อุตสาหกรรมการบินเวียดนาม โชว์ไตรมาส 2 กลับมาฟื้นตัวจากการเปิดประเทศ

สำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 23.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 74.2% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) และมีปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศประมาณ 651,000 ตัน เพิ่มขึ้น 6.8%YoY ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสำนักงานการบิน แสดงให้เห็นว่าตลาดในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวตั้งแต่เดือนเม.ย. ขยายตัวอีกครั้งในเดือนพ.ค. และกลับมาขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนมิ.ย. โดยในเดือนมิ.ย. เพียงเดือนเดียว เวียดนามรองรับผู้โดยสารรวมกันได้ 5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 38.8%YoY ถือว่าเป็นตัวเลขอยู่ในระดับมากที่สุดก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และอัตราการเข้านั่งของสายการบินในประเทศ เดือนมิ.ย. อยู่ในระดับสูง ตั้งแต่ 85%-87% ขึ้นอยู่กับสายการบิน นอกจากนี้ ผู้อำนวยการของเวียดนามแอร์ไลน์ กล่าวว่าตลาดการบินของเวียดนามจะมีแนวโน้มเชิงบวก เนื่องจากรัฐบาลได้เปิดเที่ยวบินในประเทศและเส้นทางการบินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดสายการบินระหว่างประเทศยังคงประสบปัญหามากมาย เนื่องจากยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนที่ลดลงและราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1299728/aviation-industry-rebounds-in-q2-thanks-to-opening-of-routes.html

ราคาหัวหอมตลาดปะโคะกู พุ่งแตะ 3,000 จัตต่อปอนด์

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนส.ค.2565 ราคาหัวหอม ณ ตลาดปะโคะกู เขตมะกเว ของเมียนมา พุ่งแตะแตะระดับ 3,000 จัตต่อปอนด์ ขณะที่สัปดาห์แรกของเดือน ราคาอยุ่ที่ 1,700 จัตต่อปอนด์ ส่วนสัปดาห์ที่สองราคาขยับขึ้นเป็น 2,000 จัตต่อปอนด์ สาเหตุเกิดจากบางพื้นที่ประสบปัญหาไม่สามารถเพาะปลูกได้ ส่งผลให้ผลผลิตจึงต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ ในปี 2562 ราคาหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 3,000 จัตต่อปอนด์ และตั้งแต่ปี 2563 ถึงกลางปี ​​2565 ราคาดิ่งลงเหลือประมาณ 1,000 จัตต่อปอนด์

 

ที่มา: https://news-eleven.com/article/236144

 

แรงงานสปป.ลาวและต่างด้าว แห่ลงทะเบียนในเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อแก้ว

นายโอดล มณีบูรณ์ หัวหน้ากรมแรงงานและสวัสดิการสังคม ของ สปป.ลาว กล่าวว่า ภายหลังการขึ้นทะเบียนแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อแก้วเมื่อช่วงต้นเดือนส.ค.2565 ที่ผ่านมา มีแรงงานได้ขึ้นทะเบียนแล้ว 1,267 คน โดยมีแรงงานจากจีน เมียนมา และประเทศอื่นๆ ทั้งนี้นายโอดล ยังกล่าวเสริมอีกว่า หลังจาก 2 สัปดาห์ของการขึ้นทะเบียนและตรวจสุขภาพของแรงงาน เป็นที่แน่ชัดว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อแก้วมีปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย

ที่มา: https://laotiantimes.com/2022/08/22/bokeo-sez-registers-lao-and-foreign-workers/

คนละครึ่งทาง! จับตา ‘พาณิชย์’ ไฟเขียว ขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็น 7 บาท

ขณะนี้กรมการค้าภายใน อยู่ระหว่างการพิจารณาการปรับขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หลังจากที่ผู้ผลิตได้ทำเรื่องขอปรับขึ้นราคาขาย เพราะต้นทุนการผลิตปรับขึ้นทั้งหมด ทั้งแป้งสาลี น้ำมันปาล์ม ค่าไฟ บรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง ฯลฯ แต่กรมคงไม่อนุญาตให้ปรับขึ้นเท่ากันหมดทุกราย ทุกยี่ห้อ เพราะต้นทุนของผู้ผลิตแต่ละรายไม่เท่ากัน และไม่ให้ปรับขึ้นได้ซองละ 2 บาทจากปัจจุบันซองละ 6 บาท เป็น 8 บาท เพราะจะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยมากเกินไป แต่อาจจะให้ปรับขึ้นได้ไม่เกินซองละ 1 บาท จาก 6 บาท เป็น 7 บาท แต่มีข้อแม้ว่า เมื่อต้นทุนการผลิตลดลง ผู้ผลิตจะต้องปรับลดราคาขายลงด้วย ด้านนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า การปรับราคาจะไม่พิจารณาให้ขึ้นราคาได้เท่ากันทุกยี่ห้อ จะพิจารณาตามต้นทุนของผู้ผลิตทีละรายที่ได้ยื่นมา และกำลังเร่งรัดอยู่

