เผยผลสำรวจพบนักช้อปชาวเวียดนามซื้อสินค้าออนไลน์พุ่ง ในปี 2563

“เอเซีย พลัส” บริษัทวิจัยตลาดเอเชียและอาเซียน เปิดเผยผลสำรวจของผู้บริโภคชาวเวียดนาม เรื่อง “ตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนาม ปี 2563” ทำการสำรวจเดือนต.ค. 2563 รวมทั้งสิ้น 700 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการซื้อสินค้าออนไลน์ เมื่อถามถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการซื้อสินค้าออนไลน์ พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้อยละ 59 ใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ ในขณะที่ร้อยละ 19 ใช้คอมพิวเตอร์ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากนักช้อปชาวเวียดนามอยู่บ้านมากขึ้นในช่วง COVID-19 ส่งผลให้การซื้ออาหารและเครื่องดื่มผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย รองลงมาแฟชั่น เครื่องสำอาง อุปกรณ์กีฬา หนังสือ โทรศัพท์มือถือและของใช้ภายในบ้าน ซึ่งล้วนแต่เป็นสินค้าที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 53 ใช้จ่ายต่ำกว่า 500,000 ด่องต่อเดือน (21.6 ดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่ร้อยละ 21 ใช้จ่าย 700,000-1 ล้าน ด่องต่อเดือน (30.3-43.2 ดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ สำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ พบว่า ช้อปปี้ (Shopee) เป็นแพลตฟอร์ที่นักช้อปชาวเวียดนามร้อยละ 36 นิยมซื้อนิยมสินค้ามากที่สุด รองลงมาลาซาด้า (28%) และทิกิ (11%) โดยสาเหตุที่ช้อปปี้ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องมาจากราคาและความหลากหลายของสินค้าที่มีความเหมาะสม รวมถึงมีภาพลักษณ์ให้ความสนุกสนานในการจับจ่ายใช้สอย

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnamese-shoppers-increase-online-purchase-frequency-in-2020-survey-314726.html

ร่างคุ้มครองผู้บริโภคเมียนมาพร้อมประกาศใช้

จากรายงานของฝ่ายกิจการผู้บริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ เมียนมาได้จัดทำร่างโครงการคุ้มครองผู้บริโภคระดับชาติเป็นที่เสร็จสิ้นแล้ว เนื้อหาในร่างนี้จะรวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค การศึกษาการสื่อสารการตลาดและการดำเนินการเพื่อผู้บริโภค โดยได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของเมียนมาและจะถูกส่งต่อไปยังรัฐบาล โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 และจะประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป โปรแกรมนี้ได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติรวมถึงการขอความช่วยเหลือสำหรับผู้บริโภคออนไลน์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/consumer-protection-program-drafted-myanmar.html

รัฐบาลสปป.ลาวประกาศลดโครงการที่ได้รับทุนเพื่อลดภาระหนี้

งบประมาณส่วนสำคัญที่จัดสรรให้สำหรับโครงการที่ได้รับทุนจากรัฐจะถูกตัดในปีหน้าเพื่อให้รัฐบาลสามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินได้ แต่โครงที่ยังมีความจำเป็นอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดความยากจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาฝีมือแรงงาน โครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกจะยังได้รับการสนับสนุนต่อไป Mr. Sonexay Siphandone รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวว่า “เราต้องจำกัดจำนวนโครงการใหม่เพื่อลดการก่อหนี้เรื้อรังและช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเงินที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ผ่านมา” สิ่งนี้ก่อให้เกิดความกังวลภายในรัฐสภาเกี่ยวกับเป้าหมายต่างๆที่รัฐบาลจะต้องบรรลุในช่วง 5 ปีข้างหน้าเนื่องจากงบประมาณที่ลดลงสำหรับโครงการซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของรับบาลสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt217.php

สปป.ลาวอาจไม่สำเร็จการหลุดพ้นจากสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในปี 67

