เอกชนหวั่นรัฐประหารเมียนมาดันแรงงานทะลักเข้าไทย

เอกชนหวั่นแรงงานเมียนมาทะลักเข้าไทย ซ้ำเติมโควิด-19 ยิ่งกระทบศก. ชี้อีกมุมการค้าไทยได้ประโยชน์ ตื่นรัฐประหาร แห่ตุนสินค้าไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากพลเอกอาวุโส มินห์ อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศเมียนมาว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินสถานการณ์ทางตรงต่อเศรษฐกิจไทย แต่ผลกระทบทางอ้อมที่น่าเป็นห่วง คือ แรงงานเมียนมา อาจไหลทะลักเข้ามาในไทย จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่ต่อเนื่อง มีสาเหตุหลักมาจากแรงงานต่างด้าวในตลาดอาหารทะเลจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมกับเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้มงวดในการตรวจตราบริเวณชายแดน โดยเฉพาะบริเวณช่องทางธรรมชาติ 2,400 กิโลเมตร และต้องจัดการกับผู้เกี่ยวข้องลักลอบขนแรงงานผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด นายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้า จ.เชียงราย กล่าวว่า ได้ประเมินเบื้องต้นคาดว่า จะทำให้การนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากประชาชนอาจตื่นตะหนกกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย โดยด่านพรมแดนของ จ.เชียงราย มีทั้งหมด 6 ด่าน สร้างรายได้รวมประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการนำเข้า–ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับเมียนมา และไทยกับลาว โดยจะติดตามสถานการณ์ภายในของเมียนมาอย่างใกล้ชิดต่อไป นายศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ได้ประเมินผลกระทบการทำรัฐประหารเมียนมา จะส่งผลต่อไทยบ้างเล็กน้อยเนื่องจากการค้าและการส่งออกไทยไปยังเมียนมาในปัจจุบันมีไม่มากแล้ว เพราะส่วนใหญ่เมียนมาได้ผลิตในประเทศเองไม่เหมือนเมื่อก่อน โดยสิ่งที่จะกระทบคงจะเป็นด้านพลังงาน เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจไทยแห่งหนึ่งได้เข้าลงทุนในเมียนมา หากยืดเยื้ออาจกระทบต่อการต่อสัมปทานในระยะข้างหน้าได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822756

แบงก์ชาติเมียนมา ออกกฎระเบียบควบคุม Non-Bank

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ได้ออกกฎระเบียบใหม่ที่ครอบคลุมการจัดตั้งการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (NBFI) ในประเทศ เพื่อให้อยู่ขอบเขตของธนาคารกลางรวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งประกาศ 1/2564 จะใช้กับนิติบุคคลที่มีเจตนาในการจัดตั้ง NBFI ที่จัดหาเงินทุนเพื่อเช่าซื้อและการซื้อขายลูกหนี้การค้า โดยจะต้องขอใบรับรองการจดทะเบียนจาก CBM เพื่อดำเนินธุรกิจ ขณะนี้ NBFI จำเป็นต้องส่งรายงานเป็นระยะเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไปยัง CBM และงบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบให้กับ CBM ภายในสามเดือนของสิ้นปีบัญชีตามประกาศ 1 / พ.ศ. 2564 ตั้งแต่ปี 2559 CBM ออกใบอนุญาติให้กับ NBFI จำนวน  28 แห่ง มีการเพิกถอนใบอนุญาติ 2 แห่ง ในเดือนสิงหาคม 63 คือ First Collaborative และ Finance Co Ltd เนื่องจากไม่สามารถเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปี ขณะที่เดือนธันวาคม 63 ได้เพิกถอนใบอนุญาตของ Z Corporation Co Ltd เนื่องจากโครงสร้างทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมและมีความไม่โปร่งใส

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-releases-directives-non-bank-financial-institutions.html

MTB อุ้มบริษัททัวร์ หนุนการท่องเที่ยวเมียนมา

ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) ได้เซ็น MoU กับสมาคมการท่องเที่ยวเมียนมา (Union of Myanmar Travel Association) เพื่อหาเงินกู้สำหรับสมาชิกสมาคมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องงดกิจกรรมทั้งหมดและผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งภาคการท่องเที่ยวเมียนมาได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) เป็นธนาคารเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) เมื่อปี 2561 ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 6 แห่งเพื่อรองรับความต้องการของ SMEs และภาคการท่องเที่ยวในเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-bank-provide-loans-tour-companies.html

