รัฐบาลเมียนมาประกาศธุรกิจที่ต้องเปิดในช่วง COVID-19

กระทรวงแรงงานตรวจคนเข้าเมืองและประชากรประกาศรายชื่อธุรกิจ 21 แห่งที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากให้เป็นบริการที่มีความจำเป็น ประกอบด้วย โรงงานและรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ, ธุรกิจที่จัดหาน้ำ, ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าการผลิตและส่งพลังงานเชื้อเพลิงม, ดับเพลิง, โรงพยาบาลเอกชนคลินิกและผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ข้อมูลและธุรกิจเทคโนโลยี, การขนส่ง, คลังสินค้าและขายส่ง, บริการท่าเรือ, โลจิสติกส์และการขนส่ง, ส่งออกและนำเข้า, เทศบาล, การธนาคารและการเงิน; ประกันภัย, ธุรกิจการพิมพ์และเผยแพร่ม, เหมืองแร่และทรัพยากร, บริษัทที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี, ธุรกิจก่อสร้าง และประมง เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้จะต้องดำเนินงานต่อไปและต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกัน COVID-19 รวมถึงการตรวจสอบสถานที่โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้โรงงานบางแห่งในเขตอุตสาหกรรม Hlaing Tharyar เริ่มเปิดโรงงานหลังจากผ่านการตรวจสอบแล้วจากเขตอุตสาหกรรม 29 แห่งในเขตย่างกุ้งและมีมากกว่า 6,000 โรงงาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-list-essential-businesses-myanmar.html

‘โควิด’ ฉุดเบิกจ่ายงบ 63 ต่ำกว่าเป้า นายกฯ เร่งทุกหน่วยเบิกงบ

“สมคิด” เผยนายกฯสั่งหัวหน้าส่วนราชการ เร่งเบิกจ่ายงบปี 63 ที่ต่ำกว่าเป้าไปมากหลังผลกระทบโควิด และซักซ้อมการทำโครงการเสนอใช้เงินกู้ 4 แสนล้านบาทเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ได้เร่งรัดส่วนราชการให้เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เนื่องจากขณะนี้การเบิกจ่ายตกเป้าและล่าช้าไปมากเพราะติดขัดปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความล่าช้าของการออก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2563

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878986?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

‘ดานัง’ ดึงดูดลงทุนต่างชาติพุ่งขึ้น แม้จะอยู่ท่ามกลางโควิด-19

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติประจำเมือง กล่าวว่าเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในนครดานัง อยู่ที่ 76.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับเม็ดเงินเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเมืองดานังทั้งหมด ประมาณ 7 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานของบริษัท ‘Universal Alloy Corporation Vietnam’ และโครงการญี่ปุ่นของ ‘Mikazuki Spa & Hotel’ ทั้งนี้ เมืองดานังมีโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ 844 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 3.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน เมืองดานังดึงดูด 4 โครงการรัฐวิสาหกิจ ด้วยเงินทุนกว่า 8.61 ล้านล้านด่ง ตั้งแต่ต้นปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-to-da-nang-surges-despite-covid19/172547.vnp

ดัชนีราคาผู้บริโภค ‘เวียดนาม’ เดือนเม.ย. ลดลง 1.54%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคากลุ่มอาหารลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.93 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.62 โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ 11 กลุ่มลดลง รวมถึงการขนส่ง (13.86%), วัสดุก่อสร้างและที่อยู่อาศัย (2.33%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.13%) ทั้งนี้ ราคาทองคำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69 เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (USD) ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมรายการที่มีการเคลื่อนไหว อาทิ อาหารสด พลังงาน บริการดูแลสุขภาพและการศึกษา) ลดลงร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.96

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/april-cpi-down-154-percent-monthonmonth/172557.vnp

รัฐบาลเมียนมาเล็งลงทุนผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Covid-19

เนื่องจากเมียนมาต้องซื้อยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากตลาดต่างประเทศจึงวางแผนซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และหน้ากากอนามัยจากผู้ผลิตในในประเทศแทน สำหรับการป้องกันการควบคุมและการรักษา Covid-19 ของเมียนมานั้นมีการดำเนินการโดยสร้างโรงพยาบาลและคลินิกให้มากขึ้นและจัดหาเครื่องมือวินิจฉัยและเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเติม สำหรับเครื่องวิเคราะห์ Cobas 6800 ที่ใช้ในการทดสอบ Covid-19 จะเริ่มดำเนินการในสัปดาห์นี้ และห้องปฏิบัติการในย่างกุ้งสามารถทดสอบได้มากกว่า 1,000 คนทุกวัน ทั้งนี้ยังมีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ขายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในราคาที่สูงในตลาดท้องถิ่นเพื่อการเก็งกำไรอีกด้วย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/govt-seeks-investment-to-manufacture-covid-19-medical-equipment-at-inoperative-factories

คณะรัฐมนตรีอาจมีแนวทางผ่อนคลายมาตรการบางอย่างในเดือนหน้า

เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือเกี่ยวกับการป้องกันการควบคุมการแพร่กระจายของโคลวิ – 19 รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID – 19 และพิจารณาการผ่อนคลายมาตราการบางอย่างเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของประชาชนสปป.ลาว คาดว่ารัฐบาลจะมีการปรับเปลี่ยนมาตราการต่าง ๆและเริ่มใช้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ทั้งนี้มติต่าง ๆที่ได้เสนอในที่ประชุมยังต้องมีการพิจารณาต่อไปสักระยะหนึ่งก่อนที่จะบังคับใช้เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรกและจะตามมาด้วยเศรษฐกิจ รัฐบาลยังคงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนต่อไปในการปฎิบัติตามมาตรการต่าง ๆในช่วงนี้เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสต่อไป

