เกษตรกรเมืองซะไกง์ โอด ราคาแตงโม ดิ่งฮวบ

นาย U Wai Myint ผู้ปลูกแตงโมและรองประธานสมาคมผู้ส่งออกในเขตซะไกง์ เผย เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมและเมล่อนผิดหวังกับราคาที่ลดลง ปัญหาเกิดจากผลผลิตเกินความต้องการเพราะขายแตงโมต่อวันได้เพี่ยง 100 หรือ 200 ลูก แต่มีการประมาณขนส่งประมาณ 1,000 ลูกต่อวัน ดังนั้นรถบรรทุกจึงต้องจอดรอคิวที่ด่านชายแดนมูเซ (Muse 7 Mile และ 5 Mile) ทำให้ผลผลิตไม่สดใหม่และเน่าเสีย ซึ่งปีที่แล้วผลผลิตแตงโมและเมล่อนจากเขตซะไกง์เสียหายประมาณ 90% ดังนั้นปีนี้จึงลดลงอย่างมากเทียบกับปีที่แล้ว ด้านพื้นที่เพาะปลูกเขตซะไกง์ เติบโตขึ้นทุกปี พื้นที่แตงโมประมาณ 20,000 เอเคอร์และเมล่อน 40,000 เอเคอร์ ส่วนแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ในเมืองช่องอู้ (Chaung-U) เขตซะไกง์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-in-sagaing-frustrated-over-lower-prices-of-melons/

โรงสีข้าว โรงงานยางพารา ในเมืองมะริด มีส่วนสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น

โรงสีข้าวโอเคยาดานา และ บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล โรงงานแปรรูปยางพารา ในอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี ยังคงเดินหน้าเปิดทำการ ซึ่งโรงสีข้าวโอเคยาดานายังคงเปิดรับซื้อข้าวเปลือกและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่ให้ผลผลิตสูงให้กับชาวนาในพื้นที่อีกทั้งยังใช้แกลบในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วน บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล จำกัด โรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อการส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ยังรับซื้อยางจากเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งโรงสีข้าว สวนยางพารา และโรงงานต่างๆ ได้สร้างโอกาสในการทำงานให้คนในท้องถิ่นได้มีรายได้เพื่อการยังชีพในครอบครัว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-mills-rubber-factories-contribute-to-livelihoods-of-local-people-in-myeik-district/#article-title

คณะกรรมการจัดหางานต่างประเทศของเมียนมาเผยถึงปัญหาแรงงานข้ามชาติ

คณะกรรมการกำกับการจัดหางานนต่างประเทศได้จัดประชุม (ครั้งที่ 1/2564) ที่กระทรวงแรงงานตรวจคนเข้าเมืองและประชากรเมื่อวานนี้ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่จำนวน 18 คน จากผลการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหภาพแรงงาน เผยว่าตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 63 ได้เพิ่มค่าธรรมเนียมหน่วยงานเป็น 25 ล้านจัตจาก 5 ล้าจัตเพื่อให้บริษัท จัดหางานในต่างประเทศที่ได้รับใบอณุญาติที่ให้เพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น และกำจัดหน่วยงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ระหว่างประชุม นาย U Myint Kyaing ประธานคณะกรรมการสหภาพแรงงาน กล่าวว่าสหภาพฯ ให้ความสำคัญกับการนำชาวเมียนมา 1,086 คน กลับจากมาเลเซียในผ่านทางเรือ 3 ลำในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และ 70 คนจากอินเดียเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ขณะนี้รัฐบาลกำลังเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งหน่วยงาน 5 แห่งสำหรับแรงงานที่ทำงานในไทยภายใต้ MoU เพื่อต่ออายุวีซ่าของไปอีก 5 ปี ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้กล่าวถึงแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการความร่วมมือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อโอกาสในการทำงานของแรงงานเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/overseas-employment-supervisory-committee-discusses-migrant-workers-issues/

ตลาด ธนาคาร โรงพยาบาล รถประจำทาง ในเมียนมากลับมาเป็นปกติ

เจดีย์รวมถึง อาคาร ศานาสถานหรือวัดของศาสนาอื่น ๆ จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ตามมาตรการป้องกันโควิด -19 ผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยวรวมทั้งพระภิกษุและแม่ชี และศาสนาอื่น ๆ สามารถทำกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างปกติ นอกจากนี้สวนสาธารณะและสนามเด็กเล่นในเนปยีดออย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และภูมิภาคหรือรัฐอื่น ๆ จะเปิดให้บริการอีกครั้ง รวมถึงตลาดเริ่มมีสีสันขึ้นเพราะมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในขณะเดียวกันธนาคาร โรงพยาบาล สายการบิน รถไฟ เรือ และรถประจำทางก็กลับมาดำเนินการได้เป็นปกติเช่นกัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/markets-banks-hospitals-bus-lines-resume-normal-operations-people-peacefully-visit-pagodas/#article-title

ค้าชายแดนไทย-เมียนมา หยุดนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปชั่วคราว

