ABA ได้รับการอนุมัติจากผู้ควบคุมการออกพันธบัตรภายในกัมพูชา

ผู้กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของกัมพูชา (SECC) ได้อนุมัติคำขอของ ABA ในการออกพันธบัตรในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) บริษัท แอดวานซ์แบงก์ออฟเอเชีย จำกัด (ABA Bank) เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่สามารถออกพันธบัตรใน ตลาดหลักทรัพย์ของกัมพูชาได้ โดยวางแผนจะออกพันธบัตรมูลค่าประมาณ 32 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกำหนดระยะเวลาของพันธบัตรไว้ที่ 3 ปี อัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยอยู่ที่ 7-7.5% ต่อปี โดย ABA เชื่อว่าการออกพันธบัตรจะทำให้บริษัทฯแข็งแกร่งขึ้น และได้รับผลประโยชน์ทางภาษี ซึ่งการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์จะนำไปสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626914/aba-gets-regulators-approval-to-issue-bonds/

กางแผนดันทุเรียนใต้เข้าระบบGAPลดกีดกันการค้า

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงสถานการณ์ไม้ผลแปลงใหญ่ภาคใต้ฤดูกาลปี 62 โดยเฉพาะทุเรียน จัดเป็นไม้ผลที่ส่งออกลำดับต้นๆ เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ราคาดี จากแนวโน้มราคาทุเรียนที่ดีขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้มีการขยายพื้นที่ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกทุเรียนเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยมีจีนเป็นตลาดหลัก ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรมองว่าการที่ไทยส่งออกทุเรียนไปจีนจำนวนมาก เนื่องจากขณะนี้จีนแจ้งในเบื้องต้นมาแล้วผลผลิตทุเรียนที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP จะไม่สามารถส่งออกได้ในปีถัดไป ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP โดยศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จะเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อช่วยผลักดันให้ทุเรียนแปลงใหญ่ผลิตภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาตลาดส่งออกรายใหญ่ เพียงรายเดียว และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อทุเรียนไทย นอกจากทุเรียนแล้วไม้ผลชนิดอื่น ได้เร่งบริหารจัดการให้มีมาตรฐานการผลิตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ มังคุด  สำหรับแผนบริหาร จัดการผลไม้ของภาคใต้ในฤดูกาล โดยการบริหารจัดการเชิงปริมาณ ได้แก่ การกระจายผลผลิตในประเทศ ด้วยวิธีกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตผ่านผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร Modern Trade ไปรษณีย์/ตลาดออนไลน์ ตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด การจำหน่ายตรงผู้บริโภค การจัดงานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น การแปรรูป ด้วยวิธีการแช่แข็ง อบแห้ง กวน ทอด และการส่งออก ซึ่งในอนาคตผลไม้แปลงใหญ่ทุกชนิด กรมจะผลักดันให้เข้าสู่ระบบ GAP ทั้งหมด เพื่อรองรับตลาดส่งออกไปยังทุกประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.naewna.com/local/428504

เวียดนามเผยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่ม 68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงครึ่งแรกของปี 62

จากรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับว่าอยู่ในระดับสูงที่สุด จากปริมาณการเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ธนาคารกลางเวียดนามสามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ให้มีเสถีรภาพ นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามต้องเผชิญกับสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ในขณะที่ การส่งออกของเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.3 ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 10.5 และในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามขาดดุลการค้าอยู่ที่ 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะมีบทบาทสำคัญในการลดการขาดดุลการค้าของเวียดนามได้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/foreign-currency-reserves-hit-68-billion-usd-in-h1/156644.vnp

