ญี่ปุ่นลงทุนโดยตรงไปยังกัมพูชาสูงถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

ในระหว่างปี 2537-2562 กัมพูชาได้รับโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นกว่า 137 โครงการ มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายใต้กรอบการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น โดยผู้ช่วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์จัดงานสัมมนาเรื่อง “การได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีค่าผ่านการเชื่อมโยง MSME” ณ กรุงพนมเปญเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งโครงการลงทุนยังคงดำเนินต่อไปโดยมุ่งเน้นไปที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร อาหารแปรรูป โรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อีกจำนวน 1,799 แห่ง ที่ญี่ปุ่นลงทุนในด้าน โดยธุรกิจจากญี่ปุ่นมีชื่อเสียงด้านคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นสร้างงานและช่วยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของคนงานกัมพูชาซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจำนวนบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในกัมพูชาเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการตัดสินใจลงทุนและขยายการดำเนินงานในกัมพูชาเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งของรัฐบาลกัมพูชาและมีสภาพแวดล้อมการลงทุนที่ดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686389/japans-foreign-direct-investment-in-cambodia-peaks-2-5-billion-in-last-15-years

กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษรวม 54 เขตทั่วประเทศ

ในปี 2562 กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวม 54 เขต ตามรายงานจากสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา ซึ่งในปีที่แล้วได้มีการส่งออกสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษของกัมพูชาอยู่ที่ 2,688 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษในกรุงพนมเปญครอบคลุมพื้นที่ 353 เฮกเตอร์ มีบริษัทลงทุนกว่า 121 แห่ง รวมถึงสร้างงานให้กับชุมชนอีกกว่า 21,717 ตำแหน่งให้กับชาวกัมพูชา โดยการส่งออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษในกรุงพนมเปญมีมูลค่าอยู่ที่ 518 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ตามตัวเลขที่มีการรายงานของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งบริษัท ส่วนใหญ่ที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษกรุงพนมเปญมาจากประเทศไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เบลเยียม ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมเขตเศรษฐกิจพิเศษและการลงทุน ซึ่งกฎหมายใหม่นี้จะดึงดูดการลงทุนในประเทศโดยจัดให้มีสิ่งจูงใจเพิ่มความโปร่งใสและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686294/cambodia-has-54-special-economic-zones-more-to-come

ทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่เวียดนามในเดือนม.ค. สูงสุดในรอบ 4 ปี

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ามีบริษัทจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 8,276 ราย ในช่วงเดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่เงินทุนจดทะเบียนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 76.8 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 276 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าตัวเลขดังกล่าวมีอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนผู้ประกอบการใหม่ลดลงในช่วงเดือนม.ค.นั้น เป็นผลมาจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของประเทศ ขณะที่ เม็ดเงินทุนต่างประเทศพุ่งสูงขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากบริษัทจดทะเบียนใหม่ในสาขาอุตสาหกรรมการเงิน ด้วยเงินทุนราว 144 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (53.9% ของเงินทุนจะเทียนรวม) ทั้งนี้ จำนวนบริษัทที่หยุดกิจการในเดือนม.ค. 11,702 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนบริษัทที่ล้มละลายมีอยู่ประมาณ 1,621 ราย ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ จำนวนบริษัทจดทะเบียนใหม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กิจการเหมืองแร่ กิจการรถจักรยานยนต์และรถยนต์ รวมไปถึงกิจการค้าบริการ อย่างไรก็ตาม อีก 5 อุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ กิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าน้ำ, สารสนเทศและโทรคมนาคม, วิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและให้คำปรึกษา, การศึกษาและการฝึกอบรม และบริการรับจัดเลี้ยงและที่พัก เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/591583/registered-capital-of-new-enterprises-in-january-hits-four-year-high.html

ยอดลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามสูงขึ้น 179%

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MIP) เปิดเผยว่าในช่วง 20 วันแรกของปีนี้ ยอดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับเม็ดเงินลงทุน 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น มาจากโครงการลงทุนต่างชาติใหม่จำนวนกว่า 258 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 454.1 และ 14.2 ตามลำดับ ขณะที่ เงินทุนส่วนที่เหลือจะเข้าไปสู่โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนและการเข้าซื้อหุ้นเวียดนามจากบริษัทต่างชาติ เป็นต้น สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 4.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็น 90.9% ของเงินลงทุนทั้งหมดจากต่างชาติ) โดยเมื่อปีที่แล้ว กลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในอันดับที่ 3 ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ตามมาด้วยเกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 1 (7.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ 2 (7.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ในปี 2563 เวียดนามจะดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 38.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/january-fdi-surges-179-percent/167896.vnp

รัฐบาลเมียนมาค้านการทบทวนค่าแรงขั้นต่ำ

รัฐบาลส่งร่างแก้ไขกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำของประเทศพร้อมจะยกเลิกการทบทวนค่าแรงขั้นต่ำทุกสองปี ทั้งนี้คณะกรรมการระดับชาติจะศึกษาผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและค่าครองชีพและส่งผลการวิจัยไปยังรัฐบาล วัตถุประสงค์เพื่อให้มีงานที่ดีและมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น รวมถึงการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการระดับชาติสำหรับค่าจ้างขั้นต่ำ พร้อมทั้งให้นักเศรษฐศาสตร์แรงงานและผู้เชี่ยวชาญมาเป็นกรรมการ ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำครอบคลุมธุรกิจทุกประเภทและขึ้นอยู่กับค่าครองชีพในแต่ละภูมิภาค ค่าแรงรายวันขั้นต่ำปัจจุบันคือ 4800 จัต (3.27 ดอลลาร์สหรัฐ ) ซึ่งสหภาพแรงงานเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำเป็น 9800 จัตต่อวัน กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำประกาศใช้ในปี 56 และค่าแรงขั้นต่ำรายวันกำหนดไว้ที่ 3600 จัต ในเดือนสิงหาคม ปี 58

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-seeks-scrap-mandatory-review-minimum-wage.html

การส่งออกเยื่อไม้และเศษกระดาษเติบโตในปี 2019

การส่งออกเยื่อกระดาษและเศษกระดาษเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอย่างหนึ่งของสปป.ลาวมีมูลค่าเป็นอันดับ 3 ของการส่งออกทั้งหมดโดยมีมูลค่าถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สรอ.โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้แก่จีนโดยมีมูลค่ามากถึง 8 แสนดอลล่าร์สรอ. ถือเป็นสินค้าที่มีสปป.ลาวมีศักยภาพสูงด้านการแข่งขันรวมถึงการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐทั้งในแง่ของการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตโดยไม่ต้องมีการนำเข้ามาช่วยประหยัดต้นทุนและสามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังมีการณรงค์ควบคู่กับมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของธรรมชาติและการเติบโตของเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/wood-pulp-waste-paper-exports-hit-us251-m-2019-112914

สมาชิกสภาและสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจัดทำแผนในปี 2563

เมื่อวันที่ 20-24 มกราคมมีการประชุมสภาระหว่างสมาชิกสภาและสมาชิกสมัชชาแห่งชาติแผนพัฒนาในวาระการร่างแผนเศรษฐกิจและสังคมในปี 2563 โดยเนื้อหาแบบแผนได้มีการส่งเสริมในทุกด้านที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะเป็น การเรียกร้องให้ผู้ผลิตรายย่อยเพิ่มการผลิตอาหารโดยเฉพาะข้าวผักเนื้อสัตว์ปลาไก่และไข่ ปรับปรุงภาคการขนส่งและภาคทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้นรวมถึงการสนับสนุนการลงทุนในประเทศจากนักลงทุนต่างชาติแผนดังกล่าวอยู่ในขั้นรอการอนุมัติจากสภาหากผ่านร่างแผนดังกล่าวจะกล่าวจะเริ่มดำเนินการในปีนี้และเชื่อว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้รวมถึงการขยายของเศรษฐกิจที่จะตามมา

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vientiane-people%E2%80%99s-council-draws-plans-2020-112909