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาห้ามนำเข้าสินค้าอาหารจำนวน 4 รายการชั่วคราวผ่านชายแดนเมียนมา – ไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 64 ได้แก่ เครื่องดื่มต่างๆ กาแฟและชาแฟสำเร็จรูป นมข้นและนมข้นจืด แต่สามารถนำเข้าผ่านทางเรือแทน ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคมถึง 2 เมษายนของปีงบประมาณ 63-64 มูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมาลดลง 370.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเมียนมามีการส่งออกสูงถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้ามูลค่ากว่า 589.7 ล้านดอลลาร์ มูลค่าการค้ารวม 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งชายแดนเมียวดีมีผลการดำเนินการดีที่สุดจากจำนวนชายแดน 7 แห่ง โดยมีมูลค่าการค้า 729.46 ล้านดอลลาร์ ซึงในปีงบประมาณ 62-63 การค้าชายแดนเมียนมา- ไทยแตะระดับสูงสุดที่ 2.28 พันล้านดอลลาร์ อีกทั้งการส่งออกข้าวโพดไปยังไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถึง 1.2 ล้านตัน ปัจจุบันมีการส่งออกประมาณ 5,000-6,000 ตันถูกส่งไปยังไทยทุกวันผ่านชายแดนเมียวดี ซึ่งเมียนมาได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ e-Form D ในการส่งออกข้าวโพดระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคมซึ่งไทยเรียกเก็บภาษีร้อยละ 73 โดยเมียนมามีเป้าหมายส่งออกข้าวโพดไปยังไทย 1 ล้านตันในปีนี้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/food-commodities-including-instant-coffee-temporarily-banned-on-myanmar-thailand-border/

6 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมาแตะ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ณ วันที่ 2 เมษายน 64 -ของปีงบประมาณปี 63-64 ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 63 การค้าชายแดนเมียนมามีมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงกว่า 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนซึ่งมีมูลค่า 5.9 พันล้านดอลลาร์ โดยด่านมูเซเป็นด่านชายแดนที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุด คือ 2.5 พันล้านดอลลาร์ตามมาด้วยด่านเมียวดีมีมูลค่า 729 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 2 เมษายน 64 ของปีงบประมาณนี้การค้าต่างประเทศมีมูลค่ารวมกว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การค้าทางทะเลมีมูลค่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-5-6-bln-in-first-six-months-of-fy/

การลงทุนในประเทศและต่างประเทศของเมืองพะโค ยังคงดำเนินปกติ

การลงทุนในและต่างประเทศส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตเขตอุตสาหกรรมและภาคการผลิตอาหารในเขตพะโค ปัจจุบันการลงทุนจากต่างประเทศ 135 แห่งมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการลงทุนของชาวท้องถิ่น 40 แห่ง มูลค่ารวม 977 พันล้านจัต ซึ่ง 80% ของการลงทุนอยู่ใกล้เขตเมืองพะโค ปัจจุบันมีคนงานในโรงงานของเขตอุตสาหกรรม Nyaung Inn ประมาณ 55,000 คน เมืองพะโคซึ่งเป็นเมืองการค้าที่สำคัญของเมียนมาอยู่ห่างจากย่างกุ้งประมาณ 50 ไมล์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ นอกจากนี้ยังตั้งอยู่บนระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศมีศักยภาพที่น่าลงทุนในภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์เนื่องจากมีบ่อตกปลาและทุ่งนามากมาย ดังนั้นจึงสามารถสร้างโอกาสในการทำงานให้กับประชาชนภายในประเทศ

ที่มี: https://www.gnlm.com.mm/local-foreign-investment-operating-as-usual-in-bago/#article-title

ท่าเทียบเรือกำแพงกันดินเมืองคาเลวาคืบหน้าไปแล้ว 40%

หน่วยงาน Water Resources and Improvement of River Systems Department ของเมืองคาเลวา เผยก่อสร้างท่าเทียบเรือกำแพงกันดินเสร็จแล้ว 40% ในตลาดเมืองคาเลวา จังหวัดกะเล่ เขตซะไกง์ โครงการจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 64 โดยโครงการนี้เริ่มก่อสร้างวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 64 ขณะนี้กำลังสร้างกำแพงกันดินยาว 350 ฟุต โดยบริษัท Chindwin Dragon (Chindwin Nagar) ซึ่งมีงบประมาณการก่อสร้าง 150 ล้านจัต จากกองทุนรัฐบาลในส่วนของภูมิภาคสำหรับปีงบปรัมาณ 63-64 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะมีภูมิทัศน์สวยงาม เป็นระเบียบและสามารถป้องกันดินถล่มได้

ที่มา : https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/gnlm/wp-content/uploads/2021/04/21-April-2021.pdf

ครึ่งปีแรกการค้าทางทะเลเมียนมา ลดฮวบ 4.3 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในช่วงครึ่งปีแรก (1 ต.ค. -2 เม.ย. ) ของปีงบประมาณ 63-64 เหลือ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์ลดลง 264 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่ประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันตลอดชายแดน สำหรับการค้าทางทะเลหยุดชะงักในภาคโลจิสติกส์การหยุดเดินเรือบางส่วนและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงการขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากการปิดธนาคารเอกชน โดยการค้าภายโดยรวมของประเทศแตะระดับต่ำที่ 15.78 พันล้านดอลลาร์งลดลง 20.36 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าได้แก่สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-drops-by-4-3-bln-in-h1/

เกาหลีใต้ยุติการหาทุนโครงการในเมียนมา ท่ามกลางวิกฤตในประเทศส่อเค้ารุนแรงขึ้น

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา The Korea Herald เผย วิกฤตการณ์ที่ยืดเยื้อในเมียนมารัฐบาลเกาหลีใต้ไตัดสินใจหยุดการจัดหาเงินทุนผ่านกองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลี (EDCF) สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่นั่นจนถึงปีหน้า EDCF เป็นกองทุนที่ดำเนินการโดยเกาหลีใต้เปิดตัวในปี 2530 เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนและด้อยพัฒนาโดยการขยายเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดย EDCF เสนอเงินกู้ 70,000 ล้านวอน (62.79 ล้านดอลลาร์) เพื่อสร้างสวนอุตสาหกรรมเกาหลี-เมียนมา ซึ่งมีกำหนดจะสร้างขึ้นในปี 2567 ขณะเดียวกันรัฐบาลทหารยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานอย่างไรภายหลังการการรัฐประหาร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/exclusive-korea-stops-financing-infra-projects-in-myanmar-amid-deepening-crisis