เวียดนามเผยยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 11.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 6.3% yoy ในช่วงม.ค.-สิ.ค. 62

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคมที่ผ่านมา เวียดนามสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ถึง 11.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ บริษัทต่างประเทศที่ทำการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าราว 117.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.4 ของการส่งออกเวียดนามโดยรวม นอกจากนี้ ฮ่องกงยังคงเป็นผู้ที่ทำการลงทุนโดยตรงรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ตามลำดับ หากสังเกตในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น พบว่ามีการลงทุนโดยตรงอยู่ที่ 19.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190827/vietnam-janaug-fdi-inflows-up-63-y-y-to-1196-billion-ministry/51098.html

กระทรวงของกัมพูชาลงนามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำสะอาด

กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมได้ลงนามในข้อตกลงกับกลุ่มรัฐวิสาหกิจน้ำของปักกิ่งและโนเบิลวอเตอร์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการเพิ่มปริมาณน้ำดื่มในราชอาณาจักร โดย MoUs ระหว่างกันจะช่วยให้รัฐบาลบรรลุเป้าหมายในการเข้าถึงน้ำสะอาดให้กับทุกคนในกัมพูชาภายในปี 2568 ตามที่กระทรวงได้แจ้งไว้ ซึ่ง Beijing Enterprise Water Group และ Noble Water จะร่วมพัฒนาระบบบำบัดน้ำอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดยแผงโซล่าร์ และกังหันลม โดยกล่าวเสริมว่าโซลูชั่นนี้เหมาะกับความต้องการในปัจจุบันของกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ โดยโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกล่าวว่ากระทรวงได้ออกใบอนุญาตจัดหาน้ำกว่า 256 ใบ ให้แก่ผู้ประกอบการนอกกรุงพนมเปญและในพื้นที่ที่ไม่มีท่อน้ำสะอาด ซึ่งความต้องการน้ำสะอาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเติบโตของประชากรและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  โดยความต้องการน้ำสะอาดในกัมพูชาอยู่ที่ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50637217/ministry-signs-agreements-to-develop-clean-water-infrastructure/

สมาคมการข้าวกัมพูชาจะพบกับสหภาพยุโรปเพื่อหารือเกี่ยวกับภาษี

สหพันธ์ข้าวกัมพูชาหารือกับสหภาพยุโรปเกี่ยวกับภาษีส่งออกข้าว โดยเมื่อปีที่แล้ว EC กล่าวว่าการนำเข้าข้าว Indica จากกัมพูชาและเมียนมาที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในสหภาพยุโรปทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อผู้ผลิตในยุโรป โดยจากการตัดสินใจของ EC ทำให้ข้าวจากกัมพูชาและเมียนมาถูกเก็บภาษีที่ 175 ยูโรต่อตันในช่วงปีแรก ในปีที่สองและปีที่สามภาษีจะลดลงเป็น 150 ยูโรและ 125 ยูโรต่อตันตามลำดับ ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปถึง 93,000 ตัน โดยกระทรวงเกษตรกล่าวว่าการเก็บภาษีศุลกากรได้สร้างแรงกดดันต่อราคาข้าวกัมพูชาในสหภาพยุโรปซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันอย่างรุนแรง ซึ่งทางภาครัฐของกัมพูชายังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมข้าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการช่วยผู้ผลิตลดต้นทุนการผลิตแปรรูปและต้นทุนโลจิสติกส์เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น โดยการส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 3.7% ไปแตะที่ระดับ 3 แสนตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50637283/rice-association-to-meet-with-eu-to-discuss-tariffs/

รัฐบาลสปป.ลาว , เอฟเอโอ ทบทวนตัวชี้วัดเส้นทางสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

เจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าหน้าที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำลังประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการเกษตรโภชนาการและการถือครองที่ดินและใช้เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในสปป.ลาว ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติจากสำนักงานใหญ่ FAO และสำนักงานภูมิภาค FAO สำหรับเอเชียและแปซิฟิกนำเสนอประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำดัชนีชี้วัดของ SDG และการประเมินตัวชี้วัด 21 ตัวในอนาคตภายใต้การดูแลของ FAO การประชุมเชิงปฏิบัติการจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจถึงตัวชี้วัด SDG ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้ดีขึ้น บทบาทของ FAO ในการติดตามและรายงาน SDG ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ และวิธีการวัดตัวชี้วัดแต่ละตัว ข้อกำหนดของข้อมูลสำหรับการวัดตัวบ่งชี้พร้อมกับแหล่งข้อมูลที่เป็นไปได้จะถูกกล่าวถึงในรายละเอียดด้วย ซึ่งจะหารือเกี่ยวกับประสบการณ์และความท้าทายในการสร้างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดเหล่านี้ในสปป.ลาวและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ SDG

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt.php

การลงทุนที่จำเป็นสำหรับสปป.ลาวเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการเกษตร

อุปสงค์ในระดับภูมิภาคสำหรับพืชผลและปศุสัตว์ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่สปป.ลาวไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่จะสนองความต้องการของตลาดในภูมิภาคได้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้เน้นย้ำความจำเป็นที่  สปป.ลาวจะต้องดึงดูดการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดส่งออก หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติการเกษตรแบบยังชีพด้วยวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ปัญหาอีกประการหนึ่งคือผลผลิตในฟาร์มคุณภาพต่ำและการกระจายตัวของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งการรวมตัวกันของแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และลดต้นทุน และเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ผลิตเข้ากับธุรกิจการเกษตรและโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าส่งออก อีกทั้งสปป.ลาวยังมีศักยภาพสูงในการปลูกพืชอินทรีย์เพื่อการค้าเนื่องจากความต้องการอาหารที่สะอาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความห่วงใยสุขภาพมากขึ้น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/more-investment-needed-laos-reap-profits-agriculture-102737

ธุรกิจพุ่งหลังกำหนดชำระคืนเงินกู้ใกล้เข้ามา

นักธุรกิจของเมียนมากำลังเรียกร้องให้เพื่อนร่วมชาติให้ชำระคืนเงินกู้เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ทางการเงิน มีการคาดเดากันว่าธนาคารจะฟ้องธุรกิจที่ไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้เป็นประจำหรือผิดนัดชำระภายในสิ้นเดือนกันยายนหรือทรัพย์สินที่ถูกวางเป็นหลักประกันจะถูกยึด โดยกำหนดเส้นตายสำหรับการผิดนัดชำระหนี้เในปลายเดือน ก.ย.62 นี้ โดยจะมีการดำเนินคดีและการยึดทรัพย์สินต่อไป .ธนาคารทุกแห่งจะดำเนิการฟ้องเว้นแต่จะได้รับการชำระคืนภายในสิ้นเดือน ก.ย.62 โดยมีรายชื่อลูกหนี้กว่า 10,000 คนโดยบางคนเป็นนักธุรกิจอันดับต้น ๆ ที่อาจถูกขึ้นบัญชีดำ เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียมากล่าวว่าอาจมีวิกฤติด้านการธนาคารที่รุนแรงหากธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้ชำระคืนเงินกู้ ซึ่งสินเชื่อส่วนใหญ่มาจากธนาคารเอกชน อีกทั้งเมื่อดำเนการยึดทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์อาจไม่เป็นผลดีกับธนาคารนักเพราะราคาอยู่ในช่วงตกต่ำ ทั้งนี้ผู้ให้กู้และลูกหนี้จะต้องทำตามเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นในการชำระคืนเพื่อปัญหาจะได้รับการแก้ไข

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/businesses-jumpy-over-impending-loan-repayment-deadline.html