ดีอีเอสปลื้มทุนใหญ่สหรัฐฯ ซิสโก้-ไมโครซอฟท์ ขนเงินลงทุนไทยเพิ่ม

ซิสโก้ เลือกไทยตั้งศูนย์ Co-Innovation Center แห่งแรกในเอเชีย ปั้นคนไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ด้านไมโครซอฟท์ จ่อลงนามเอ็มโอยู ผุด AI/IoT Insider Lab ใน ‘อีอีซี’ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยหลังเข้าพบและหารือกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไอทีระดับโลกระหว่างการเดินทางไปโรดโชว์ที่สหรัฐอเมริกาได้รับคำยืนยันจากบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ จำกัด และบริษัท ไมโครซอฟท์ ที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มเติม ทั้งนี้บริษัท ซิสโก้ ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดตั้งศูนย์ Cisco Co-Innovation แห่งแรกในเอเชีย นอกจากนี้ทางไมโครซอฟท์และกระทรวงดิจิทัลฯ จะมีการลงนามเอ็มโอยูร่วมกัน เพื่อเข้ามาปักธงใน Thailand Digital Valley โดยจัดตั้ง AI/IoT Insider Lab ซึ่งเป็นโครงการที่ไมโครซอฟท์ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยไมโครซอฟท์เล็งเห็นถึงศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของอาเซียน เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ซึ่งมีความสนใจอย่างมากที่จะพิจารณาจัดตั้ง AI/IoT Lab ในประเทศไทย ร่วมพัฒนาบุคลากรและอุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของไทยอย่างเต็มที่

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/613275

กลุ่มธุรกิจสวิสมองเห็นโอกาสการลงทุนในภาคส่วนต่างๆของกัมพูชา

คณะผู้แทนจากหอการค้าของสวิตเซอร์แลนด์แสดงถึงความสนใจที่จะลงทุนในภาคต่างๆของกัมพูชา โดยได้ขอความร่วมมือในการขอทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนในประเทศกัมพูชา ซึ่งสมาชิกกล่าวว่าพวกเขาสนใจเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของกัมพูชาและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการทำการค้าและการลงทุน โดยเมื่อเห็นศักยภาพของเศรษฐกิจของกัมพูชาแล้วคณะผู้แทนหอการค้าสวิสซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯต้องการสำรวจและหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติม ในการประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจในกัมพูชา ซึ่งในขณะเดียวกันรัฐบาลได้กำหนดชุดของการปฏิรูปที่มุ่งปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อดึงดูดการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันกัมพูชามีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกับ AmCham และ EuroCham โดยเป็นกลุ่มสมาชิกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการค้าการลงทุนในกัมพูชา เพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50685292/swiss-businesses-see-opportunities-for-investments-in-various-sectors

GMAC กล่าวถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับแรงงานกว่า 7.5 แสนตำแหน่งในกัมพูชา

GMAC ถามรัฐบาลถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและสินค้าทางด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชากับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของแรงงานกว่า 750,000 คน ในประเทศกัมพูชา โดยชี้ให้เห็นว่าหลักการพื้นฐานและสิทธิเสรีภาพในการสมาคมถูกจัดตั้งขึ้นในภาคที่ได้กล่าวในข้างต้นหรือไม่ ซึ่ง GMAC ระบุด้วยว่าการเป็นหุ้นส่วนของ GMAC กับ ILO ในการจัดตั้งโครงการ Better Factories Cambodia ของประเทศกัมพูชาในการตรวจสอบรายงานและสร้างความมั่นใจในความโปร่งใสส่งผลให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ GMAC ยังเน้นว่าหนึ่งในเป้าหมายของการจัดตั้งโปรแกรมระหว่าง ILO กับ Arbitration Council คือการมีบทบาทสำคัญในการยุติข้อพิพาทด้านความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมในประเทศ โดยสมาคมยังได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและยินดีต่อการหารือเกี่ยวกับการให้คำแนะนำกับผู้นำสหภาพและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลได้ค่อยๆเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสำหรับคนงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าโดยในปี 2563 มีการเพิ่มขึ้น 4.4% จากปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50685264/750000-jobs-put-at-risk-in-apparel-footwear-travel-goods-says-gmac