กัมพูชาและไทยกระชับความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว

การประชุมคณะผู้ทำงานด้านการท่องเที่ยวกัมพูชาและไทย ครั้งที่ 5 สรุปโดยจะทำงานร่วมกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) โดยโปรแกรม VISA จะอนุญาตให้คนจากกลุ่มประเทศ CLMVT เดินทางโดยถือเพียง VISA เดียว ซึ่งทางภาคส่วนไทยได้ทำการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวรวมถึงการออกเที่ยวบินตรงจากจังหวัดทางภาคใต้ของไทยไปยังสีหนุวิลล์ในชายฝั่งกัมพูชา โดยตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวมาเยือนกัมพูชาถึง 3.3 ล้านคนในช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้นกว่า 11% ซึ่งนักท่องเที่ยวไทยเดินทางยังกัมพูชาเพิ่มขึ้น 9% ในช่วงครึ่งปีแรก และกัมพูชาคาดการณ์ว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวไทยได้ 4 แสนคนในปี 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50635088/cambodia-thailand-to-strengthen-tourism-ties/

ยอดส่งออกเสื้อ CMP เพิ่มหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ

ตั้งแต่ 1 ต.ค. ของปีงบประมาณ 61-62 อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP (Cut – Make – Pack) มีรายรับมากกว่า 3.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อปีที่แล้วภาคการส่งออกมีกำไรมากกว่า 2.775 พันล้านเหรียญสหรัฐ รายรับจากการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 1.037 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP อยู่ในอันดับต้น ๆ ของภาคการส่งออกทั้งหมด ในปี 61 มีรายได้เกือบ 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าในปี 67 จะมีรายรับสูงถึง 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบันภาคเสื้อผ้า CMP มีรายได้ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาจะมีรายได้สามพันล้านเหรียญสหรัฐหากสามารถเปลี่ยนจากระบบ CMP เป็นระบบ FOB ตามที่สมาคมผู้ประกอบการตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งเมียนมา (MGEA) ได้ระบุ เมียนมาเริ่มระบบ CMP ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมาตั้งแต่ปี 2533 ปัจจุบันมีมากกว่า 70 อุตสาหกรรมที่ทำงานภายใต้ระบบ CMP

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/export-earnings-from-cmp-garment-increase-by-one-billion-usd

ฟอรั่มอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารกัมพูชาเริ่มแล้ว

ฟอรั่มจับคู่ธุรกิจอาหารและการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มการเจริญเติบโตของภาคสินค้าเกษตรและแปรรูปอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และทำการค้นหาคู่ค้าที่เหมาะสม จัดขึ้นโดยสมาคมผู้ประกอบการเยาวชนแห่งกัมพูชาและสหพันธ์สมาคมเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและรัฐวิสาหกิจโดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงท้องถิ่นและรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งมีผู้ประกอบการถึง 30 ราย มีกิจกรรมทางการค้าที่หลากหลาย รวมถึงภาคการเงินการธนาคาร บรรจุภัณฑ์ เครื่องจักร การทำการตลาดดิจิทัล และอื่นๆ โดยกัมพูชามีการเติบโตด้านการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปเป็นอย่างมาก ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรถึง 4.26 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50634710/food-processing-forum-kicks-off/

กัมพูชาเป็นเจ้าภาพการจัดส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน

งาน Asean Ports & Shipping 2019 ครั้งที่ 17 จัดโดย PPAP และ PAS  เป็นงานใหญ่ที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจะจัดขึ้นในกัมพูชาที่โรงแรม NagaWorld ในกรุงพนมเปญ ในวันที่ 10-12 กันยายน ซึ่งงานดังกล่าวจะเป็นการรวมตัวของนักธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีผู้เข้ารวมงานถึง 500 รายรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐฯ ซึ่งในงานจะเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่สำคัญในอุตสาหกรรมการขนส่งทั่วโลก และเป็นการได้ทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมการขนส่งของกัมพูชา โดยจะมีโอกาสในเชิงพาณิชย์ทั้งสินค้าที่นำมาแสดงและเป็นการสร้างเครือข่ายโดยตรงกับผู้ประกอบการการขนส่งที่จะมาเข้าร่วมงานในครั้งนี้

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50635081/cambodia-to-host-southeast-asias-biggest-shipping-event/

ความไม่สมดุลของแรงงานเป็นสาเหตุของการว่างงานใน สปป.ลาว

ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของแรงงานในบางภาคส่วนเป็นปัญหาที่ท้าทายสำหรับสปป.ลาวในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในปีนี้คาดว่าจะสูงถึง 4,400 คน แต่มีแรงงานเพียง 1,350 คนเท่านั้น  นอกจากนี้ภาคเกษตรกรรมของประเทศ ปีนี้มีความต้องการแรงงาน 2,500 คนในขณะที่มีเพียง 1,600 คนเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามบางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้า การจัดการน้ำ การเงินการประกันภัย การสื่อสารและการขนส่ง การจัดหาแรงงานเกินดุลสูงกว่าความต้องการ หนึ่งในปัญหาคือส่วนใหญ่ต้องการเรียนหลักสูตรการบริหารและการจัดการซึ่งมีจำนวนงานว่างน้อยที่สุด ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาวได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเว็บไซต์จ้างงานรายใหญ่ที่สุดของประเทศคือ 108 Job ในเดือนกรกฎาคม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลตลาดแรงงานเพื่ออัปโหลดตำแหน่งงานว่าง คือ www.lmi.molsv.gov.la และ 108.jobs ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในสปป.ลาวที่มีตำแหน่งงานว่างในภาคต่าง ๆ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2019/08/19/labor-imbalance-causes-unemployment-in-laos/

