า 23,675 ตันถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – KK/GNLM

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/strong-domestic-demand-drives-chickpea-price-up/

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-54 เมียนมานำเข้ายา 303.53 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา 7 เดือนเรกชองปีงบประมาณ 63-64 (ต.ค.63-เม.ย.64) มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาอยู่ที่ประมาณ 303.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมียนมานำเข้ายาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ร้อยละ 90 จากตลาดต่างประเทศ อินเดียเป็นซัพพลายเออร์หลักสำหรับเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังนำเข้าจากบังคลาเทศ จีน เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม การค้ากลับสู่ภาวะปกติหลังจากการตื่นตระหนกในช่วงการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันมีการนำเข้ายาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาของยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น อีกทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 มีความจำเป็นอย่างมากท่ามกลางการระบาดที่เพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้ตัดระเบียบราชการออกเพื่อนำเข้ายาบางชนิดเข้ามาก่อน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pharmaceutical-imports-top-303-53-mln-in-seven-months/

ราคายางพุ่งต่อเนื่อง ทะลุ 900 จัตต่อปอนด์

จากข้อมูลของคลังสินค้า Mawlamyine Commodity Depot ราคายางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 900 จัตต่อปอนด์ ยางธรรมชาติราคาอยู่ที่ 710 จัตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางแผ่นรมควัน (RSS) แตะที่ 720 จัตต่อปอนด์ในปลายเดือนมกราคม 64 แต่ปัจจุบันยางธรรมชาติได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 930 จัตต่อปอนด์ และ 940 จัตต่อปอนด์สำหรับยางแผ่นรมควัน (RSS) ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าราคายางสูงขึ้นเนื่องจากการผลิตลดลงในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวในเดือนมิ.ย.- ส.ค.63 นี่คือสาเหตุที่ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวปีนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคายางสูงขึ้นในปีนี้คือการนำไปผลิตถุงมือยางเพื่อป้องกัน COVID-19 ปัจจุบันความต้องการยางจากจีนและไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง ด้านการเพาะปลูกพบว่าในปี 63 รัฐมอญมีพื้นที่เพาะปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดโดยสามารถผลิตยางได้กว่า 240 ล้านปอนด์ จากข้อมูลปี 61-62 เมียนมามีพื้นที่สวนยางมากกว่า 1.628 ล้านเอเคอร์ โดยรัฐมอญมีพื้นที่ 497,153 เอเคอร์ รองลงมาคือเขตตะนาวศรี 348,344 เอเคอร์ และรัฐกะเหรี่ยง 270,760 เอเคอร์ โดยการผลิตยางประมาณ 300,000 ตัน ร้อยละ 70 ถูกส่งออกไปจีน และในทุกๆ ปีเมียนมาส่งออกยางดิบกว่า 200,000 ตันสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-stays-on-rise-hit-over-k900-per-pound/

7 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกเมล็ดงาพุ่ง 287.75 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเมียนมา เผย 7 เดือนแรก (ตุลาคม-เมษายน) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 ส่งออกเมล็ดงา 287.75 ล้านดอลลาร์ ในวันที่ 8 ก.ค.64 ราคาส่งออกลดลงเหลือ 130,000-148,000 จัตต่อถุง เนื่องจากเงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย.64 ราคาจะอยู่ที่ 135,000-160,000 จัตต่อถุง ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกเมล็ดงานไปต่างประเทศถึงร้อยละ 80 มีจีนเป็นคู่ค้าหลักและกระจายไปตลาดอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ กรีซ โปแลนด์ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนการปลูกงาเขตมะกเวเป็นแหล่งปลูกเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ และยังมีบางส่วนที่เปลูกในเขตมัณฑะเลย์และเขตซะไกง์ สำหรับพืชน้ำมันสำหรับประกอบอาหาร เมล็ดงานมีพื้นที่เพาะปลูกสูงสุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด จากสถิติการส่งออกงาของเมียนมา ในปีงบประมาณ 58-59 มีการส่งออกมากกว่า 96,000 ตัน มูลค่า 130 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 59-60 อยู่ที่ 100,000 ตัน มูลค่า 145 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 60-61 อยู่ที่ 120,000 ตัน มูลค่า ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 61-62 อยู่ที่ 125,800 ตัน มูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีงบฯ 62-63 มีการส่งออกมากกว่า 150,000 ตัน มูลค่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sesame-seeds-export-tops-us287-75-mln-in-seven-months/

