ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้นจาก 6.3% ในปี 61 แม้จะมีการเข้มงวดด้านการคลังอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าการเบิกจ่ายจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รวมถึงรถไฟจีน – สปป.ลาว อีกทั้งจะได้รับแรงหนุนจากภาคบริการที่ยืดหยุ่น นำโดยการเติบโตของการค้าส่งและค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลสปป.ลาวยังคงมุ่งมั่นที่จะรวมงบการเงินเพื่อควบคุมภาระหนี้สาธารณะในระยะปานกลาง สิ่งนี้จะส่งผลให้การขาดดุลการคลังลดลงจาก 4.4% ของ GDP ในปี 61 ถึง 4.3% ในปี 62 อย่างไรก็ตามสปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นหนี้และมีมาตรการหลายอย่างที่จะต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้  สิ่งสำคัญที่จะต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชนรวมถึงการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตรการเหล่านี้สามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มั่นคง ส่งเสริมการสร้างงานและลดความยากจนและความไม่เท่าเทียม

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/13/c_138305713.htm

สปป.ลาวต้องการส่งออกทางรถไฟบรรทุกสินค้ามายังประเทศไทยมากขึ้น

บริการรถไฟบรรทุกสินค้าข้ามพรมแดนที่เปิดตัวใหม่ระหว่างสปป.ลาวและไทยต้องการการขนส่งสินค้าจาก      สปป.ลาวมากขึ้นเพื่อลดความไม่สมดุลของการค้า รถไฟสามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เข้าและออกได้ 10 ถึง 20 ตู้ทุกวัน แต่จำนวนผู้ส่งออกน้อยกว่าจำนวนผู้นำเข้า นี่เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องจัดการด้วยการทำงานร่วมกัน ซึ่งการมีบริการรถไฟบรรทุกสินค้าเป็นสิ่งที่ดีต้นทุนการขนส่งจะลดลงเพราะบริษัท สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น แต่บริการนี้จะต้องมีสินค้าจำนวนมากสำหรับการจัดส่งแบบสองทาง อีกทั้งความไม่สมดุลของการขนส่งสินค้าที่เข้าและออกจากสปป.ลาวเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีสินค้าจำนวนมากถูกนำเข้ามาในสปป.ลาว แต่มีการส่งออกไปนอกประเทศเพียงเล็กน้อยซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนส่งสินค้า

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/13/c_138305734.htm

รัฐมนตรีขอให้ บริษัท ญี่ปุ่นพิจารณาตลาดในประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทองขอนกระตุ้นให้ธุรกิจญี่ปุ่นพิจารณาการลงทุนในภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งในการพับหารือกับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าวว่าจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทางกัมพูชากล่าวว่าต้องการลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมาเยือนกัมพูชาประมาณ 100,000 คนเพิ่มขึ้น 3% จากปี 2561 โดยปีที่แล้วโครงการลงทุนของญี่ปุ่น 6 โครงการมีมูลค่ากว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกัมพูชาตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมากกว่า 300,000 คนต่อปีภายในปี 2563 และการค้าระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นถึง 16.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากรายงานล่าสุดขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Jetro)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50633272/minister-asks-japanese-firms-to-consider-local-market/

แผนการเพาะปลูกตามสัญญาที่เพิ่มขึ้นในกัมพูชา

กระทรวงเกษตรกล่าวว่าเกษตรกรและผู้ค้าเริ่มตระหนักถึงประโยชน์ของข้อตกลงในการทำการเกษตร โดยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงกรกฎาคมมีการเซ็นสัญญาในภาคการผลิตข้าวถึง 60 โครงการ ซึ่งมากกว่าในช่วงเดี่ยวกันของปีที่แล้วถึง 20 โครงการ โดยการทำสัญญาระหว่างผู้ซื้อและเกษตรกรที่จะทำการส่งมอบพืชผลในอนาคตตามวัน เวลารวมถึงกำหนดจำนวน คุณภาพและราคาไว้ล่วงหน้า ซึ่งปีนี้ผู้ผลิตข้าวได้ลงนามข้อตกลงกับสหกรณ์การเกษตรจาก 10 จังหวัด โดยลำดับความสำคัญคือการเพิ่มจำนวนการทำสัญญาทั่วประเทศเพราะเมื่อมีการทำสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นเกษตรกรจะได้รับการรับประกันว่าจะมีผู้ซื้อมารอรับซื้อพืชผลทางการเกษตรจากเกษตรกรแน่นอน ภายใต้ข้อตกลงข้างต้น รวมถึงการจัดหาผู้ค้ารายใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าทางการเกษตรภายในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50633015/contract-farming-schemes-on-the-rise-ministry/

ผลักดันข้าวกัมพูชาให้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

ข้าวกัมพูชาจะได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในด้านคุณภาพและความยั่งยืน กล่าวโดยประธานสหพันธ์ข้าวคนใหม่ของกัมพูชา ซึ่งสหพันธ์จะดำเนินการในฐานะหุ้นส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ผลิตและจะทำให้อุตสาหกรรมมีความทันสมัย มีตลาดที่หลากหลายและเพิ่มการเข้าถึงของแหล่งเงินทุน โดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชาก่อตั้งขึ้นในปี 2557 มีสมาชิกซึ่งเป็นผู้ส่งออกจำนวน 213 ราย โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำการส่งออกข้าวถึง 1 ล้านตันต่อปี จากการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพในการผลิตข้าวในกัมพูชา ซึ่งการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 3.7% ในช่วง 7 เดือนแรกของปีแตะระดับ 308,013 ตัน โดยจีนยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดโดยทำการซื้อไปกว่า 123,361 ตัน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 40%