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/30/77273/

ธนาคารร่วมพัฒนาด้านการแข่งขันในธุรกิจทางการเกษตรของกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการเกษตรและการพัฒนาชนบทแห่งรัฐของกัมพูชา (ARDB) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ริเริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรผ่านการเพิ่มมูลค่าให้กับห่วงโซ่การผลิตของการทำฟาร์มในประเทศกัมพูชา โดยโครงการพัฒนาการเกษตรจะช่วยสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อขยายสู่วงจรการผลิตทั้งหมด ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวได้เกิดขึ้นในการประชุมทางไกลระหว่าง ARDB และ ADB โดยอธิบดี ARDB กล่าวว่าโครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับปัจจัยหลักแต่ละประการของห่วงโซ่การผลิตทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของเกษตรกร โดยในการดำเนินการโครงการมูลค่า 110 ล้านดอลลาร์ จะได้รับการสนับสนุนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสำหรับเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร รวมถึงจะดำเนินการในช่วงปี 2564 ถึง 2570 ตามที่ระบุว่าฐานการผลิตทางการเกษตรใน 6 จังหวัดจะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50718266/banks-to-partner-on-competitive-agribusiness-development/

ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในภาคพลังงานของกัมพูชา

บริษัท พลังงานหมุนเวียนของญี่ปุ่นสองแห่งวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบและแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยของแหล่งจ่ายพลังงานปกติของกัมพูชา ซึ่งรายงานโดยสำนักข่าวญี่ปุ่น NNA กล่าวว่าทั้งสอง บริษัท คือ Aura Green Energy Co และผู้ให้บริการระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ WWB Corp. ได้ร่วมมือกันเพื่อเปิดตัวธุรกิจผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานโดยใช้ชีวมวลและพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชาภายในปี 2564 โดยการลงทุนในพลังงานทดแทนเช่นพลังงานเชื้อเพลิงแกลบจะช่วยให้ผู้ผลิตข้าวลดต้นทุนลง ซึ่งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในปี 2562 อนุมัติเงินกู้ 7.64 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างสวนพลังงานแสงอาทิตย์ 100 เมกะวัตต์ (mW) ในประเทศกัมพูชาเพื่อช่วยในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและกระจายพลังงานให้ทั่วถึงไปยังชุมชนมากขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50718101/japan-jumps-in-on-energy/

วิกฤติโควิด-19 สกัดหลายประเทศอาเซียนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง

รายงานของบริษัทวิจัยด้านเศรษฐกิจ Capital Economics ชี้ว่า การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก อาจส่งผลให้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8 จาก 10 ประเทศ มีการเจริญเติบโตติดลบ ยกเว้นแค่ 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และเมียนมา โดย Capital Economics คาดการณ์ว่ามูลค่าผลผลิตรวมหรือ จีดีพี ของอาเซียนจะลดลงราว 10% ในปีนี้ จากที่เพิ่มขึ้นราว 5% เมื่อปีที่แล้ว โดยคาดว่า มาเลเซีย ฟิลิิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย จะมีการหดตัวของเศรษฐกิจมากที่สุดในอาเซียน มาจากการถดถอยของภาคการท่องเที่ยว ภาคการผลิต และการส่งออก ล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเหล่านี้ ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยในประเทศก็ลดลงในช่วงที่รัฐบาลใช้มาตรการล็อคดาวน์เช่นกัน นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำลงยังส่งผลกระทบต่อรายได้ของบรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักด้วย รายงานคาดว่า อัตราการเจริญเติบโตที่ลดลงนี้จะทำให้หลายประเทศในอาเซียนยังไม่สามารถขยับขึ้นไปอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางได้ในปีนี้

ที่มา : https://www.voathai.com/a/asean-middle-income-status-coronavirus/5395838.html

สำนักงานศุลกากรรับรายได้กว่า4 พันล้านกีบจากการค้าชายแดนจีนและเวียดนาม

ภายในปี 2563 สำนักงานศุลกากรระหว่างประเทศในจังหวัดบอลิคำไซได้รับรายได้ 4 พันล้านกีบโดยที่มาของรายได้กว่าร้อยละ58.98 มาจากการด่านชายแดนการส่งออกเวียดนามและจีน ถึงแม้มาตราฐานการจัดการด้านการส่งออกและคลังสินค้าของชายแดนสปป.ลาวไม่มีประสิทธิภาพและมีความซีบซ้อนและล่าช้าในการตรวจสอบต่างๆ ทำให้จุดนี้เองที่ทำให้รัฐบาลต้องการพัฒนาระบบศุลกากรดังกล่าวเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนด้านการส่งออกและนำเข้าผ่านด่านรอยต่อประเทศ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่ได้มีการพัฒนามากเท่าที่ควร ทั้งด้านระบบการจัดการและเครื่องไม้เครื่องมือที่ยังไม่มีใช้ที่ด่านพรหมแดนทำให้ผู้ประกอบการต้องสูญเสียโอกาสด้านการค้าในบ้างชนิดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุการเก็บได้น้อยและต้องการคลังเก็บสินค้าที่มีคุณภาพ ในอนาคตหากสปป.มีการพัฒนาด้านนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสปป.ลาวอย่างมหาศาล

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/04/29/77216/