การลงทุนที่จำเป็นสำหรับสปป.ลาวเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการเกษตร

อุปสงค์ในระดับภูมิภาคสำหรับพืชผลและปศุสัตว์ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่สปป.ลาวไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่จะสนองความต้องการของตลาดในภูมิภาคได้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้เน้นย้ำความจำเป็นที่  สปป.ลาวจะต้องดึงดูดการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดส่งออก หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติการเกษตรแบบยังชีพด้วยวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ปัญหาอีกประการหนึ่งคือผลผลิตในฟาร์มคุณภาพต่ำและการกระจายตัวของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งการรวมตัวกันของแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และลดต้นทุน และเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ผลิตเข้ากับธุรกิจการเกษตรและโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าส่งออก อีกทั้งสปป.ลาวยังมีศักยภาพสูงในการปลูกพืชอินทรีย์เพื่อการค้าเนื่องจากความต้องการอาหารที่สะอาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความห่วงใยสุขภาพมากขึ้น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/more-investment-needed-laos-reap-profits-agriculture-102737

ธุรกิจพุ่งหลังกำหนดชำระคืนเงินกู้ใกล้เข้ามา

นักธุรกิจของเมียนมากำลังเรียกร้องให้เพื่อนร่วมชาติให้ชำระคืนเงินกู้เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ทางการเงิน มีการคาดเดากันว่าธนาคารจะฟ้องธุรกิจที่ไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้เป็นประจำหรือผิดนัดชำระภายในสิ้นเดือนกันยายนหรือทรัพย์สินที่ถูกวางเป็นหลักประกันจะถูกยึด โดยกำหนดเส้นตายสำหรับการผิดนัดชำระหนี้เในปลายเดือน ก.ย.62 นี้ โดยจะมีการดำเนินคดีและการยึดทรัพย์สินต่อไป .ธนาคารทุกแห่งจะดำเนิการฟ้องเว้นแต่จะได้รับการชำระคืนภายในสิ้นเดือน ก.ย.62 โดยมีรายชื่อลูกหนี้กว่า 10,000 คนโดยบางคนเป็นนักธุรกิจอันดับต้น ๆ ที่อาจถูกขึ้นบัญชีดำ เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียมากล่าวว่าอาจมีวิกฤติด้านการธนาคารที่รุนแรงหากธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้ชำระคืนเงินกู้ ซึ่งสินเชื่อส่วนใหญ่มาจากธนาคารเอกชน อีกทั้งเมื่อดำเนการยึดทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์อาจไม่เป็นผลดีกับธนาคารนักเพราะราคาอยู่ในช่วงตกต่ำ ทั้งนี้ผู้ให้กู้และลูกหนี้จะต้องทำตามเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นในการชำระคืนเพื่อปัญหาจะได้รับการแก้ไข

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/businesses-jumpy-over-impending-loan-repayment-deadline.html

มัณฑะเลย์คาด GDP ต่อหัวจะเพิ่มขึ้น

จีดีพีต่อหัวของภูมิภาคมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คาดจะยิ่งเพิ่มด้วยกระแสเงินลงทุนจำนวน 841,600 ล้านจัตในปีงบประมาณปัจจุบันจนถึงเดือนมิ.ย.62 มีนักลงทุนจาก 7 ประเทศที่ลงทุน 445 ล้านเหรียญสหรัฐ (669.59 พันล้านจัต) ในภูมิภาคขณะที่การลงทุนในท้องถิ่นมีมูลค่าทั้งสิ้น 172 พันล้านจัต รัฐบาลของภูมิภาคได้ดำเนินมาตรการเพื่อประกันว่ามัฑะเลย์ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคยังคงเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่สุด เขาเสริมว่าภูมิภาคนี้มีโครงการที่นำโดยรัฐบาล 5 โครงการและอีก 5 โครงการดำเนินการร่วมกันโดยรัฐบาลระดับภูมิภาคและภาคเอกชน รัฐบาลระดับภูมิภาคมีแผนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับทั้งภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 64 แต่ปัจจุบันมีเพียง 38% ของภูมิภาคเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงกระแสไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ 58-59 และเพิ่มขึ้นเป็น 74% ในปีงบประมาณปัจจุบัน นอกจากนี้ถนนบางสายได้ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ชนบทราว 748 กม. ในปีงบประมาณ 60-62 ในขณะที่สะพานอีก 3,023 เมตรถูกสร้างขึ้นในราคา 25,600 ล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/mandalay-region-expects-capita-gdp-rise.html