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/50632528/cambodian-rice-to-achieve-worldwide-fame-new-crf-president-promises/

สปป.ลาวจะต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

2562 คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจของสปป.ลาว จะกลับมาฟื้นตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในปี 2561 เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และภาคบริการ แต่ว่าสปป.ลาวต้องเผชิญกับความท้าทายในประเทศและต่างประเทศ ในด้านมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง (Fiscal consolidation) คาดว่าจะส่งผลให้ลดการขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของ GDP ในปี 2562 (ลดรายจ่ายภาครัฐในปริมาณที่สูง) เนื่องมาจากต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐ และการใช้จ่ายเงินทุน เป็นต้น นอกจากนี้ สปป.ลาวจะต้องพัฒนาในด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มาตรการดังกล่าว ช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค และส่งเสริมการทำงานของภาคเอกชน รายได้สูงขึ้น และความกินดีอยู่ดีของประชาชนชาวสปป.ลาว

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=47498

บริการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศนอกระบบใน สปป.ลาวทำให้ราคาสูงขึ้น

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสปป.ลาวออกโรงเตือนว่าจะต้องมีการลงโทษเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หน่วยแลกเปลี่ยนที่ดำเนินการโดยธนาคารนั้นมีการควบคุมอย่างเข้มงวด แต่ไม่มีมาตรการใดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราที่อยู่นอกระบบ มีความเป็นไปได้ที่อาจทำให้เกิดความผันผวนของสกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ขณะนี้กำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่สูงขึ้นท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทไทย กระทรวงการวางแผนและการลงทุนระบุว่ามูลค่ากีบเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 0.9% และ 3.5% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ถูกนำเข้า ดังนั้นเมื่อมูลค่าเงินกีบลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นตามลำดับ การใช้เงินตราต่างประเทศอย่างกว้างขวางอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินกีบอ่อนแอ และการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียงจันทน์แม้จะมีความพยายามของธนาคารแห่งสปป.ลาวในการปราบปราม

ที่มา: https://laotiantimes.com/2019/08/12/illegal-currency-exchange-services-causing-price-hikes/

อียูสนับสนุนทุน 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หนุนการค้าเมียนมา

สหภาพยุโรป (EU) ให้ความช่วยเหลือ 8 ล้านยูโรให้แก่เมียนมาในระยะเวลาสี่ปีสำหรับการดำเนินการของ ARISE Plus Myanmar ซึ่งจะช่วยให้ประเทศบูรณาการได้ดียิ่งขึ้นกับเศรษฐกิจอาเซียนตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2568 ข้อตกได้ลงนามเมื่อเร็ว ๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรป กระทรวงพาณิชย์ และ International Trade Center (ITC) ซึ่งตั้งอยู่ในเจนีวาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการตามความคิดริเริ่มร่วมกับองค์การการค้าโลก (WTO) มีหน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมการค้าโลกและมีส่วนร่วมโดยตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 10 ประการ การจัดหาทุนนี้จะช่วยสนับสนุน SMEs ในโอกาสทางธุรกิจในอาเซียน สหภาพยุโรป และตลาดโลก Arise Plus Myanmar มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างเป็นธรรมและครอบคลุมรวมถึงการสร้างงานในอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นการส่งออกให้สอดคล้องกับแผนของรัฐบาลที่จะกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและมีกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eu8-million-funding-trade-initiatives.html

หนี้ต่างประเทศเมียนมาแตะหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเมียนมามีหนี้ต่างประเทศ 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนี้ในประเทศจำนวน 20.725 ล้านล้านจัต ณ สิ้นปี 2561 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน อัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพี ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 อยู่ที่ 38.3% ตามกฎหมายงบประมาณของสหภาพปี 60 และกฎหมายงบประมาณเพิ่มเติมของปี 60-61 แม้ว่าสินเชื่อรวมจากแหล่งทั้งในประเทศและต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 5.4 ล้านล้านจัต แต่รวมสินเชื่อในประเทศและต่างประเทศคือ 8.9 ล้านล้านจัต การ ขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 409.07 พันล้านจัต จากปีก่อนและพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังจะต้องขายโดยระบบประกวดราคาเพื่อรับเงินกู้จากธนาคารกลางเพื่อชดเชยการขาดดุล สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีสหภาพปี 60 และปีงบประมาณ 60 – 61 กฎหมายการวางแผนแห่งชาติและการกำกับดูแลสินเชื่อภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมรายได้และการใช้จ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพโดยหน่วยงานของรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/auditor-says-countrys-foreign-debt-tops-us10b.html

เวียดนามคาดว่าการส่งออกอาหารทะเลไปยังจีนฟื้นตัว ในช่วงครึ่งปีหลัง 2562

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งปีแรก 2562 เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 572 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องมาจากกฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการค้าชายแดนที่เข็มงวด รวมไปถึงองค์ความรู้ของผู้ประกอบการเวียดนามที่ยังต้องพัฒนาในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร และทางด้านการขนส่ง เป็นต้น ทางด้านตลาดสำคัญของเวียดนาม จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยจำนวนผู้ประกอบการเวียดนามกว่า 150 แห่งที่ส่งออกไปยังทั่วโลก

ที่มา:https://e.vnexpress.net/news/business/industries/seafood-exports-to-china-could-recover-in-second-half-3966273.html