เวียดนามเผยยอดขายรถจักรยานยนต์ลดลง ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (Vietnam Association of Motorcycle Manufacturer : VAMM) เปิดเผยว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเวียดนามมีปริมาณมากกว่า 749,500 คัน ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นแค่ยอดการจำหน่ายของสมาชิกสมาคม VAMM ได้แก่ Honda, Yamaha, Motor Vietnam, Suzuki, Piaggio, SYM เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่รวมยอดจำหน่ายของรถจักรยานยนต์รวมในประเทศ เนื่องมาจากบริษัทนั้นไม่ได้อยู่ในสมาคม VAMM และทางสมาคมฯ มองว่าตลาดรถจักรยานยนต์อยู่ในช่วงอิ่มตัว แต่ก็ยังมีศักยภาพอยู่ ซึ่งยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลง ในช่วงไตรมาสที่ 2 นั้น เป็นผลมาจากการแข่งขันของคู่แข่งที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสมาคม VAMM นอกจากนี้ จากข้อมูลของการประชุมบริษัทพิอาจิโอ (Piaggio) เผยว่าตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนามมีการแบ่งประเภทของสินค้าให้อยู่ในระดับไฮเอนด์ ซึ่งคนเวียดนามส่วนใหญ๋ไม่ได้มองแค่รถจักรยานยนต์เป็นแค่พาหนะในการเดินทาง แต่มองว่าสกูตเตอร์จะแสดงถึงฐานะหรือกำลังซื้อของคนเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523057/motorcycle-sales-decreases-in-second-quarter.html#JZXL1OYxAxr7uWEl.97

จีน – เมียนมา ลงนามสร้างความร่วมมือด้านปัญหาชายแดน

จีนแสดงความยินดีที่จะกระชับความร่วมมือกับเมียนมาในประเด็นชายแดนและตรวจคนเข้าเมือง รมว.กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของได้หารือกับ รมว.กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของเมียนมา ได้ช่วยปรับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ทวิภาคีของงสองประเทศเพื่อเพิ่มความร่วมมือในประเด็นชายแดนและการควบคุมการเข้าเมืองและการต่อสู้อาชญากรรม เช่น การค้ายาเสพติด การพนันออนไลน์ข้ามพรมแดน เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของพื้นที่ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมียนมาหวังที่จะเพิ่มความร่วมมือในทางปฏิบัติกับจีนอย่างจริงจัง

ที่มา: http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2019-07/24/c_138254539.htm

ผลสำรวจตลาดประกันภัยเมียนมามีศักยภาพพร้อมเติบโต

จากการสำรวจลูกค้าของ IKBZ Insurance Co Ltd หนึ่งในบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่สุดในประเทศ พบว่าอุตสาหกรรมประกันภัยของเมียนมามีศักยภาพที่จะเติบโตเป็น 1 ล้านล้านจัตในอีก 12 เดือนข้างหน้าและจะเติบโตถึง 4 ล้านล้านจัตในอีก 10 ปีข้างหน้า ปัจจุบันมีอัตราการทำประกันภัยต่ำที่สุดในภูมิภาคโดยมีประชากรเพียง 2 ล้านคนจาก 54.36 ล้านคนที่มีประกันครอบคลุมทุกประเภท ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมาก แต่คาดว่าจะโตในภูมิภาค 5% ภายใน 10 ปีข้างหน้า หากมีการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ จากการสำรวจกลุ่มตัวย่าง 1,000 คน แบ่งเป็นในเขตเมือง 70% และเขตชนบท 30% ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ประกันสุขภาพและประกันชีวิตที่หลายคนกังวลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของครอบครัวมากกว่าตัวเอง ผลการสำรวจพบว่า 57% ต้องการเพื่อดูแลครอบครัวของพวกเขา 33% ต้องการก้าวหน้าในอาชีพการงานของพวกเขา 32% เพื่อคุณภาพชีวิตของเด็ก ๆ และ 30% เลือกที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัว IKBZ ตั้งอยู่ในย่างกุ้งเป็นบริษัทประกันเอกชนในท้องถิ่นรายแรกโดยในปี 2555 จะกลายเป็นหุ้นส่วนกับ Mitsui Sumitomo Insurance Group Inc

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/survey-shows-insurance-market-has-potential-grow.html