บริษัทอินเดียร่วมมือทำโครงการรถโดยสารประจำทางกับรัฐบาลกัมพูชา

กลุ่มบริษัทในอินเดียและผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอินเดียกำลังมองหาพันธมิตรกับรัฐบาลกัมพูชาในโครงการที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบขนส่งสาธารณะของกัมพูชาและทำให้กัมพูชาเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า โดยมีข้อเสนอระหว่างกันคือบริษัท Sram & Mram และพันธมิตรจะให้การสนับสนุนด้านเงินทุนความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและโครงสร้างพื้นฐานในขณะที่รัฐบาลกัมพูชาจะเป็นผู้จัดหาที่ดินที่มีการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเงินลงทุนจะอยู่ราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยรวมถึงการก่อสร้างโรงงานประกอบรถบัสในประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย และเมียนมาในระยะ 5 ปีข้างหน้า และโครงการนี้ยังมีเป้าหมายในการสร้างงานกว่า 1 หมื่นตำแหน่งสำหรับคนในท้องถิ่น ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกัมพูชาไปข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50637280/indian-companies-eye-bus-project-partnership-with-cambodian-govt/

ผู้ให้บริการสายการบิน FLAG จะเปิดเที่ยวบินตรงถึงดานัง

บริษัท แคมโบเดียอังกอร์แอร์ ผู้ให้บริการด้านการบินนามว่า “FLAG” วางแผนที่จะเปิดเที่ยวบินตรงสู่ดานังในเวียดนามกลางในเดือนตุลาคม ซึ่งต้นทางและปลายทางคือจากเสียมเรียบไปยังดานัง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวยินดีตอบรับการเคลื่อนไหวดังกล่าวโดยอธิบายว่าดานังเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเที่ยวบินตรงนี้จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่มาเยือนดานังและสามารถโดยสารทางเครื่องบินเพื่อเดินทางตรงสู่พนมเปญ ได้ โดยการบินพลเรือนของเวียดนามและสำนักเลขาธิการการบินพลเรือนของกัมพูชา (SSCA) ได้ลงนามในข้อตกลงเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งมีสายการบิน 4 แห่งเชื่อมต่อกับกัมพูชาและเวียดนาม โดยให้บริการทั้งหมด 112 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และกัมพูชามีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามถึง 4 แสนคน เพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50637281/flag-carrier-to-fly-to-da-nang/

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวยังคงพึ่งพาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวจะยังคงขับเคลื่อนโดยการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าในระยะสั้นถึงระยะกลาง ในทางกลับกันการสนับสนุนของภาคเหมืองแร่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การเลื่อนการชำระหนี้ยังคงมีประสิทธิภาพ รัฐบาลสปป.ลาวมุ่งมั่นที่จะผลักดันความคืบหน้าของโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทางรถไฟสายสปป.ลาว – จีน และทางด่วนสายเวียงจันทน์ – วังเวียง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขยายตัวของภาคเอกชนมากขึ้น เป็นผลมาจากการขาดรายได้ของประเทศและความตึงเครียดด้านงบประมาณ การลงทุนจะเน้นไปที่การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการที่ดำเนินอยู่และการชำระคืนหนี้เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของประเทศ ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าการเติบโตจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้น 6.3% ในปี 61

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-growth-remains-reliant-infrastructure-development-102626

บริษัทสปป.ลาวต้องการการควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมาย

ธุรกิจสปป.ลาวจำนวนมากที่ผลิตสินค้าสำหรับตลาดในประเทศเสียเปรียบเพราะไม่มีการควบคุมการไหลเข้าของสินค้านำเข้าที่ผิดกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่นำเข้าสินค้าอย่างผิดกฎหมาย แม้รัฐบาลมีนโยบายและกฎหมายในการปกป้องจากการค้าที่ผิดกฎหมายแต่การบังคับใช้กฎหมายนี้อ่อนแอ เพื่อให้บริษัทสปป.ลาวสามารถผลิตสินค้าสำหรับตลาดในประเทศ รัฐบาลจำเป็นต้องจัดการกับการค้าที่ผิดกฎหมายเพื่อบังคับให้ผู้นำเข้าจ่ายภาษี นอกจากการปราบปรามการค้าข้ามพรมแดนที่ผิดกฎหมายแล้ว รัฐบาลควรใช้มาตรการที่สำคัญเพื่อส่งเสริมธุรกิจ ผลิตสินค้าสำหรับตลาดในประเทศ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถผลิตสินค้าในราคาที่แข่งขันได้ จากการสำรวจของธนาคารโลกหนึ่งในความท้าทายที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเผชิญคือการเข้าถึงการเงิน ผู้ประกอบการหลายคนกล่าวว่าประเด็นที่เร่งด่วนที่สุดที่รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตคือการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยเฉพาะกฎหมายหนึ่งฉบับระบุถึงอาชีพบางประเภทที่สงวนไว้สำหรับคนสปป.ลาว และหากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมธุรกิจที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ได้อย่างน้อยก็ควรจดทะเบียนและถูกบังคับให้จ่ายภาษีเต็มจำนวนเพื่อให้สปป.ลาวและผู้ประกอบการต่างชาติสามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-firms-demand-regulation-illegal-imports-102623