รองนายกรัฐมนตรีสปป.ลาว กล่าวกับสมาชิกสมัชชาแห่งชาติว่า องค์การสหประชาชาติกำลังประเมินความเป็นไปได้ที่สปป.ลาวจะหลุดพ้นจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) ในปี 67 ซึ่งสปป.ลาวจำเป็นต้องรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลโดยละเอียดมากขึ้น การวิเคราะห์ผลกระทบของการระบาดอย่างละเอียดต่อการหลุดพ้นจากสถานะ LDC สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เกณฑ์ที่กำหนดโดยสหประชาชาติในการหลุดพ้นจากสถานะ LDC ที่ประเทศต่างๆจะต้องบรรลุเป้าหมายบางประการ ที่เกี่ยวข้องกับดัชนีสินทรัพย์มนุษย์ (HAI) ซึ่งประเมินเป้าหมายด้านสุขภาพและการศึกษาความเปราะบางทางเศรษฐกิจ (EVI) และรายได้ประชาชาติมวลรวม (GNI) ต่อหัว การทบทวนของสปป.ลาวในปี 62 พบว่าประเทศนั้นมีคุณสมบัติ GNI ต่อหัวและ HAI ตรงตามข้อกำหนด แต่ดัชนีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ (EVI) ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด -19 สปป.ลาวต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาหลายประการรวมถึงผลกระทบที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโดย คาดว่าอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 3.3 % ในปีนี้ แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าสปป.ลาวต้องพัฒนาพื้นที่ชนบทและขจัดความยากจนทั่วประเทศ

ที่มา :  https://laotiantimes.com/2020/11/05/laos-may-graduate-from-least-developed-country-in-2024/

การค้าระหว่างกัมพูชากับสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในช่วง 9 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่งแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสถิติจากหน่วยงานของทางสหรัฐฯตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีมีมูลค่ามากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งกัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังสหรัฐฯรวมมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯรวม 232 ล้านดอลลาร์ลดลงถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยกัมพูชาส่งออกสิ่งทอ รองเท้า สินค้าทางการเกษตรไปยังสหรัฐฯ และนำเข้ายานพาหนะ อาหารสัตว์ และเครื่องจักรเป็นหลัก ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่าอยู่ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปี 2018

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780103/cambodia-us-trade-increase-16-percent-in-the-first-nine-months/

SME bank กัมพูชาเริ่มเปิดดำเนินการอีกครั้งสำหรับภาคธุรกิจ

ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) แห่งกัมพูชาจะเริ่มดำเนินการด้านการธนาคารในวันนี้ ณ กรุงพนมเปญ ในฐานะธนาคารที่ดำเนินนโยบายสอดคล้องกับทางภาครัฐบนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของรัฐบาลกัมพูชา ตามที่กำหนดไว้ภายใต้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของกัมพูชา พ.ศ. 2015-2025 โดยธนาคารจะส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มากขึ้นสำหรับเอสเอ็มอีในภาคส่วนที่มีความสำคัญ เช่น การผลิตและแปรรูปอาหาร การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องถิ่น การรีไซเคิลขยะ การผลิตสินค้าสำหรับภาคการท่องเที่ยว การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ชิ้นส่วนอะไหล่หรือการประกอบชิ้นส่วน และการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและเทคโนโลยี (IT)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780008/sme-bank-of-cambodia-open-for-business/

INFOGRAPHIC : เวียดนามดึงดูด FDI ถึง 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) 23.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

โดยเงินลงทุนจากโครงการใหม่จำนวน 2,100 โครงการรวมมูลค่า 11.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, จำนวน 907 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนมูลค่าน้อยกว่า 5.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจำนวน 5,451 โครงการที่มีการซื้อหุ้นกิจการจากนักลงทุนต่างประเทศ มูลค่า 6.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีการลงทุนมากที่สุด ด้วยมูลค่าการลงทุน 7.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 ของเงินทุนรวมจากต่างประเทศ รองลงมาเกาหลีใต้ มีมูลค่า 3.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 14.6, จีน มีมูลค่า 2.17 คิดเป็นร้อยละ 9.2 และประเทศอื่นๆ มีมูลค่า 10.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 44.3