9 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วแระไปแล้วกว่า 136,000 ตัน

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 26 มิ.ย.2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 136,632 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 สร้างรายได้เข้าประเทศ 91.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถั่วแระส่วนใหญ่จัดส่งไปยังอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ จะมีส่งออกไปสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย แต่มีปริมาณไม่มากนัก เมียนมาส่งออกถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G to G (รัฐถึงรัฐ) ในปีงบประมาณ 2564-2565 และปีงบประมาณ 2568-2569 ทั้งนี้การค้าแบบ G-to-G ได้เริ่มต้นในปี 2559 และทั้งสองประเทศได้ลงนาม MoU เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2560-2561 เมียนมาส่งออกส่งถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียวเขียวกว่าล้านตันไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รายได้ขึ้นทะเบียนเพียง 713 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาลดลง ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วชนิดต่างๆ กว่า 1.6 ล้านตัน สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-136000-tonnes-of-pigeon-peas-as-of-25-june/

แตงโมล้นตลาด แนะเกตรกรแก้ปัญหาลดพื้นที่เพาะปลูกลง 50%

ผลผลิตแตงโมที่ออกมาล้นตลาด เกตรกรได้รับการแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% สำหรับฤดูการที่จะมาถึง การส่งออกแตงโมลดลงจากปีที่แล้วอย่างชัดเจน เห็นได้จากรถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และแตงเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังจีนแตส่งผลกระทบเสียหายแตงโมถูกทิ้งหรือเน่าเสีย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด การขนส่งล่าช้า และการเข้มงวดของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดนสำคัญของเมียนมา-จีน เช่น ชายแดนรุ่ยลี่ ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มตรวจหาเชื้อทันที ส่งผลให้การซื้อขายเกิดความล่าช้า โดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่ารถบรรทุกจะเข้าสู่จุดตรวจ รถบรรทุกแตงโม (พันธุ์ 855) ราคาอยู่ที่ 45,000-65,000 หยวนต่อตัน ในเดือนมีนาคม ราคาลดฮวบเหลือ 13,000 หยวน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมของเมียนมาร์พึ่งพาจีนเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ดจำนวน 45 ตันไปยังตลาดดูไบในเดือนธันวาคม 2563 และมกราคม 2564 หลังจากที่ประเทศประสบความสำเร็จในตลาดดูไบ มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ขนถ่ายสินค้าผลไม้หลักไมล์ 105 ได้มีการกำหนดจำนวนรถบรรทุกแตงโมและแตงโมเพื่อการส่งออกเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปี และเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีนทุกปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-growers-suggested-50-production-drop-next-growing-season/

โควิคพ่นพิษ! วัว 7,000 ตัว ติดค้างที่ด่านชายแดนมูเซ

หลังจีนยกระดับควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 แถบชายแดนการค้าปศุสัตว์หยุดชะงัก ทำให้วัวประมาณ 7,000 ตัวติดอยู่ด่านมูเซ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ทำให้พ่อค้าชาวจีนรับซื้อวัวในตลาดมืดข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมาและจีนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันตลาดมืดเติบโตขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา สำหรับการค้าอย่างถูกกฎหมาย จีนอนุญาตให้นำเข้าโคที่มีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อมั่นใจว่าโคนั้นปลอดจากโรควัว 20 โรค แต่เกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่สำคัญในตลาดมืด การส่งออกโคมีชีวิตพึ่งพาตลาดจีนเป็นอย่างมากเนื่องจากราคาที่ดี แม้ว่าจะมีตลาดอื่นๆ เช่น ลาว ไทย มาเลเซีย และบังคลาเทศ กระทรวงพาณิชย์ออกใบอนุญาตให้แต่ละบริษัทส่งออกโค 100 ตัว มีอายุ 3 เดือน ในช่วงปลายปี 2560 เพื่อสกัดการค้าผิดกฎหมาย เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตว์รวมถึงปศุสัตว์มูลค่า 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณ 2561-2562 มูลค่าการส่งออกลดลง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/about-7000-cattle-stranded-in-muse/#article-title