การลงทุนจากต่างประเทศ 81,000 ล้านเหรียญสหรัฐและการอนุญาตนักลงทุนในประเทศ 19.049 ล้านล้านจัต

เมียนมาอนุญาตให้การลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า 81,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และนักลงทุนของในประเทศ 19.049 ล้าน  ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าธุรกิจการลงทุนต่างประเทศจำนวน 1779 มีมูลค่า 81.249 พันล้านเหรียญสหรัฐและธุรกิจการลงทุนในประเทศที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (MIC) ถึง 19.049 ล้านล้านจัต (10,353 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) จนถึงสิ้น ก.ค. 62 MIC ได้อนุญาตให้ธุรกิจการลงทุนต่างประเทศ 1,836 ล้านเหรียญสหรัฐมีมูลค่า 1,836 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 30 ปีตั้งแต่ปี 31-32 จนถึงสิ้น พ.ค. 62 ในปี 62 จากตัวเลขของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) จากธุรกิจต่างประเทศมีเพียง 1489 แห่งและปริมาณการลงทุนมีมูลค่าประมาณ 67.223 พันล้านเหรียญสหรัฐ ธุรกิจที่เลิกกิจการออกภายใน 30 ปี มีจำนวน 338 ธุรกิจและปริมาณการลงทุนมีมูลค่า 14.712 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาคน้ำมันและก๊าซอยู่ในอันดับต้น ๆ ด้วยการลงทุนมากกว่า $ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐ 27.94% ตามด้วยภาคพลังงานด้วย 21 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ 26.40% ภาคการผลิต 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ 13% การขนส่งและการสื่อสารที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า 13%, อสังหาริมทรัพย์ 6% โรงแรมและการท่องเที่ยว 4% ภาคเหมืองแร่ 3% และภาคอื่น ๆ 3% ตามลำดับ ในปีงบประมาณปัจจุบันได้อนุมัติธุรกิจการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 207 ล้าน 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61-62 ถึง 10 ก.ค. มีมูลค่ามากกว่า 1.171 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในทำนองเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าวปริมาณการลงทุนที่เพิ่มขึ้นถึง 208.300 ล้านเหรียญสหรัฐตามกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/more-than-us-81-billion-worth-of-foreign-investment-and-k-19049-trillion-worth-of-citizen

รัฐบาลเมียนมาขายบ้านราคาถูกในสี่เมือง

รัฐบาลกำลังขายอพาร์ทเมนท์ราคาถูกในเมืองอย่าง หล่ายธะยา ชเว-ปยีตา Dagon Seikkan และ ตันลยิล-เจ๊าตัน สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 300,000 จัต ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่อยู่อาศัยในธนาคารเพื่อการพัฒนา การก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน (CHID) และต้องมีน้อย 3 ล้านจัต ในบัญชีของพวกเขาเพื่อให้ได้เงินกู้ก่อสร้างระยะยาวเพื่อซื้ออพาร์ทเมนต้นทุนต่ำ โดยกำลังเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งมอบอพาร์ทเมนท์ให้กับผู้ซื้อในกลุ่มที่สอง ณ สิ้นเดือนก.ย. เงินดาวน์จะเท่ากับ 20% สำหรับอพาร์ทเมนท์ราคาถูกและ 30 เปอร์เซ็นต์สำหรับอพาร์ทเมนท์ราคาไม่แพง อัตราดอกเบี้ย 8.5% และระยะเวลากู้ 15 ปี มีอพาร์ทเมนท์ทั้งหมด 325 ห้องที่ถูกจับฉลากและขายเป็นชุดที่สองในวันที่ 4 มิถุนายน การขายอพาร์ทเมนท์ราคาถูกและราคาไม่แพงนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางในเขตย่างกุ้ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/govt-sells-low-cost-housing-units-in-four-townships

ราคาเนื้อสัตว์ราคาถูกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ในเวียดนาม

การนำเข้าเนื้อสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น สร้างแรงกดดันไปยังอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในประเทศ เนื่องมาจากข้อตกลงการค้าเสรีและการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกัน (ASF) โดยจากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีการนำเข้าเนื้อหมูกว่า 8,000 ตัน และเนื้อไก่มากกว่า 142,000 ตัน ซึ่งผู้บริโภคชื่นชอบกับราคานำเข้าที่ถูกกว่าในประเทศ โดยตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดไปยังเวียดนาม คิดเป็นมูลค่าราว 48.6 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ หรือปริมาณมากกว่า 62,400 ตัน ส่วนสาเหตุที่ราคานำเข้าถูก เป็นเพราะอุตสาหกรรมของต่างประเทศมีความเชี่ยวชาญในระบบการดำเนินงาน และเป็นโรงเรือนระบบปิด รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมสัตว์ให้เติบโตได้เร็วขึ้นและมีขนาดใหญ่มากขึ้น

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/524518/cheap-imported-meats-hurt-domestic-livestock-industry.html#VqAHBMqF5HQ54W80.97