KB Bank รุกหนัก ภาคก่อสร้างเมียนมา

KB Bank พร้อมให้ความสำคัญกับภาคการก่อสร้างของเมียนมา นาย เฮอร์ยิน ประธานกรรมการกล่าวในงานการเปิดตัวในเมียนมามื่อวันที่ 27 มกราคม 64 KB Bank เป็นบริษัทย่อยของ KB Kookmin Bank จากเกาหลีใต้ที่ให้บริการ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารดิจิทัล ธนาคารสำหรับองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานด้านการธนาคาร แต่เป้าหมายคือภาคการก่อสร้าง โดยอย่างยิ่งในด้านการเงินการธนาคารดิจิทัลและที่อยู่อาศัย นี่คือจุดแข็งของ KB Kookmin Bank ซึ่งข้าสู่เมียนมาในปี 56 ด้วยการเปิดตัวสำนักงานใหญ่ในย่างกุ้ง รัฐมนตรีประจำเขตย่างกุ้ง นี่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ด้านของความร่วมมือระหว่างเมียนมาและเกาหลี ศูนย์อุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมา (KMIC) มีโครงการที่อยู่อาศัยทโรงงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ Dala Myothit ซึ่งลงนามร่วมกันระหว่างเมียนมากับเกาหลีใต้สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ KB Kookmin Bank เป็นหนึ่งในธนาคารต่างประเทศอีก 7 แห่งที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในประเทศ ณ ตอนนี้เป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่ตั้งบริษัทลูกในเมียนมาร์และจะได้รับใบอนุญาตให้เปิดสาขา 10 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/kb-bank-focus-myanmars-construction-sector.html

เมียนมาลุ้นส่งออกน้ำผึ้งไป EU ภายในปีนี้

สมาคมการเลี้ยงผึ้งเมียนมาและกระทรวงพาณิชย์เผย ผู้เลี้ยงผึ้งอยู่ในช่วงเตรียมการเพื่อส่งออกน้ำผึ้งไปยังตลาดสหภาพยุโรปคาดว่าสิ้นปีนี้สามารถส่งออกได้กว่า 50% และส่งออกได้ถึง 800 ตันในปีงบประมาณ 63-64 ปัจจุบันตลาดหลักคือญี่ปุ่น อุตสาหกรรมส่งออกน้ำผึ้งสร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 4 ดอลลาร์สหรัฐ มีฟาร์มผึ้งประมาณ 670 เฮกตาร์ที่สามารถผลิตน้ำผึ้ง 4,000 ถึง 5,000 ตันต่อปี ซึ่งทั่วประเทศมีโรงงานทำน้ำผึ้ง 6 แห่งโดยจะส่งออกระหว่าง 2,000 ถึง 3,000 ตันไปยังญี่ปุ่นและจีนในทุกๆ ปี ทั้งนี้ผู้เลี้ยงผึ้งต้องปฎิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (HACCP) โดยการสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์และศูนย์การค้าระหว่างประเทศในการจัดหลักสูตร HACCP และส่วนแบ่งการตลาดสำหรับผู้เลี้ยงผึ้ง นอกจากนี้น้ำผึ้งยังสามารถผลิตได้จากน้ำหวานที่เก็บจากไนเจอร์ งา ดอกทานตะวัน สะระแหน่ เถาวัลย์ ถั่วแระ ดอกไม้ป่า และต้นลิ้นจี่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-export-honey-eu-year.html

เผยราคากาแฟเมืองยวาร์งันยังทรงตัว แม้ COVID-19 ระบาดหนัก

นักธุรกิจเผยราคากาแฟเมืองยวาร์งัน รัฐฉาน ยังคงทรงตัวแม้มีการระบาดของโควิด -19 เทียบกับปีที่แล้ว โดยราคาเริ่มต้นของเมล็ดกาแฟสุก viss (1.6 กิโลกรัม) อยู่ที่ 600-700 จัตเมื่อปีก่อน เพิ่มขึ้นเป็น 800,900 ถึง 1000 จัต ซึ่งการเก็บเกี่ยวในทุกปีจะเริ่มช่วงเดือนธันวาคมและโดยพื้นที่เพาะปลูกมีมากกว่า 7,000 เอเคอร์ในเมืองยวาร์งัน ทั้งนี้คุณภาพของเมล็ดกาแฟลดลงเล็กน้อยในปีนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้ราคาอาจไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแต่การส่งออกทำได้ยากขึ้น ปัจจุบันเมียนมาส่งออกกาแฟไปยังสหรัฐฯ และมีความพยายามจะขยายตลาดไปยังญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และยุโรป ซึ่งเมล็ดกาแฟหนึ่งตันสามารถดึงราคาส่งออกได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1,000 ถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เมียนมามีพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 50,000 เอเคอร์ทั่วประเทศ โดยการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้ามีพื้นที่มากถึง 40,000 เอเคอร์ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/ywar-ngan-coffee-prices-stable-amid-covid-19-outbreak.html