ธุรกิจสปป.ลาว ไทยหนุนการค้าการลงทุน

ธุรกิจของสปป.ลาวและไทยกำลังวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนในระดับทวิภาคีในปีต่อ ๆ ไปด้วยการเอาชนะอุปสรรคอันยาวนานหลายประการ ทั้งสองฝ่ายคาดหวังที่จะจัดตั้งคณะทำงานพิเศษที่จะร่วมมือกับบุคลากรจากทั้งสองฝ่ายในความหวังที่จะเชื่อมช่องว่างกับรัฐบาลสปป.ลาวและไทย แผนนี้ได้ตกลงกันในหลักการโดยผู้แทนสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว สภาธุรกิจไทย – สปป. และสมาคมนักธุรกิจไทยในสปป. ลาว มีการหารือในประเด็นและปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สู่ประเทศไทย อัตราภาษีกำไรและอุปสรรคด้านภาษีต่างๆ ความต้องการความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายตระหนักว่าธุรกิจของสปป.ลาวและไทยกำลังดิ้นรนกับปัญหาที่ค้างคายาวนาน เชื่อว่าเมื่อปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องโดยรัฐบาลสปป.ลาวและไทยปริมาณการค้าและการลงทุนในระดับทวิภาคีจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-thai-businesses-seek-bolster-trade-investment-100827

เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหประชาชาติเฝ้าติดตามความคืบหน้าโครงการในสปป.ลาว

เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหประชาชาติเดินทางไปยังสปป.ลาวโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนของสหประชาชาติ – สปป.ลาวในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร สร้างงานในพื้นที่ชนบทและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ชนบท  หน่วยงานสหประชาชาติกำลังดำเนินการสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ที่จัดการโดย IFAD โครงการถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรรายย่อยในการผลิตพืชที่มีความต้องการของตลาด โครงการนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและผู้ค้าเพื่อให้สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้  

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/un-agriculture-chief-monitors-project-progress-laos-100732

การปฏิรูปที่จำเป็นภายในกัมพูชาเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

รัฐบาลคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในปีหน้าจากอัตราการขยายตัว 7.1% ในปี 2562 ถึง 6.5% ในปี 2563 โดยการชะลอตัวส่งผลมาจากแรงกดดันจากภายนอกนำโดยการที่อาจจะถูกเพิกถอน EBA ที่ได้รับจากสหภาพยุโรป และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน โดยปัญหาภายนอกเหล่านี้จะถูกแก้ไขโดยการปฏิรูปอย่างลึกซึ้งและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนได้มากขึ้น แม้ว่า EBA จะถูกถอนออกไปกัมพูชาก็ยังสามารถบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ “แข็งแรง” ได้หากสถาบันรัฐบาลทุกแห่งทำงานร่วมกันเพื่อออกกฎหมายปฏิรูปที่เสริมสร้างบรรยากาศทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบของแรงกดดันจากภายนอกโดยการเพิ่มงาน การแก้ปัญหาโครงสร้างที่จำกัด การแข่งขันและการกระจายตลาดการปรับปรุงการจัดการทางการเงินของสถาบันของรัฐและเอกชน และเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันสาธารณะ ซึ่งในปี 2561 เศรษฐกิจของกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 7.5

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626637/deep-reforms-needed-to-continue-healthy-growth-ministry/

ส่งออกกัมพูชาเพิ่มขึ้น 15% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 15% มูลค่ากว่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐตามรายงานของกรทรวงเศรษฐกิจและการเงินของกัมพูชา ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 21.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการเติบโตของภาคการส่งออกส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในสหรัฐฯ พร้อมกับการส่งมอบสินค้ากี่ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็น 34% ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจภายในประเทศจะช่วยกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการขยายตลาดกลุ่มเป้าหมายทำให้กัมพูชาสามารถเติบโตและลดแรงกดดันจากความเสี่ยงภายนอกได้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการส่งออกของกัมพูชามีมูลค่า 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2560 โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ เสื้อผ้าและรองเท้า ,รถจักรยาน ,ยางพารา ,ข้าว ,มันสำปะหลัง ,พริกไทย ,น้ำมันปาล์ม และเม็ดมะม่วงหิมพานต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626638/exports-up-by-15-pct-in-first-five-months-of-the-year/