มัณฑะเลย์คาด GDP ต่อหัวจะเพิ่มขึ้น

จีดีพีต่อหัวของภูมิภาคมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คาดจะยิ่งเพิ่มด้วยกระแสเงินลงทุนจำนวน 841,600 ล้านจัตในปีงบประมาณปัจจุบันจนถึงเดือนมิ.ย.62 มีนักลงทุนจาก 7 ประเทศที่ลงทุน 445 ล้านเหรียญสหรัฐ (669.59 พันล้านจัต) ในภูมิภาคขณะที่การลงทุนในท้องถิ่นมีมูลค่าทั้งสิ้น 172 พันล้านจัต รัฐบาลของภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการเพื่อประกันว่ามัฑะเลย์ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคยังคงเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่สุด เขาเสริมว่าภูมิภาคนี้มีโครงการที่นำโดยรัฐบาล 5 โครงการและอีก 5 โครงการดำเนินการร่วมกันโดยรัฐบาลระดับภูมิภาคและภาคเอกชน รัฐบาลระดับภูมิภาคมีแผนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับทั้งภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 64 แต่ปัจจุบันมีเพียง 38% ของภูมิภาคเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงกระแสไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ 58-59 และเพิ่มขึ้นเป็น 74% ในปีงบประมาณปัจจุบัน นอกจากนี้ถนนบางสายได้ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ชนบทราว 748 กม. ในปีงบประมาณ 60-62 ในขณะที่สะพานอีก 3,023 เมตรถูกสร้างขึ้นในราคา 25,600 ล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/mandalay-region-expects-capita-gdp-rise.html

บริษัทอินเดียร่วมมือทำโครงการรถโดยสารประจำทางกับรัฐบาลกัมพูชา

กลุ่มบริษัทในอินเดียและผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอินเดียกำลังมองหาพันธมิตรกับรัฐบาลกัมพูชาในโครงการที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบขนส่งสาธารณะของกัมพูชาและทำให้กัมพูชาเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า โดยมีข้อเสนอระหว่างกันคือบริษัท Sram & Mram และพันธมิตรจะให้การสนับสนุนด้านเงินทุนความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและโครงสร้างพื้นฐานในขณะที่รัฐบาลกัมพูชาจะเป็นผู้จัดหาที่ดินที่มีการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเงินลงทุนจะอยู่ราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยรวมถึงการก่อสร้างโรงงานประกอบรถบัสในประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย และเมียนมาในระยะ 5 ปีข้างหน้า และโครงการนี้ยังมีเป้าหมายในการสร้างงานกว่า 1 หมื่นตำแหน่งสำหรับคนในท้องถิ่น ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกัมพูชาไปข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50637280/indian-companies-eye-bus-project-partnership-with-cambodian-govt/

ผู้ให้บริการสายการบิน FLAG จะเปิดเที่ยวบินตรงถึงดานัง

บริษัท แคมโบเดียอังกอร์แอร์ ผู้ให้บริการด้านการบินนามว่า “FLAG” วางแผนที่จะเปิดเที่ยวบินตรงสู่ดานังในเวียดนามกลางในเดือนตุลาคม ซึ่งต้นทางและปลายทางคือจากเสียมเรียบไปยังดานัง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวยินดีตอบรับการเคลื่อนไหวดังกล่าวโดยอธิบายว่าดานังเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเที่ยวบินตรงนี้จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่มาเยือนดานังและสามารถโดยสารทางเครื่องบินเพื่อเดินทางตรงสู่พนมเปญ ได้ โดยการบินพลเรือนของเวียดนามและสำนักเลขาธิการการบินพลเรือนของกัมพูชา (SSCA) ได้ลงนามในข้อตกลงเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งมีสายการบิน 4 แห่งเชื่อมต่อกับกัมพูชาและเวียดนาม โดยให้บริการทั้งหมด 112 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และกัมพูชามีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามถึง 4 แสนคน เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50637281/flag-carrier-to-fly-to-da-nang/

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวยังคงพึ่งพาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวจะยังคงขับเคลื่อนโดยการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าในระยะสั้นถึงระยะกลาง ในทางกลับกันการสนับสนุนของภาคเหมืองแร่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การเลื่อนการชำระหนี้ยังคงมีประสิทธิภาพ รัฐบาลสปป.ลาวมุ่งมั่นที่จะผลักดันความคืบหน้าของโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทางรถไฟสายสปป.ลาว – จีน และทางด่วนสายเวียงจันทน์ – วังเวียง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขยายตัวของภาคเอกชนมากขึ้น เป็นผลมาจากการขาดรายได้ของประเทศและความตึงเครียดด้านงบประมาณ การลงทุนจะเน้นไปที่การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการที่ดำเนินอยู่และการชำระคืนหนี้เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของประเทศ ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าการเติบโตจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้น 6.3% ในปี 61

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-growth-remains-reliant-infrastructure-development-102626