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/1389088/

 

 

การค้า กัมพูชา-สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 45% แตะ 5,892 ล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 5,892 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 คิดเป็นมูลค่า 5,695 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา ซึ่งการนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 3 คิดเป็นมูลค่า 196 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ สิ่งทอ รองเท้า สินค้าเพื่อท่องเที่ยว และสินค้าเกษตร ในขณะที่กัมพูชานำเข้ายานพาหนะ อาหารสัตว์ และเครื่องจักร จากสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหรัฐฯ (GSP) ที่ถือเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคการส่งออกของกัมพูชา โดยในปี 2021 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ มูลค่า 8.7 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับปี 2020

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501134689/cambodia-us-trade-surges-45-to-5892-million/

การค้าทวิภาคีระหว่าง กัมพูชา-จีน พุ่งเกือบ 7 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือน

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนแตะมูลค่า 6,971 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชา โดยเปิดเผยว่าในช่วงเดือน มกราคม-กรกฎาคม กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังจีนมูลค่า 701 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6,270 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 ซึ่งส่วนใหญ่กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวสาร มะม่วง กล้วย และมันสำปะหลังไปยังจีน ในขณะเดียวกันกัมพูชาทำการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม วัตถุดิบ และวัสดุก่อสร้างจากจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501135128/cambodia-china-bilateral-trade-reaches-almost-7-billion-in-first-seven-months/

การค้าต่างประเทศ สปป.ลาว พุ่งแตะ 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลจาก Lao Portal Trade พบว่า 7 เดือนแรกของปี 2565 การค้าระหว่างประเทศของสปป.ลาว พุ่งถึง 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออก 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าประมาณ 541 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ขาดดุลการค้า 114 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กระดาษ ทองคำ เหยื่อไม้ เศษกระดาษ ยาง แร่เหล็ก เสื้อผ้า เครื่องดื่ม (น้ำ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง) น้ำตาล และรองเท้า โดยประเทศส่งออกหลัก ได้แก่ จีน มูลค่าประมาณ 162 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เวียดนาม 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, ไทย 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ออสเตรเลีย 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสิงคโปร์ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนประเทศที่นำเข้าหลัก ได้แก่ ไทยมูลค่า 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, จีน 142 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เวียดนาม 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สหรัฐอเมริกา 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และญี่ปุ่น 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=68390

ส่งออกแร่ของเมียนมา ดิ่งลงเหลือ 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ปีงบประมาณ 2565-2566 ตั้งแต่เดือนเม.ย. จนถึงวันที่ 12 ส.ค.2565 มูลค่าการส่งออกแร่ของเมียนมาอยู่ที่ 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากปีงบประมาณย่อยของปีงบประมาณ 2564-2565 (เดือนม.ค.-เดือนเม.ย.2565) ที่มีมูลค่าส่งออกถึง 254.448 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 อีกทั้งอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้เหมืองแร่ต้องหยุดดำเนินการจึงกระทบต่อการส่งออกเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ธุรกิจเหมืองหินและหยก ในรัฐคะฉิ่นถูกระงับเพื่อสนับสนุนการรักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืนและมาตรการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจำกัด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์แร่ประมาณ 80% ส่งออกต่างประเทศผ่านการค้าทางทะเล ในขณะที่ 20% จะส่งออกผ่านชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mineral-exports-down-by-115-mln-as-of-12-august/#article-title

“เวียดนาม” เผยครึ่งแรกเดือน ส.ค. ยอดการค้าระหว่างประเทศ พุ่ง 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าสถานการณ์การค้ารวมในช่วงครึ่งแรกของเดือน ส.ค. 2565 มีมูลค่ามากกว่า 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 15.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 7% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยมีสินค้าส่งออก 5 รายการที่มีมูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน (2.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาเครื่องจักร เครื่องมือและอะไหล่, คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ, สิ่งทอและรองเท้า ในขณะเดียวกันเวียดนามนำเข้า 15.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่งผลให้เวียดนามขาดดุลการค้ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของเดือน ส.ค. แต่ในภาพรวมตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงกลาง เดือน ส.ค. เวียดนามยังคงเกินดุลการค้า 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-laos-trade-advances-in-jan-jul/

“เวียดนาม” คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ปี 65

มูดี้ส์ อนาไลติคส์ (Moody’s Analytics) ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2565 ขยายตัว 8.5% ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มุมมองของฝ่ายนักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นถึงการกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงต้นปี ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกดีขึ้น จากการเข้ามาลงทุนโดยจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง (FDI) ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ได้เตือนถึงอุปสรรคของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงการเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่คาดไม่ถึง ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการชะลอตัว รวมถึงที่อยู่อาศัย

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11793402-vietnam-forecast-to-reach-highest-gdp-growth-in-asia-pacific-in-2022.html