เมียนมาส่งออกถั่วลูกไก่ไปต่างประเทศกว่า 23,675 ตัน

กระทรวงพาณิชย์ เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 25 มิ.ย. 2564 ของปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วลูกไก่มากกว่า 23,675 ตัน มูลค่าประมาณ 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราคาอยู่ระหว่าง 86,000-88,000 จัตต่อถุงสามตะกร้าขึ้นอยู่กับสาบพันธุ์ โดยราคาจะผันผวนขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน และราคายังคงทรงตัวท่ามกลางปัญหาการขนส่งและปัญหาในการทำธุรกรรมในประเทศ ปีที่แล้วเมียนมาส่งออกถั่วลูกไก่ไปยังอินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และอื่นๆ ส่วนการเพาะปลูกจะในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค สะกาย และอิยาวดี เนปิดอว์ รวมพื้นที่กว่า 890,000 เอเคอร์ทั่วประเทศ โดยจะเพาะปลูกในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-23675-tonnes-of-chick-pea-to-external-market-as-of-25-june/#article-title

ถั่วฝักยาวเริ่มขายดีในตลาดนะเมาะ

ยอดขายถั่วฝักยาวในตลาดตำบลนะเมาะ เขตมะกเว ดีวันดีคืนอย่างเห็นได้ชัด เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพืชถั่วฝักยาวกันเพิ่มขึ้น เพราะใช้น้ำน้อย ระยะเวลาปลูก 65 วัน สามารถเก็บเกี่ยวขายในราคา 1,500 จัต เกษตรกรปลูกถั่วฝักยาวเป็นหนึ่งในพืชผักสวนครัวหลักในทุกๆ ปี ซึ่งถั่วฝักยาวแต่ละห่อสามารถให้ผลผลิตได้ประมาณหกหรือแปดครั้งในแต่ละครั้ง และสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกสองวัน ตำบลตำบลนะเมาะป็นพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย ดังนั้นคนในท้องถิ่นจึงปลูกพืชผักสวนครัวอื่น ๆ นอกเหนือจากการปลูกพืชน้ำมันที่บริโภคได้เพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัว การที่ราคาพืชผลสูงขึ้นกำลังผลักดันให้ชาวสวนปลูกพืชผลมากขึ้นเช่นกัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/long-bean-selling-well-in-natmauk-township/

เกษตรกรเมืองนะเมาะเพาะลูกไก่ขายสร้างกำไรงาม !

เกษตรกรเมืองนะเมาะ เขตมะกเว ทำฟาร์มไก่สร้างกำไรให้ครัวเรือนได้อย่างน่าพอใจ การเลี้ยงไก่จะใช้เวลาเลี้ยงในตู้ฟักเป็นเวลา 21 วัน จากนั้นจะได้รับวัคซีนทันทีที่นำออกจากเครื่อง โดยราคาขายจะอยู่ที่ 1,800 จัตต่อไก่ปกติ และ 8,000 จัตต่อไก่เนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงคือ ปลายข้าว ข้าวโพด และรำข้าว นอกจากนี้ยังใช้แพงพวยและหญ้าเลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร การทำฟาร์มเลี้ยงไก่สร้างกำไรให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก ลูกค้าส่วนใหญ่มาจากเมืองนาเมาะและปยอ-บแว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/natmauk-residents-run-small-scale-baby-chick-production/#article-title