สปป.ลาววางแผนการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าที่จุดผ่านแดน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะดำเนินการปรับปรุงหรือยกเลิกมาตรการและข้อบังคับที่ไม่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและนำเข้าเพื่อสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดน โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยความสะดวกด้านการค้าครั้งที่ 2 เพื่อประเมินความสำเร็จที่ผ่านมาผ่านการปฏิรูปกฎระเบียบ และเพื่อหารือแผนการดำเนินการอำนวยความสะดวกด้านการค้าข้ามพรมแดนตั้งแต่ปีพ.ศ.60-65 ซึ่งกระทรวงได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบการค้าข้ามพรมแดน เป็นตัวบ่งชี้ที่ 8 จาก 10 ที่วัดโดยดัชนีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ คาดว่าจะปรับปรุงและเร่งการประมวลผลเอกสารและลดค่าธรรมเนียมสำหรับเอกสารที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าและส่งออกอย่างน้อย 50% ในปีนี้ การค้าข้ามพรมแดนของสปป.ลาวได้รับการจัดอันดับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 124 ในปี 61 เป็น 76 ในปีนี้ บรรลุ 39% จาก 50% ของแผน ในการประชุมเดียวกัน World Bank นำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการรถไฟสปป.ลาว – จีนที่เสนอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสปป.ลาวจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรถไฟ เมื่อรัฐบาลปรับปรุงการจัดการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่ง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-plans-regulatory-reforms-boost-trade-border-crossings-102230

ค้าชายแดนเมียนมา – จีน หยุดชะงัก

การค้าชายแดนของเมียนมากับจีนผ่านด่านมูเซในรัฐฉานตอนเหนือได้หยุดชะงักลงเนื่องจากการทำลายสะพานโดยกองกำลังกบฏที่ถนนมัณฑะเลย์ – มูเซและมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง ด่านมูเซส่วนใหญ่ส่งออกข้าว, ข้าวโพด, น้ำตาล, ผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ และนำเข้าวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ และวัตถุดิบอื่น ๆ จากจีน มูลค่าการค้าที่ส่งผ่านมูเซอยู่ที่ประมาณ ล้านเหรียญสหรัฐ (4.57 พันล้านจั๊ต) ต่อวันจากงานของกระทรวงพาณิชย์ แม้ว่าจะมีการซ่อมแซมสะพานที่ถูกทำลายแต่ก็ยังคงเป็นการยากที่จะดำเนินการค้าต่อเนื่องจากขาดความมั่นคงในภูมิภาค ปัจจุบันไม่มีการส่งออกผลไม้ไปยังจีน แต่ผู้ค้าส่งสินค้าประมงแม้จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นในการส่งออกกำลังประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก จนต้องขายสินค้าในประเทศเท่านั้น เช่น ในเมืองในมัณฑะเลย์และย่างกุ้ง รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ต้องหยุดชะงักไปด้วย รายงานของกระทรวงพาณิชย์ระบุ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึง 9 ส.ค. 62 การ ส่งออกไปยังจีนผ่านเขตการค้าชายแดนมูเซ มีมูลค่ารวม 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 1.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 4.28 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.irrawaddy.com/news/burma/myanmars-cross-border-trade-china-halted-clashes.html

ก.ค.62 เวียดนามนำเข้าปิโตรเลียมมากขึ้น

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงเดือนกรกฎาคมของปีนี้ เวียดนามนำเข้าปิโตรเลียมมากกว่า 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 633.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99 และร้อยละ 107 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามลำดับ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการนำเข้าปิโตรเลียมอยู่ที่ 3.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตลาดนำเข้าส่วนใหญ่มาจากมาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/524213/vn-imports-more-petroleum-in-july.html#FWub38DjdKQQz4o4.97

7 เดือนแรกของปี 62 นครโฮจิมินห์ดึงเงินลงทุนต่างประเทศกว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนนครโฮจิมินห์ เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 นครโฮจิมินห์สามารถดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศมากกว่า 3.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยจำนวนเงินทุนกว่า 688.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาจากการ โครงการจดทะเบียนใหม่ 678 โครงการ ในขณะที่ นครโฮจิมินห์ได้อนุมัติธุรกิจจดทะเบียนใหม่ในประเทศกว่า 24,529 แห่ง คิด เป็นมูลค่ามากกว่า 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคณะกรรมการค้าและการลงทุนดำเนินการส่งเสริมการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเมือง และส่งเสริมมูลค่าสินค้าแปรรูปเพื่อการส่งออกมากยิ่งขึ้น โดยประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจต่อการค้าและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการจะยกระดับในการส่งเสริมการค้าไปยังความร่วมมือระหว่างนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-lures-over-36-billion-usd-of-fdi-in-7-months/158045.vnp

รมว.คลังมั่นใจ GDP ปีนี้เติบโตได้ถึง 3%

รมว.คลัง มั่นใจ GDP ปีนี้ยังโตได้ร้อยละ 3 เตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3.16 แสนล้านบาท เข้า ครม. พรุ่งนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของปี 2562 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 นั้น มองว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ได้ต่ำเกินความคาดหมาย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนมาก สงครามการค้า และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐบาลต้องมีการออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยประคองให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตต่อไปได้ สำหรับวันพรุ่งนี้ กระทรวงการคลังเตรียมเสนอชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 3.16 แสนล้านบาท เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1.ช่วยเหลือค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2.บรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง และ 3.กระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศ โดยเชื่อว่าหาก ครม. เห็นชอบมาตรการทั้งหมด จะช่วยกระตุ้น GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 ทำให้ยังมั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 3 ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จะเริ่มใช้ได้ปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน

ที่มา: https://mgronline.com/stockmarket/detail/9620000079184