ไตรมาสแรกปี 63-64 ภาพรวมการค้าเมียนมา ดิ่งลง เมื่อเทียบกับปีก่อน

เมียนมามีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 63-64 ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2.5 พันล้านดอลลาร์ ผลมาจากการส่งออกที่ลดลงของก๊าซธรรมชาติ อัญมณี เสื้อผ้า และการประมงและผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ จากการระบาดของ COVID-19 ส่วนการนำเข้าที่ลดลง คือ วัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป  Cut-Make-Pack (CMP) วัสดุก่อสร้าง เชื้อเพลิงและน้ำมันดิบอื่น ๆ  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 25 มกราคม 64 มีมูลค่าการค้ารวม 8.9 พันล้านดอลลาร์ ส่งออกน้อยกว่าปีที่แล้ว 1.1 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้าลดลง 1.4 พันล้านดอลลาร์และมูลค่าการค้าทั้งหมดลดลง 2.5 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง โดยมีปริมาณการส่งออกมากกว่าปีที่แล้วถึง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญได้แก่ ผัก ข้าว และปลายข้าวเพิ่มขึ้นและสินค้าเกษตรอื่น ๆ เช่น แตงโม พริก ถั่วลิสง และเมล็ดข้าวโพดก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์คาดภาพรวมการค้าปีงบปรพมาณ 63-64 จะแตะ 34,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะแบ่งเป็นการส่งออก 16.2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้า 18.5 พันล้านดอลลาร์ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 2.3 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-sees-reduced-trade-first-quarter-2020-21.html

นักลงทุนคาด เศรษฐกิจเมียนมาจะฟื้นตัวเร็วในอีก 3 ปีข้างหน้า

นักลงทุนคาดธุรกิจจะกลับสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่สามของปีนี้ โดยภาคที่ได้รับความนิยมคือเทคโนโลยีสื่อและโทรคมนาคม (TMT) ซึ่งจะเป็นการลงทุนหรือการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการมากที่สุดในอีกสองปีข้างหน้าจากการสำรวจโดย Ascent Capital Partners เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในความเป็นจริงเศรษฐกิจคาดจะฟื้นตัวสูงถึง 7% ในปีนี้ตามที่กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศของสหภาพแรงงานกล่าวในระหว่างการประชุมออนไลน์ที่ผ่านมา ซึ่งการฟื้นตัวจะได้รับแรงผลักดันจากแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา (MERP) โดยให้ความสำคัญของภาคธุรกิจต่างๆ เช่น การผลิตและบริการในปีหน้าและมาตรการอย่างการปฏิรูประบบราชการและ Digital Transformation ที่จะเกิดขึ้น แต่เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด -19 และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดการฟื้นตัวเต็มที่เมื่อใด ซึ่ง Ascent Capital เป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับ Monetary Authority of Singapore ถือว่าเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในเมียนมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจัดลำดับความสำคัญไปทืภาคผู้บริโภค การศึกษา สุขภาพ บริการทางการเงิน โลจิสติกส์ ด้วยภาระผูกพันด้านเงินทุน 88 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Temasek Holdings ของสิงคโปร์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และผู้ประกอบการเครื่องดื่มภายในท้องถิ่น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investors-expect-growth-accelerate-myanmar-over-next-three-years.html

กระแสตอบรับโรงแรมในหาดงาปาลีไม่สู้ดี หลังกลับเปิดมาใหม่อีกครั้ง

โรงแรมและรีสอร์ตประมาณ 10% ที่ชายหาดยอดนิยมอย่างหาดงาปาลีได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดใหม่แต่กระแสตอบรับของจำนวนนักท่องเที่ยวกลับน่าผิดหวัง แม้จะพยายามดำเนินการตามมาตรการป้องกัน COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา โดยผู้ที่เดินทางด้วยเครื่องบินไม่จำเป็นต้องได้รับการกักตัว แต่จะกักตัวเฉพาะผู้ที่เดินทางด้วยรถยนต์ ซึ่งจากรายงานยังพบว่าบางโรงแรมและรีสอร์ตมีจำนวนผู้เข้าพักเป็นตัวเลขแค่สองหลักเท่านั้น สำหรับสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาติให้กลับมาเปิดอีกครั้งมีเพียง 5 แห่ง จาก 60 แห่ง และต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน COVID-19 ได้แก่ Amazing Ngapali Resort Hotel, AZ Family Resort Hotel, Royal Linthar Lodge, Kyaw Myanmar Lodge และ Htein Linn Thar Guest House อย่างไรก็ตาม  Amazing Ngapali Resort ถูกสั่งปิดบริการเมื่อไม่นานหลังจากตรวจพบผลเป็นพบเชื้อ COVID-19 และกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 22 มกราคม 64 ที่ผ่านมา จากรายงานของคณะกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวพบว่ามีโรงแรมอีกสิบแห่งได้ยื่นขออนุญาตเปิดให้บริการใหม่อีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ngapali-hotels-open-poor-response.html

เมียนมาเดินหน้าตั้งศูนย์ตลาดสินค้าเกษตร ในเนปยีดอ

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน มีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ตลาดสินค้าเกษตรในเนปิดอว์เพื่อพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของประเทศ มีกำหนดเปิดทำการในวันที่ 20 มกราคม 64 ซึ่งจะได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี โดยได้รับการจัดสรรเงินทุนจำนวน 8.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรในท้องถิ่นเป็นอย่างมา ซึ่งโครงการนี้จะให้ความสำคัญกับธุรกิจหลังการเก็บเกี่ยวเป็นหลัก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาตลาดการเกษตรของเมียนมา โดยเมียนมาหวังว่าจะสร้างผลประโยชน์ร่วมกันทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคนำไปสู่การยกระดับครองชีพของเกษตรกรให้สูงขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-set-agri-market-centre-nay-pyi-taw.html