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-attracts-2348-billion-usd-in-fdi-in-ten-months/189661.vnp

อีคอมเมิร์ซเป็นเครื่องมือที่ธุรกิจเวียดนามจะขาดไม่ได้

รองผู้อำนวยการอุตสาหกรรมและการค้าของเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่าท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปยังทั่วโลก อีคอมเมิร์ซถือเป้นเครื่องมือหนึ่งที่ธุรกิจในท้องถิ่นขาดไม่ได้ในการขยายการดำเนินงานและกิจกรรมทางการค้า โดยอเมซอน (Amazon) เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในฐานะตัวเลือกการจับจ่ายสินค้าที่สะดวกและมีความปลอดภัยแก่ผู้ค้าเวียดนาม ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์การค้าโลก (WTO) ระบุว่าสถานการณ์การแพร่ะระบาดของไวรัส ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซเป็นทางออกของผู้บริโภคในช่วงวิกฤตดังกล่าวและยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงผลักดันธุรกิจขนาดย่อมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม รองผู้อำนวยการแผนกอีคอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่าในช่วงเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยในปีนี้ แต่ว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ถึงแม้อัตราการเติบโตจะอยู่ในระดับต่ำที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลในการดำเนินงานทั้งการควบคุมการระบาดและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ อีคอมเมิร์ซจึงเป็นกลไกที่สำคัญของเศรษฐกิจเวียดนาม ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 14 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/e-commerce-to-become-indispensable-instrument-for-vietnam-enterprises-314716.html

เศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนามในปี 68 คาดพุ่ง 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

งานสัมมนาในหัวข้อ “การพัฒนาอีคอมเมิร์ซเวียดนามในยุคดิจิทัล” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พ.ย. ณ กรุงฮานอย เผยว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนามและอินโดนีเซียมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 38 ต่อปี ในขณะที่ ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน มีอัตราการเติบโตร้อยละ 20-30 ต่อปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจที่รวดเร็วในปัจจุบัน สาเหตุส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการแพร่ะบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เป็นแรงผลักดันให้ลูกค้าเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลในปี 2562 มีมูลค่าแตะ 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะสูงถึง 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 รวมถึงบริการเดินทางออนไลน์ สื่อออนไลน์และยานพาหนะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการกระทรวงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่ามิติที่ 749 ของนายกรัฐมนตรีเหงวียนซวนฟุกเกี่ยวกับการกำหนดวิสัยทัศน์ในปี 2568 ซึ่งเศรษฐกิจดิจิทัล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของ GDP และได้ตั้งเป้ามูลค่าของอีคอมเมิร์ซค้าปลีกและบริการ อยู่ที่ 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568

ที่มา : https://vietreader.com/business/finance/22025-vietnamese-digital-economy-expected-to-jump-to-us43-billion-by-2025.html

ปี 65 เมียนมาเดินหน้าสร้างทางด่วน พะโค-ไจ้โต

จากข้อมูลของกรมทางหลวง กระทรวงการก่อสร้างเผย การก่อสร้างทางด่วนที่เชื่อมระหว่างเมืองพะโคและเมืองไจ้โตในรัฐมอญคาดว่าจะเริ่มได้ในปีงบประมาณ 2565-2566 โดยจะได้รับเงินกู้ยืม 483.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)  เพื่อสร้างทางด่วนระยะทาง 64 กม. โครงการนี้ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2571-2572 โดยจะมีสะพานข้ามแม่น้ำสีตึ้งยาว 2.3 กม. และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จะเป็นผู้จัดหาเงินทุนสำหรับก่อสร้างสะพาน New Sittaung ด้วยเงินกู้ 27.8 พันล้านเยน ซึ่งโครงการนี้อยู่ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ทั้งนี้ทางหลวงจากพะโคถึงไจ้โตจะช่วยให้เข้าถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาและไปใกล้ย่างกุ้งได้ง่ายขึ้น อีกทั้ง EWEC ยังเชื่อมต่อไทยกับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาและต่อไปยังพะสิมในเขตอิรวดี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-bago-kyaik-hto-expressway-commence-2022.html